ยิ่งรับฟังมาก ยิ่งขายดีมาก เพราะ Customer Feedback คือเมนเทอร์ที่สำคัญที่สุด

FoodStory CRM

Customer Feedback
ยิ่งรับฟังมาก ยิ่งขายดีมาก
เพราะ คอมเมนต์จากลูกค้า คือเมนเทอร์ที่สำคัญที่สุด

การเป็นเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะกิจการในด้านร้านอาหาร สิ่งสำคัญคือการพัฒนาและปรับปรุงกิจการ ให้มีผลลัพธ์ออกมาได้อย่างดีที่สุด ว่าแต่อะไรบ้าง ที่สามารถช่วยให้เจ้าของกิจการต่างๆ สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป นอกจากมาตรฐานที่ครอบคลุมในเรื่องของการบริการและคุณภาพของอาหารต่าง ๆ ยังมี Customer Feedback หรือคอมเม้นต์จากลูกค้าผู้มาใช้บริการโดยตรง นับเป็นจุดสำคัญที่จะสามารถช่วยให้ร้านพัฒนาต่อไปได้อย่างตรงจุด บทความวันนี้จะมานำเสนอในเรื่องของ การรับฟังคอมเมนต์ หรือความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อช่วยพัฒนา และสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นสำหรับเจ้าของกิจการ

Continue reading

ระบบสะสมแต้ม อย่างเดียวคงไม่พอ เพราะ CRM ที่ดีต้องวิเคราะห์และทำการตลาดเฉพาะบุคคลได้

ระบบสะสมแต้ม

ระบบสะสมแต้ม เพื่อเพิ่มกำไรคงไม่พอ
เพราะ CRM ที่ดี ต้องวิเคราะห์โปรโมชั่น
และทำการตลาดไปหาลูกค้ารายบุคคลได้

“คุณลูกค้ามีสมาชิกกับทางร้านไหมคะ รบกวนบอกเบอร์สมาชิกเพื่อทำการสะสมแต้มได้เลยค่ะ” เราคงเคยได้ยินประโยคทำนองนี้กันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ, ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ รวมไปถึงร้านค้าปลีกในห้างทั่วไป ว่าแต่ทำไมกันล่ะ เรามี ระบบสะสมแต้ม ไปเพื่ออะไร ร้านค้าได้อะไรจากการสมัครสมาชิกของเหล่าลูกค้าและผู้ใช้บริการกันบ้าง FoodStory POS มีคำตอบ

ระบบสะสมแต้ม

ระบบสะสมแต้ม คืออะไร?

ระบบสะสมแต้ม คือระบบที่ช่วยสนับสนุนในเรื่องของการทำการตลาดของร้านค้าต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาส และดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ สร้างระบบความจงรักภักดี หรือที่เรียกกันว่า Loyalty Program ซึ่งวิธีดังกล่าวส่งผลให้เรามีโอกาสในการได้เงินจากการใช้จ่ายของลูกค้า และตอบแทนกลับไปในรูปแบบของแต้มสะสม โดยแต้มนั้นสามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ แล้วแต่รูปแบบการตลาดของแต่ละเจ้า เช่น แลกแต้มสะสมกับส่วนลดในการซื้อสินค้าภายในร้าน, แลกแต้มสะสมกับสินค้าของแถมสุด Exclusive หรือแลกแต้มสะสมกับสินค้าฟรี (ซื้อชานมครบ 10 แก้ว ฟรี 1 แก้ว) เป็นต้น

ซึ่งระบบการตลาดแบบนี้จะแตกต่างจากการตลาดอื่นๆ อย่างการทำการตลาดออนไลน์ หรือการตลาดออฟไลน์อื่นๆ ที่เราจะต้องลงทุนไปก่อน แล้วค่อยดูผลลัพธ์ภายหลัง ซึ่งเหมาะกับการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) แต่ระบบสะสมแต้ม เหมาะกับการนำข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการ ไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรม หรือลักษณะนิสัยในการจับจ่าย (Customer Behavior Detection) เพื่อต่อยอดการตลาดอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย ซึ่งทั่วไปแล้วเรามักเห็นร้านค้าทำระบบสะสมแต้ม และแลกแต้มไปแค่เพียงหวังในการสร้าง ระบบความจงรักภักดี (Loyalty Program) เท่านั้น 

ระบบของ FoodStory CRM สามารถสร้างระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสะสมแต้ม ไปวิเคราะห์พฤติกรรมในการซื้อของสมาชิก เพื่อช่วยในการคิดวิเคราะห์โปรโมชั่น เพื่อจัดทำโปรโมชั่นที่สามารถตอบโจทย์รายบุคคลได้อีกด้วย

ระบบสะสมแต้ม FoodStory CRM

ประโยชน์ของระบบสะสมแต้ม

ระบบสะสมแต้มนั้นมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ซื้อเองหากใช้บริการบ่อยๆ ก็สามารถได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ส่วนลด หรือสินค้าของแถม เป็นต้น จากการเป็นลูกค้าประจำ (Loyalty) ส่วนผู้ขายเองก็ได้ลูกค้าที่จะมาใช้จ่ายสินค้าและบริการซ้ำเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการรู้จักตัวลูกค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากข้อมูลที่มี สามารถสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อในการซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดในส่วนของการนำข้อมูลที่ได้จากการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้า มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อปรับกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย

ระบบสะสมแต้ม FoodStory CRM

เหตุผลที่ต้องมีระบบสะสมแต้ม

สำหรับการมีระบบสะสมแต้มไว้ในการทำกิจการค้าขายสินค้าและบริการต่างๆ มีเหตุผลอยู่ด้วยกันถึง 5 ข้อที่ว่า ทำไมเราควรจะต้องมีระบบสะสมแต้มดังนี้

  • เพื่อกระตุ้นการขาย และเพิ่มโอกาสในการหมุนเวียนรายได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อสินค้าและบริการต่อไป เพื่อทำการสะสมแต้มแลกสิทธิพิเศษต่างๆ
  • สร้างความรู้สึกพิเศษ เช่น ความรู้สึกในการเป็นคนพิเศษ ที่จะได้ส่วนลด หรือได้แต้มจากการจับจ่ายใช้สอย เหนือกว่าคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในระบบสะสมแต้ม และมีโอกาสที่จะกลับมาใช้บริการบ่อยๆ
  • สร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ระบบสะสมแต้มสามารถกระตุ้น และเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าลองสินค้าและบริการชนิดใหม่ โดยอาจจะสร้างจุดดึงดูดที่ว่า “ซื้อไก่ทอดรสใหม่ รับแต้มเพิ่ม 2 เท่า” เป็นต้น
  • สร้างกระแสในการจับจ่าย ตัวระบบสะสมแต้มสามารถดึงดูดให้ลูกค้าเชิญชวนเพื่อน คนรอบตัว หรือครอบครัว มาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มเติม เพื่อที่ตัวลูกค้าที่เป็นสมาชิก ได้รับคะแนนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถูกใจลูกค้า เพิ่มกำไรให้กับร้านค้าได้อีกด้วย
  • รู้จักข้อมูลของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยระบบการเก็บข้อมูลของระบบสะสมแต้มนั้น สามารถช่วยให้ร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปปรับกลยุทธ์ในการขาย หรือปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นให้เหมาะสมได้
ระบบสะสมแต้ม

FoodStory CRM ระบบที่สามารถสนับสนุนระบบ สะสมแต้ม ให้สามารถผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

FoodStory CRM เป็นระบบจัดการสมาชิก ที่จะช่วยสนับสนุน ระบบสะสมแต้มให้สามารถจัดการข้อมูลและระบบสะสมแต้มได้อย่างแม่นยำ และ เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งมีข้อดีดังนี้

  • การสมัครสมาชิกสามารถทำได้ง่าย
  • ตั้งค่าคะแนนได้อย่างอิสระ
  • มีข้อมูลเชิงลึกทั้งในเรื่องของ อายุ เพศ รวมไปถึงลักษณะการใช้จ่าย พร้อมทั้งการติดแท็กเพื่อจัดกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างโปรโมชั่นได้อย่างหลากหลาย
  • แจ้งคะแนนคงเหลือท้ายใบเสร็จ เพื่อสร้างความสะดวกให้กับลูกค้า
  • สามารถแลก-รับ คะแนนสาขาใดก็ได้ ( กรณีที่ร้านมีมากกว่า 1 สาขา )
  • มีระบบความปลอดภัยในการดูแลจัดการข้อมูลของลูกค้า
  • สามารถรองรับการตลาดออนไลน์ เช่น การเชื่อมต่อกับ LINE Official Account เพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าและผู้ติดตามได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  • มีระบบการรายงานภาพรวมของสมาชิก และคะแนนต่างๆ รวมไปถึงโปรโมชั่น ผ่านหน้าต่าง Dashboard ที่สามารถจัดการ และดูภาพรวมได้อย่างง่ายดาย ถึงแม้จะมีหลากหลายสาขา เพื่อสามารถปรับกลยุทธ์ในการจัดทำโปรโมชั่น และกลยุทธ์ในการจัดการการตลาดได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม หัวใจหลักในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ตามสามารถสำเร็จได้ หากมีความเข้าใจ และมีข้อมูลของพฤติกรรมของลูกค้าที่ชัดเจน และการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ให้เข้ากับพฤติกรรมนั้นๆ นอกจากนี้การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง นอกเหนือจากระบบสะสมแต้ม ทั้งในเรื่องของการบริการ และคุณภาพของสินค้า รวมไปถึงระบบในการจัดการสิ่งต่างๆ ดังนั้น การเลือกระบบที่เหมาะสมในการทำธุรกิจ ทั้งสามารถช่วยจัดการทั้งข้อมูลเชิงลึกได้อย่างดี และสามารถอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับลูกค้า และเจ้าของกิจการนั้นๆ ได้อีกด้วย



FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี: คลิก

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ยิ่งรู้ใจลูกค้า ยิ่งมัดใจลูกค้า ด้วย Customer Insight ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

Customer Insight
ยิ่งรู้ใจลูกค้า ยิ่งมัดใจลูกค้า
ด้วย ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

การเป็นเจ้าของร้านอาหาร หรือทำธุรกิจใดใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะใช้เป็นกลยุทธ์เด็ด สำหรับใช้ในการมัดใจลูกค้า ที่อยากจะแนะนำในบทความนี้ ก็คือ การใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า มาช่วยให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า รวมไปถึงเข้ามาช่วยรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างกัน หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือ เวลาที่เราอยากได้ใจใคร เราก็ต้องรู้ใจคนนั้นก่อนว่าเขาชอบอะไรไม่ชอบอะไร จะได้เลือกทำแต่สิ่งที่เขาคนนั้นสนใจและชื่นชอบ เพื่อเป็นแต้มต่อในการทำคะแนนนั่นเอง ก็เหมือนกันกับเชิงธุรกิจ ยิ่งเรามี ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า มากเท่าไร ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า คืออะไร?

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า หรือ Customer Insight คือ ข้อมูลลูกค้าที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลทั่วไปพื้นฐาน หรือ ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ที่อยู่ ฯลฯ เท่านั้น แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ตีความมาแล้วระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลความสนใจ ข้อมูลด้านพฤติกรรม ความเชื่อ ทัศนคติ เพื่อจะได้เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง แล้วนำข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้มาใช้สำหรับวางแผนทางการตลาดให้กับธุรกิจต่อไป

องค์ประกอบของข้อมูลเชิงลึก มีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่

1.คุณภาพข้อมูล คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลตามดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพและองค์ประกอบที่กำหนดไว้

2.ทีมวิเคราะห์ คือ ทีมที่ทำหน้าที่เก็บ วิเคราะห์ และตีความข้อมูลของลูกค้า ว่ามีพฤติกรรมอย่างไรในปัจจุบันและรวมถึงในอนาคต นอกจากนี้ก็ช่วยในการสร้างต้นแบบที่เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าให้เห็นภาพที่ชัดเจน รวมไปถึงนำเสนอสรุปผลคำแนะนำที่เข้าใจง่ายให้กับร้านอาหารหรือธุรกิจนั้นๆว่าควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

3.การวิจัยลูกค้า คือ การเก็บข้อมูลจากลูกค้า โดยเป็นการวิจัยลักษณะ ความสนใจ พฤติกรรมของลูกค้า ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น

4.การทำการตลาดบนฐานข้อมูล คือ รูปแบบการตลาดทางตรงที่ใช้ฐานข้อมูลของลูกค้าเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด หรือการทำคอนเทนต์

วิธีเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อใช้มัดใจลูกค้า

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

1.เก็บข้อมูลว่าลูกค้าหาอะไรบนโลกออนไลน์ เป็นการดึงเอาข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ ว่าผู้คนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจและชื่นชอบอะไร โดยใช้เครื่องมือที่ปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย อย่าง Google Trends ใช้สำหรับค้นหาสิ่งที่คนนิยม Search กันบน Google

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

2.สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่การตั้งคำถามแบบ Q&A ปกติแต่จะเป็นการให้ลูกค้าบอกเล่าเรื่องราวแบบเป็นอิสระในขอบเขตของสิ่งที่เราต้องการรู้ และการตอบคำถามปลายเปิด ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาทีในแต่ละครั้ง ประมาณ 5-10 คน จะช่วยให้วิเคราะห์ความรู้สึกได้อย่างตรงจุุด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข

ข้อมูลเชิงลึก

3.ดึงข้อมูลจาก Social Media ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน ก็จะมีข้อมูลและสถิติต่างๆของผู้ติดตามของ Fanpage ได้จากการดูว่าสื่อโฆษณาตัวไหนที่ได้รรับความสนใจมากๆ กดไลก์กดแชร์ มีการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม เป็นต้น

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

4.เก็บ Feedback ลูกค้า โดยการสร้างแบบฟอร์มเพื่อเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากลูกค้า เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยให้รู้ถึงความรู้สึกและความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยวิธีการส่ง SMS ส่งผ่านอีเมล เป็นต้น

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

5.สอบถามข้อมูลจากฝ่ายบริการหลังการขาย เนื่องจากเป็นฝ่ายที่มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอยู่เสมอ ทำให้มักเป็นผู้ที่ใกล้ชิดได้รับฟังความคิดเห็นจากลูกค้ามากที่สุด จึงมีความเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี สิ่งที่ได้จากฝ่ายบริการหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นคำติหรือคำชมก็สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือต่อยอดกับร้านอาหารเราหรือธุรกิจได้เป็นอย่างดี

จะดีกว่าไหม ถ้ามีตัวช่วยในการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าแต่ละคน

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทุกภาคส่วน รวมถึงร้านอาหารอย่างเราๆด้วย ช่วยเข้ามาทุ่นแรงในการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ด้วย FoodStory CRM ที่เป็นระบบจัดการสมาชิก สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ช่วยในการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าที่ทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น พร้อมกับการนำเสนอสิ่งที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างความยั่งยืนให้กับร้านอาหาร

Customer Insight FoodStory CRM

ประโยชน์ที่ได้จาก FoodStory CRM

1.ทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่แค่รู้เพียงข้อมูลทั่วไป อย่าง ชื่อ เบอร์ อีเมล แต่ยังสามารถเข้าใจพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้ เช่น ลูกค้าชอบสั่งเมนูอะไรบ่อยๆ? ชอบสั่งกินที่ร้านหรือห่อกลับบ้าน? 

2.ช่วยในการเพิ่มยอดขายต่อบิลได้ โดยการนำข้อมูลความชอบที่มีของลูกค้ามาวิเคราะห์จนรู้ใจ จึงสามารถแนะนำโปรโมชันที่เหมาะสม และโดนใจ จนสามารถเพิ่มยอดขายให้กับยอดบิลนั้นๆได้ไม่ยาก

3.สร้างกลยุทธ์การตลาดให้ร้านอาหาร โดยการนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อปรับกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย จัดทำโปรโมชันที่ตรงกลุ่มโดยเฉพาะ และสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

จะเห็นได้ว่า การที่เรารู้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าผ่าน FoodStory POS มากเท่าไรยิ่งดี ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการทำให้เจ้าของร้านอาหารรู้ใจลูกค้า จนสามารถมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด แถมปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้การเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าทำได้ง่ายขึ้นให้เลือกใช้กับธุรกิจร้านอาหารของเรา รับรองได้ว่าการจะพิชิตใจลูกค้าให้มาภักดีกับร้านเราทำได้ไม่ยากแน่นอน

หากสนใจรับข้อมูลข่าวสารโปรโมชั่น สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ ……. 

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: คลิก

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

วิธีบริหารร้านอาหาร ทำยังไงให้ปัง? โดยไม่ต้องเข้าร้านทุกวันก็ได้

วิธีบริหารร้านอาหาร

วิธีบริหารร้านอาหาร
ทำยังไงให้ปัง? โดยไม่ต้องเข้าร้านทุกวันก็ได้

มีใครเป็นเจ้าของร้านอาหาร แล้วมีความรู้สึกว่าเหนื่อยจัง ที่ต้องเข้าร้านทุกวัน แค่มีร้านเดียวยังเหนื่อยขนาดนี้ แล้วบางคนมีหลายร้าน เขาจะจัดการยังไง จำเป็นต้องเข้าร้านทุกวันไหม ถ้าไม่เข้าไปดูแลร้านเอง จะมี วิธีบริหารร้านอาหาร แบบไหนบ้างให้ยังปัง และเติบโตไปได้ด้วยดีกับ FoodStory POS

“แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้ามีตัวช่วย ให้เจ้าของร้านสามารถจัดการทุกอย่าง ผ่านช่องทางออนไลน์ จะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเข้าร้านเป็นประจำก็ได้”

ความสำคัญของการบริหารจัดการร้านอาหาร

ปัจจุบันมีร้านอาหารเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง การที่จะสามารถเป็นร้านอาหารที่ครองใจคน และสามารถเติบโตได้ดี นอกจากทำเลที่ตั้งสะดวกสบาย ตกแต่งสวยงาม มั่นใจในรสชาติอาหารว่าเป็นเลิศ วัตถุดิบคัดสรรมาอย่างดี มีคอนเซ็ปต์ร้านชัดเจนแล้ว การให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารของเราอยู่ไม่น้อย โดยเทคนิคที่จะแนะนำสำหรับการบริหารร้านอาหารมีด้วยกันดังนี้ 

FoodStory POS

1.รู้ภาพรวมรายละเอียดของงานร้านอาหาร

ขั้นแรกของการบริหารงานร้านอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้เนื้องานภาพรวมทั้งหมดว่าต้องมีอะไรบ้าง ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร เช่น การเปิดร้าน-ปิดร้าน ทำความสะอาดก่อนและหลังเปิด-ปิดร้าน การจัดเตรียมโต๊ะ การเตรียมวัตถุดิบ การสั่งวัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องใช้ เป็นต้น เมื่อรู้ถึงปริมาณงานแล้วก็จะได้จัดการบริหารในแต่ละส่วนให้เหมาะสมลงตัวที่สุด นอกจากนี้ก็เพื่อจะได้เข้าใจถึงความรู้สึกของพนักงานทุกคน ว่าต้องรับผิดชอบงานมากแค่ไหน อาจจะพบเจอกับปัญหาอะไรได้บ้าง เพื่อจะได้นำมาบริหารร้าน รวมไปถึงคิดแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

FoodStory POS

2.จัดสรรพนักงานให้เหมาะสม

การเปิดร้านอาหารเป็นงานที่ค่อนข้างหนักพอตัว เนื่องจากมีหลายส่วนที่ต้องดูแล ทำให้ต้องมีพนักงานคอยช่วยแบ่งเบาภาระตามหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น พ่อครัวหรือแม่ครัว พนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ เป็นต้น โดยต้องมีการบริหารจัดการกับทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างราบรื่น เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน การดึงเอาความสามารถที่โดดเด่นของแต่ละคนออกมา แล้วบริหารจัดการใช้ให้ถูกกับตำแหน่งงานที่ต้องรับผิดชอบที่สุด เพื่อความสุขของตัวพนักงานเอง และประโยชน์ต่อธุรกิจร้านอาหารเองด้วย

FoodStory POS

3.คุมมาตรฐานของรสชาติ

การทำร้านอาหารจำเป็นที่จะต้องมีค่ามาตรฐานรสชาติประจำร้าน โดยอาหารนอกจากจะต้องสะอาดแล้ว รสชาติอร่อยสม่ำเสมอเหมือนกันทุกวัน ซึ่งในส่วนนี้จะต้องทำการบริหารสูตรกับพ่อครัวหรือแม่ครัว ให้คงรสชาติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันอยู่เสมอ

วิธีบริหารร้านอาหาร

4.คำนึงถึงความสะอาด

นอกจากความสะอาดของอาหารแล้ว ความสะอาดของสถานที่ ความสะอาดของอุปกรณ์ หรือแม้แต่ความสะอาดเรียบร้อยของพนักงาน อย่างการแต่งตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่มีต่อการตัดสินใจมาใช้บริการครั้งถัดไปของลูกค้าได้

5.สำรวจและเก็บสถิติของลูกค้าเสมอ

หากอยากจะมัดใจลูกค้า ที่มาใช้บริการร้านอาหารของเรา สิ่งสำคัญคือการทำความรู้จักและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยการสำรวจว่ากลุ่มลูกค้าที่มาเป็นคนกลุ่มไหน อายุเท่าไร อาหารที่นิยมสั่งคือเมนูใด ช่วงเวลาใช้บริการคือช่วงวันและเวลาไหน  เพื่อนำสถิติที่ได้มาบริหารวางแผนเมนู หรือการบริหารให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่สุด จะได้เป็นการพัฒนาร้านอาหารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาซึ่งยอดขาย และกำไรนั่นเอง

วิธีบริหารร้านอาหาร

6.จัดการงบประมาณ

การทำบันทึกรายรับรายจ่าย ว่าคำนวณต้นทุนร้าน เมื่อหักลบกับยอดขายแล้ว ได้กำไรหรือขาดทุน เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะได้รู้ถึงค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะได้นำมาบริหารจัดการให้ได้กำไรมากขึ้น หรือนำมาควบคุม ปรับลดบางส่วนหากขาดทุน

วิธีบริหารร้านอาหาร

7.เปิดรับฟังผลตอบรับจากลูกค้า

การมีช่องทางสำหรับรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเมื่อได้มาใช้บริหารร้านอาหารของเรา ว่ามีส่วนไหนที่ดีและส่วนไหนที่ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จะเป็นการช่วยให้ร้านอาหารของเราพัฒนาได้ตรงจุดที่สุด

วิธีบริหารร้านอาหาร

8.ทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์

เครื่องมือที่เป็นช่องทางในการช่วยโปรโมทร้านให้เป็นที่รู้จักได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด คงจะหนีไม่พ้นสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Tiktok หรือ LINE Official Account โดยต้องหมั่นทำคอนเทนต์เพื่ออัปเดต รายงานความเคลื่อนไหวของแต่ละช่องทางอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถช่วยดึงดูดให้ลูกค้าพบเห็นและรู้จักร้านอาหารของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

จะดีกว่ามั้ยถ้าเจ้าของร้านอาหารไม่ต้องเข้าร้านเอง และยังสามารถจัดการภายในร้านได้อย่างครบครัน ผ่านข่องทางออนไลน์ ด้วยระบบ Web Owner จาก FoodStory POS

นอกจากวิธีการบริหารจัดการร้านอาหารตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การจะทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จมีกำไรต้องใช้ความตั้งใจและการวางแผนที่ดี โดยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาและการติดตามผล ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามาทุ่นเวลาและลดต้นทุน มีส่วนช่วยให้การบริหารร้านอาหารของเราให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าไปที่ร้านก็สามารถทำดำเนินการได้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จะได้นำเอาเวลาและงบประมาณที่เหลือไปวางแผนพัฒนาและต่อยอดธุรกิจต่อไปได้อีก

ตัวอย่างเช่น Features ของ FoodStory POS ที่เรียกว่า Web Owner ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลของร้านอาหารจากที่ไหนก็ได้ โดยร้านอาหารที่ใช้เครื่อง POS ของ FoodStory ก็สามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายๆผ่าน Website ได้เลย ซึ่งขอยกตัวอย่างฟีเจอร์เด่นๆ ดังนี้ 

วิธีบริหารร้านอาหาร

1.Realtime Report สามารถดูรายงานยอดขายได้ทุกที่ทุกเวลา

2. CRM Management จัดการระบบสมาชิกได้อย่างครบครัน เช่น

  • ดูและจัดการข้อมูลสมาชิก
  • สร้าง แก้ไข โปรโมชั่น
  • จัด กลุ่มลูกค้า Customer Tag เพื่อนำไปทำการตลาดเฉพาะกลุ่มได้อย่างง่ายดาย
  • ทำโปรโมชั่นผ่าน การBroadcast ผ่านช่องทาง Line OA 
  • ตั้งค่าการสะสมคะแนนได้
  • เลือกเปิด / ปิด เฉพาะสาขาได้
  • เชื่อมต่อ Line OA อัตโนมัติ เพื่อให้ลูกค้า รับโปรโมชั่น เช็คคะแนน สะสม แลกแต้ม ได้ง่ายขึ้น

3. Online Order Management ระบบจัดการร้านอาหารออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถเปิดร้านขายอาหารได้ เชื่อมต่อกับ Delivery สะดวกในที่เดียว

  • สามารถขายอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน
  • เชื่อมต่อและทำการตลาดออนไลน์บน Facebook, Instagram. และ Line ของร้านอาหาร
  • สามารถปรับเปลี่ยน เปิด-ปิด เมนูที่ต้องการขายออนไลน์ได้ง่ายๆ
  • แจ้งเตือน และติดตามออเดอร์ผ่านทางแอพพลิเคชัน Line ไม่เก็บค่า GP เพิ่ม
  • ลูกค้าสามารถสั่งแบบ Delivery และ Pick up (รับหน้าร้าน) รวมไปถึงสั่งล่วงหน้าได้
  • เชื่อมต่อการชำระเงินแบบ QR Payment และบัตรเครดิต หรือ เดบิต

4. Restaurant Management จัดการภาพรวมร้านอาหารได้ในที่เดียว เช่น

  • เพิ่มพนักงาน
  • สิทธิ์การทำงานพนักงาน
  • Menu Management (สร้างกลุ่มหมวดหมู่, สร้าง/แก้ไขเมนู, รายการตัวเลือก, Promotion)

5. Inventory On Web 

  • จัดการสินค้าคงคลัง 
  • เปิดใบ PR, PO, GR 
  • ผูกสูตรอาหารเพื่อตัดสต้อกอาหารอัตโนมัติ
  • เช็คสต็อกคงเหลือ
  • โอนวัตถุดิบข้ามสาขา
  • การตัดของเสียหาย
  • รายงานตรวจสอบวัตถุดิบ

6. Restaurant Info จัดการข้อมูลร้านอาหารได้อย่างละเอียด

7. Sale Chanel เพิ่ม ลด ช่องทางการขาย และตั้งค่าGP แต่ละช่องทางได้ด้วยตัวเอง

8. Master Data จัดการข้อมูลหลายสาขา เพื่อสามารถจัดการข้อมูลทุกสาขาได้ในครั้งเดียว เช่น เพิ่มเมนู แก้ไขราคา เปิดปิดเมนู หรือดูยอดขายทุกสาขาพร้อมๆกันได้

9. Integrate Flow Account เชื่อมต่อระบบบัญชี Flow account ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งตรงโดยอัตโนมัติ

  • Full Tax Invoice
  • ยอดสรุป Total Sale เมื่อมีการปิดรอบการขายสิ้นวัน
  • Paid Out เข้า flow account ตอนปิดรอบการขายสิ้นวัน
  • ข้อมูลใบ GR 

        – เข้าเฉพาะ Status GR เป็น Complete เท่านั้น!!

        – หากมีการกดรับแบบ Partial ข้อมูลจะเข้า flow account เมื่อรายการทั้งหมด complete

         หมายเหตุ :

  • Flow account – Classic เปิด PR, PO โดยไม่ต้องเลือก supplier หรือ เลือก supplier ก็ได้ค่ะ เมื่อกดรับ GR จะมีข้อมูลใบ GR เข้า Flow account
  • Flow account – Advance จะต้องเปิด PR, PO โดยต้องเลือก supplier เท่านั้น เมื่อมีการกดรับ GR ถึงจะข้อมูล GR เข้า flow account

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเทคนิคการบริหารร้านอาหารให้เติบโต โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้าร้านทุกวัน ถือได้ว่าตอบโจทย์คนที่มีธุรกิจหลายธุรกิจที่ต้องดูแล หวังว่าเทคนิคที่ให้ไปจะช่วยเป็นแนวทางให้เจ้าของร้านอาหารได้นำไปปฏิบัติและทำให้ธุรกิจปังๆกันทุกร้านเลย

FoodStory POS ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี:  https://link.foodstory.co/business-management

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ขาดทุนแน่ ! ถ้าร้านอาหารยังไม่ทำ Sale Report หรือ รายงานการขาย อย่างเป็นระบบ

รายงานการขาย sale report

ขาดทุนแน่ ! ถ้าร้านอาหาร ทำ Sale Report หรือ รายงานการขายไม่เป็น

ขายเก่ง แต่ทำรายงานการขายไม่เป็นร้านคุณอาจเจ๊งไม่เป็นท่า เพราะไม่สามารถสรุปได้ว่า ขายอะไรไปบ้าง ราคาเท่าไร รวมเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร จะนำไปวิเคราะห์ก็ขาดข้อมูลที่แท้จริงทำให้เสี่ยงวางแผนพลาด ใช้งบและเวลาไปพัฒนาร้านแบบสิ้นเปลืองไม่คุ้มทุน FoodStory เลยขอมาแนะนำการทำ รายงานการขาย พร้อมบอกความจำเป็นที่ร้านอาหารทุกร้านจำเป็นต้องทำสิ่งนี้

FoodStory POS sale report

ทำความรู้จัก กับ Sale Report ‘รายงานการขาย’

รายงานการขาย คือ รายงานสรุปการขาย เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมแล้วนำมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารของคุณให้ทราบว่า เมนูไหนคือเมนูที่ถูกใจลูกค้าที่สุด เมนูไหนขายไม่ดีต้องเสริมกลยุทธ์ต่อไป หรือช่วงเวลาไหน ช่องทางใดที่ร้านอาหารของคุณจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ เพราะกลยุทธ์ ‘รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง’ ต้องรู้ทั้งเขาและเราให้รอบด้านถึงจะเอาชนะใจลูกค้าและคู่แข่งในกลุ่มรูปแบบเดียวกันได้

FoodStory POS sale report

รายงานยอดขาย และรายงานการซื้อของเหมือนกันไหม?

ท่านใดที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารคงทราบดีว่า ไม่ใช่แค่หน้าร้านและหลังครัวที่วุ่นกันตลอดเปิดร้าน แต่งานเอกสารก็จัดหนัก จัดเต็ม นั่งทำจนหัวหมุน แต่จะมีเอกสารสองประเภทที่ชวนให้สับสนคือ รายงานการขาย และรายงานการซื้อของเหมือนกันไหม? ความจริงแล้วต้องแยกเอกสารกัน คือ

รายงานยอดขาย : จะเป็นสรุปที่จดเฉพาะเกี่ยวข้องกับการขาย เมื่อร้านอาหารมียอดขายจะจดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการขายทั้งหมด เช่น ใครซื้ออาหารเมนูอะไร จำนวนเท่าไหร่ ราคาเท่าไหร่ ช่วงเวลาอะไร จากช่องทางไหน เป็นต้น

รายงานการซื้อของ : รายงานสรุปในส่วนของการดำเนินงานด้านงานซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบทั้งหมด เช่น รายงานใบสั่งซื้อ รายงานเงินมัดจำ/ซื้อสด/ซื้อเชื่อ เป็นต้น

ร้านอาหารที่มีการบริหารดีส่วนใหญ่มักมีความสำเร็จจากเบื้องหลังด้วยการทำเอกสารรายงานยอดขายและรายงานการซื้อของเป๊ะทุกรายการ เพื่อให้เอามาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง

FoodStory POS sale report

6 เหตุผลที่ทุกร้านอาหารควรทำรายงานยอดขาย

หากยังนึกภาพไม่ออกว่า ทำไมร้านอาหารถึงจำเป็นต้องทำรายงานการขายให้เป็น Foodstory จะขอยกตัวอย่าง 6 เหตุผลที่ทุกร้านอาหารควรทำรายงานการขายกัน

รายงานการขาย sale report

1) อ่านใจลูกค้าราวกับเป็นร้านที่ให้บริการมานาน

ปกติโดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าจะใช้เวลาไปกับการทานอาหารภายในร้านเฉลี่ย 20-45 นาที ต่อครั้ง และบางร้านลูกค้าอาจกลับมาแวะอุดหนุนซ้ำหลายครั้งหรือมาครั้งแรกครั้งเดียว แต่จะทำอย่างไรให้เราได้รู้จักลูกค้าเสมือนว่าเป็นเพื่อนกันมานานที่เข้าใจเป็นอย่างดี หนึ่งในสิ่งที่จะบอกได้ก็คือ รายงานการขาย เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า สามารถอ่านใจลูกค้าได้ว่า พวกเขาต้องการอะไร ชอบอะไร และจะสื่อสารอย่างไรให้พวกเขาอุดหนุนสร้างยอดขายเพิ่มได้อีกแบบตรงประเด็นเหมือนปล่อยหมัดฮุคแบบจุกๆ

FoodStory POS sale report

2) มีแผนการทำงานชัดเจน

สำหรับร้านอาหารที่ทำงานแบบเดิมเหมือนเครื่องจักรคือ ตั้งหน้าที่เท่าไหนก็ทำแบบเดิมทุกวัน มีลูกค้าสั่งยังไงก็ทำแบบนั้นเป๊ะ ไม่ได้ต้องการพัฒนาร้านหรือเพิ่มยอดขาย ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำรายงานยอดขาย แต่หากต้องการปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างยอดขายได้มากขึ้นรายงานยอดขายนี่ล่ะที่จะเป็นชิ้นส่วนสำคัญให้จัดทำแผนการทำงานได้ชัดเจน วางกลยุทธ์ร้านอาหารให้สร้างยอดขายได้อย่างแม่นยำ

รายงานการขาย sale report

3) สร้างยอดขายได้ตรงตามเป้าหมาย

ทำนายคนต้องใช้ดวง แต่ทำนายยอดขายต้องใช้รายงานการขาย เพื่อให้วิเคราะห์เป้าหมายก่อนสร้างแผนให้ได้ยอดขายตามเป้าอย่างแม่นยำ ดีต่อร้านอาหารไม่ต้องเสียงบหรือเวลาไปกับการวางเป้าแบบสะเปะสะปะ และดีต่อพนักงานไม่ต้องเสี่ยงโดนตำหนิจากการทำยอดได้ไม่ตรงตามเป้า (ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจากความผิดของพนักงาน แต่พลาดที่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายอิงกับความเป็นจริง) เพราะงั้นทำรายงานยอดขายไว้อย่างน้อยก็ประเมินได้ว่า ควรตั้งเป้าหมายแต่ละเดือนอย่างไรบ้าง

รายงานการขาย sale report

4) เห็นสัญญาณที่ต้องเตรียมรับมือล่วงหน้า

ก่อนจะเกิดสึนามิย่อมมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แน่นอนว่า สัญญาณที่อาจกระทบกับยอดขายเองก็เช่นกัน จะโผล่มาในรายงานยอดขายทำให้เห็นว่า ในแต่ละช่วงเวลา แต่ละช่องทาง จะมีอะไรที่มากระทบกับยอดขายบ้างทำให้ร้านอาหารแต่ละแห่งสามารถวางแผนรับมือได้ทัน รวมถึงการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือความเสี่ยงที่กระทบกับผลกำไรด้วย

รายงานการขาย sale report

5) ติดตามประเมินการทำงานของพนักงาน

ไม่ใช่แค่วิเคราะห์ เพื่อวางแผนต่อไป แต่การทำรายงานยอดขายก็สามารถติดตามประเมินการทำงานของพนักงานภายในร้านอาหารได้จากการดูผลลัพธ์หลังปรับแผนตามการวิเคราะห์ยอดขายในช่วงเวลาก่อนหน้าก็ได้เช่นกัน และทราบว่า ควรจะปรับหรือพัฒนาส่วนไหนต่อไป ควรจะรับพนักงานเพิ่มหรือไม่ สามารถวัดผลได้แบบชัดเจน

FoodStory POS sale report

6) เพิ่มโอกาสการเติบโตของร้านอาหาร

ไม่ว่าวันนี้ร้านอาหารของคุณจะเป็นรูปแบบไหน หรือขนาดเท่าไหร่ แต่การทำรายงานยอดขายสามารถเพิ่มโอกาสการเติบโตให้ร้านอาหารของคุณได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าจากการนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ใช้ในการพัฒนาการตลาด เมนูอาหาร ช่องทางจัดจำหน่าย รูปแบบการสื่อสาร ติดตามการทำงานของพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งรายละเอียดครบถ้วนยิ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของคุณแบบมหาศาล

Foodstory เข้าใจร้านอาหารและพนักงานผู้สร้างสรรค์ความอร่อยในทุกเมนูว่า การทำเอกสารทั้งรายงานการขายและรายงานการสั่งซื้อแบบละเอียดไม่ใช่เรื่องง่าย และสร้างภาระการทำงานให้แก่พนักงานเพิ่มขึ้นหลายเท่า เราเลยคิดค้นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร เลยวางระบบอย่าง  Sale Report ใส่ลงใน Foodstory POS เชื่อมโยงข้อมูลครบถ้วน คอยรายงานผลประกอบการแบบละเอียด สามารถรายงานและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ เพื่อพัฒนาร้านอาหารสร้างยอดขายได้ตรงตามเป้าหมายกันต่อไป

FoodStory POS sale report

ข้อดีของ FoodStory Sale Report ที่จะทำให้ทุกร้านอาหารต้องอึ้ง

  1. แสดงรายงานผลสรุปยอดขายทั้งหมด ยังสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ตั้งแต่เริ่มใช้ระบบ FoodStory POS โดยไม่มีการลบข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้
    1. รายชั่วโมง
    2. วัน
    3. สัปดาห์
    4. เดือน 
    5. ปี
  2. สามารถดูข้อมูลยอดขายอย่างละเอียด โดยแจกแจงเป็นหัวข้อตามนี้
    1. ยอดขายสุทธิ
    2. ส่วนลด
    3. ยอดขายก่อนลด
    4. จำนวนการขาย
    5. ประเภทการชำระเงิน
    6. ช่องทางที่ชำระเงินเข้ามา
    7. เปิด – ปิด บิล โดยพนักงานท่านไหน
  3. สามารถดึงข้อมูล “รายงานภาษี” เพื่อนำส่งสรรพากรได้ทันที
  4. สามารถดึงข้อมูลรายงานการขายเป็นรูปแบบ Excel หรือ CSV เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ หรือใช้งานในจุดประสงค์อื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเห้นว่าสินค้าตัวไหนขายดีในช่วงเวลานั้น ร้านอาหารอาจจะนำข้อมูลตรงนี้ มาทำการตลาดต่อไปได้
  5. และพิเศษไปกว่านั้น สำหรับร้านอาหารที่มีหลายสาขา ก็ยังสามารถใช้ฟีเจอร์ Master data หรือที่เรียกว่า จัดการข้อมูลหลายสาขา เพื่อสามารถจัดการข้อมูลทุกสาขาได้ในครั้งเดียว เช่น เพิ่มเมนู แก้ไขราคา เปิดปิดเมนู หรือดูยอดขายทุกสาขาพร้อมๆกันได้

( ถ้าต้องการอ่านข้อมูลเรื่อง Master data เพิ่มเติม สามารถคลิกได้ที่นี่ )

สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory
หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่:
https://link.foodstory.co/APR-Content10

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ลูกค้าเยอะขนาดไหนก็ไม่มีพลาด แค่มี FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน!

จดออเดอร์

ลูกค้าเยอะแค่ไหน ก็รับออเดอร์ได้หมดไม่มีพลาด
ด้วย FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

‘จำไม่หมด จดไม่แม่น ใช้ FoodStory Staff ดีกว่าจ้า’ แล้วถ้าร้านอาหารที่ยังไม่มีตัวช่วยแบบ FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงานล่ะ จะทำอย่างไรให้ไม่พลาดและส่งออเดอร์ให้ส่วนครัวเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าเร็วทันใจ FoodStory มีเทคนิคดี ๆ สำหรับร้านค้าและพนักงานรับออเดอร์มาฝากรับรองว่า ลูกค้าเยอะขนาดไหนก็จดออเดอร์ไม่พลาด

จดออเดอร์

1) เพิ่มจำนวนพนักงานให้มากเพียงพอกับการบริการ

จะรองรับลูกค้าจำนวนมากได้ ไม่ใช่แค่ต้องเตรียมที่นั่งหรือขนาดร้านให้เหมาะกับความต้องการ แต่ต้องเตรียมเพิ่มจำนวนพนักงาน ให้มากพอที่จะให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงด้วย โดยเฉพาะพนักงานรับออเดอร์อาหาร (ที่อาจรับหน้าที่ช่วยเสิร์ฟอาหารในตัว) อย่างน้อยพนักงาน 1 คนควรรับออเดอร์ ดูแลลูกค้า เติมน้ำ เสิร์ฟ เช็คออเดอร์ จัดการปัญหาเฉพาะหน้าของลูกค้าได้ 4-6 โต๊ะ หรือหาตัวช่วยพนักงานรับออเดอร์ เช่น FoodStory Staff เป็นต้น ก็จะช่วยให้อะไรง่ายขึ้นได้โดยไม่ต้องจ้างคนเเพิ่ม!

FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

2) ใช้ตัวช่วยดี ๆ อย่าง FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดสำหรับร้านอาหารในยุคนี้ที่ไม่เพียงแค่รับออเดอร์จำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่ยังแม่นยำ ไม่ผิดพลาด และเสริมภาพลักษณ์ให้ร้านดูทันสมัยน่าเชื่อถือก็คือ แอป FoodStory Staff เพราะการจดออเดอร์ลงบนกระดาษแบบที่ผ่านมาสร้างความยุ่งยากให้พนักงานไม่น้อย แถมกว่าจะดึงข้อมูลเข้าฐานระบบสมาชิก CRM เพื่อนำไปต่อยอดวิเคราะห์ทำแผนกระตุ้นยอดขาย ก็กลายเป็นว่าเพิ่มภาระหน้าที่ให้พนักงานต้องทำงานเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
แอป FoodStory Staff สามารถให้พนักงานรับออเดอร์ง่าย ๆ จากลูกค้าได้ผ่านสมาร์ทโฟน เริ่มตั้งแต่การเปิดโต๊ะอาหารที่ว่างอยู่ รับออเดอร์ ตรวจสอบรายการอาหาร เช็คบิล ไปจนถึงดึงตรงสู่รายงานการวิเคราะห์ยอดขาย เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการบริการ เลยเป็นคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับร้านอาหารทุกรูปแบบในยุคนี้

FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

3 เหตุผลที่ควรใช้ FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ในร้านอาหารของคุณ

จากที่ FoodStory ยกตัวอย่างตัวช่วยจดออเดอร์ให้ไม่พลาด และยังรวดเร็วทันใจจะเห็นว่า มีวิธีและตัวช่วยให้เลือกเยอะมาก แต่ทำไมเราและลูกค้าที่เป็นร้านอาหารชั้นนำถึงยกให้การใช้ แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงานเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการรับอเดอร์ เดี๋ยวเราจะมาบอกตัวอย่าง 3 เหตุผลนี้กัน

จดออเดอร์

1) ฟังก์ชันการใช้งาน ของ FoodStory Staff ครบครัน

ขณะที่การรับออเดอร์ด้วยวิธีอื่นจะทำได้แค่เพียงการจดเมนูอาหารที่ลูกค้าสั่ง แต่การใช้งาน FoodStory Staff พนักงานสามารถใช้ฟังก์ชันการดูแลลูกค้าได้แบบครบครัน เช่น 

  • รับออเดอร์เองได้ : ไม่ต้องเสียเวลานั่งจดทีละตัวอักษร เพราะสามารถตั้งค่าตัวเลือกเมนูอาหารให้พร้อม เพียงแค่คลิกตัวเลือกแล้วใส่จำนวนตามที่ลูกค้าสั่งก็เรียบร้อย
  • เปิดโต๊ะว่างได้อย่างรวดเร็ว : หมดปัญหาการไม่รู้ตำแหน่งและจำนวนโต๊ะที่ว่าง จนต้องมากวาดตามองหาหลังรับลูกค้า เพียงแค่เปิดดูในแอป FoodStory Staff ก็แนะนำโต๊ะอาหารกำลังว่างอยู่ในมุมที่ลูกค้าต้องการได้ทันที
  • คีย์เมนูอาหารตามที่ลูกค้าสั่งได้ : กรณีที่เป็นออเดอร์พิเศษหรือต้องการสั่งเงื่อนไขในอาหารเพิ่มเติมนอกจากที่ร้านกำหนดไว้ตามปกติ พนักงานรับออเดอร์สามารถคีย์ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ลูกค้าสั่งได้ทันที
  • สถานะอาหารขึ้นชัดเจน : ติดตามสถานะของอาหารได้ว่า กำลังทำอยู่ หรือเสิร์ฟแล้วได้ผ่าน FoodStory Staff ได้เช่นกัน
แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

2) ประหยัดพนักงาน และภาระการทำงานลง

สำหรับร้านที่มีพื้นที่และต้นทุนจำกัด ที่ต้องการลดจำนวนพนักงานให้อยู่ในขอบข่ายที่เหมาะสม FoodStory Staff สามารถช่วยลดความยุ่งยาก และภาระการทำงานให้สามารถรับออเดอร์แต่ละโต๊ะได้อย่างรวดเร็วทันใจ ภายในไม่กี่นาทีก็เรียบร้อย

แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

3) ลดโอกาสจดออเดอร์ผิดพลาด หรือตกหล่น

บ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นว่า พอลูกค้าเยอะ แต่พนักงานน้อย ก็จะเกิดปัญหาจดออเดอร์ผิดพลาด แต่สำหรับร้านที่ใช้เครื่องมือแบบ FoodStory Staff สามารถเทียบความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยว่า สามารถลดโอกาสจดออเดอร์ผิดพลาดได้ง่าย ปิดจบทุกปัญหาที่เคยเกิดกับการจดบนกระดาษรูปแบบเดิมได้ 100% เลยทีเดียว

แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน FoodStory Staff

นอกจากนี้ FoodStory Staff ยังเชื่อมต่อการทำงานไปยังระบบ FoodStory POS ได้โดยตรง เพิ่มความสะดวกสบายแก่ทางร้านอาหาร ให้สามารถเก็บข้อมูลรายรับรายและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสมแบบ Real Time ทันที ทุกที่ ทุกเวลา หมดปัญหาจดพลาด จดไม่ครบ ลดภาระการทำงานหลายขั้นตอนไปได้เลย สำหรับท่านใดที่สนใจ ‘ ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS ’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ พร้อมวางระบบ FoodStory Staff สามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี 30 วัน คลิกที่ด้านล่างนี้ได้เลย!

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content06

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ฮาวทู! ลดต้นทุน หมดปัญหาจดออเดอร์ผิด แค่มี Mobile Order สั่งอาหารผ่าน QR Code

ระบบสั่งอาหาร

ฮาวทู! ลดปัญหาการจดออเดอร์ผิดพลาด และช่วยลดการจ้างพนักงานลงได้ ด้วย ระบบสั่งอาหาร ‘Mobile Order’

ประเด็นยอดฮิตที่ Foodstory ได้รับบ่อยไม่แพ้คำถามอื่นก็คงหนีไม่พ้น ‘จะจ้างพนักงานเท่าไหร่ดี’ เพราะถ้าน้อยไปก็บริการให้ลูกค้าได้ไม่ดีพอ กลัวเกิดปัญหาดราม่าตามมา แต่ถ้าเยอะไปก็ต้องเพิ่มต้นทุนอีกหลายเท่าตัว กลัวจะไม่ไหวนี่สิ บทความนี้เลยขอพามาไขคำตอบเกี่ยวกับการจ้างพนักงานว่า ควรใช้งบเท่าไหร่ จ้างกี่คนดี พร้อม HOW TO !!!! ช่วยลดปัญหาการรับออเดอร์ผิด และลดแรงงานในการรับออเดอร์ แต่ยังคงรักษาความประทับใจของลูกค้าอยู่ ด้วย ระบบสั่งอาหาร ‘Mobile Order’

ร้านอาหารควรมีพนักงานกี่คน

ด้วยความที่ร้านอาหารแต่ละร้านมีขนาดไม่เท่ากัน ทำเลต่างกัน และรองรับลูกค้าได้ไม่เท่ากัน เลยมีปัญหาว่า ไม่รู้ควรจ้างพนักงานให้บริการภายในร้านอาหารกี่คนดี Foodstory ขอแนะนำให้ประเมินจากขนาดของหน้าร้านที่ต้องรองรับลูกค้าดูง่ายๆ ว่า หน้าร้านมีกี่โต๊ะ ปกติแล้วถ้าเป็นร้านอาหารจะจ้างพนักงานในส่วนของการเสิร์ฟ และรับออเดอร์ประมาณ 1 คน ต่อการรับลูกค้า 4 – 6 โต๊ะ เพราะต้องให้บริการทุกขั้นตอนตั้งแต่รับลูกค้าพามานั่งที่โต๊ะ รับออเดอร์ เสิร์ฟอาหาร แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และอื่นๆ นอกนั้นก็ตามความเหมาะสม เช่น พนักงานในจุดชำระเงิน 1 คน และประจำห้องครัวประมาณ 2 คน เป็นต้น ปัจจุบันเลยมีทางเลือกอื่นเพิ่มขึ้นมามากกว่าการต้องจ้างพนักงานจนแบกต้นทุนหนัก ด้วยการใช้ ระบบสั่งอาหาร Mobile Order แทน

การจ้างพนักงาน ภายในร้านไม่ควรใช้ต้นทุนเกินเท่าไหร่

บางทีขนาดพื้นที่รองรับกับพนักงานเยอะก็จริง แต่แน่นอนว่า ยิ่งต้องจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น ร้านอาหารก็ยิ่งต้องแบกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยเลยอาจคำนวณจากการใช้ต้นทุนแทนก็ได้ว่า ในส่วนของการจ้างพนักงานภายในร้านไม่ควรใช้ต้นทุนเกินเท่าไหร่ โดยคำนวณได้จาก รายได้ผลประกอบการทั้งหมดภายในร้านสาขานั้นมาหารายจ่ายในส่วนของต้นทุนแรงงานทั้งหมดไม่ควรเกิน 15% กรณีเป็นร้านรูปแบบ Self Service และไม่เกิน 20% กรณีเป็นร้านแบบ Full Service ( ถ้าเป็นร้านใหม่หรือพึ่งขยายสาขา ก็จะไม่แนะนำให้คำนวณตามนี้ เพราะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดคำนวณต้นทุน )

How to ! ลดปัญหาการรับออเดอร์ผิด และ ช่วยลดแรงงาน ด้วย ‘Mobile Order’ จาก FoodStory POS

หากปัจจุบันคุณกำลังรู้สึกว่า แบกค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าจ้างพนักงานมากเกินไปหรือต้องการลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลง Foodstory มีฮาวทูลดช่วยค่าจ้างพนักงาน ด้วย ระบบสั่งอาหาร ‘Mobile Order’ มาฝากกัน

ระบบสั่งอาหาร

1 ) คัดพนักงานให้เหลือเฉพาะในส่วนจำเป็น

หลังจากคำนวณจำนวนพนักงานตามขนาด และรายได้ของร้านอาหารแล้ว ก่อนอื่น ขอแนะนำให้คัดพนักงานเหลือเฉพาะในส่วนจำเป็น หากส่วนไหนมีมากกว่าที่ต้องการ ก็อาจปรับลดลงให้เหลือจำนวนในระดับที่เหมาะสมกับความจำเป็นในการทำงาน เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยเฉพาะในส่วนของพนักงานรับออเดอร์

ระบบสั่งอาหาร

2 ) ให้ระบบสั่งอาหาร Mobile Order จาก FoodStory POS ช่วยคุณสิ !

ด้วยความที่การจะควบคุมจำนวนพนักงาน ให้ยังคงจัดการภายในร้านได้มีประสิทธิภาพตามเดิมค่อนข้างยาก เว้นแต่จะจัดการลดค่าใช้จ่ายจากการปรับจำนวนพนักงานรับออเดอร์ แล้ววางระบบสั่งอาหาร Mobile Order ที่เชื่อมกับ FoodStory POS แทน ระบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเดินไปนั่งที่โต๊ะได้ด้วยตัวเอง และให้พนักงานนำ QR Code ไปให้ลูกค้าที่โต๊ะ และลูกค้าสามารถสแกนเพื่อดูเมนู สั่งอาหาร ได้ด้วยตัวเอง Mobile Order ระบบสแกนสั่งอาหารจาก FoodStory เป็นทั้งตัวช่วยและทำแทนพนักงานรับออเดอร์ได้ สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าจ้างพนักงาน ได้เยอะเลยทีเดียว

ระบบสั่งอาหาร

3 ) ใช้งาน ระบบสั่งอาหาร Mobile Order ระบบสแกนสั่งอาหาร ในสถานการณ์จริง

Mobile Order หรือ ระบบสแกนสั่งอาหาร คือ ฟีเจอร์ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านสมาร์ทโฟนของตัวเอง ด้วยการปริ้น QR Code ประจำโต๊ะให้ลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรสามารถแสกนแล้วเชื่อมต่อระบบสั่งเมนูอาหารได้ทันที นอกจากนี้ยังดูเมนูอาหาร เรียกพนักงาน หรือเช็คบิลเองได้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือสั่งซื้ออุปกรณ์มาวางทุกโต๊ะให้เปลืองงบ เพราะเครื่องมือสื่อกลางที่ใช้ก็เป็นของโทรศัพท์ลูกค้าที่พกมาด้วยนั่นเอง แถมลูกค้ายังสามารถแชร์ QR Code ให้เพื่อน เผื่อเพื่อนที่กำลังเดินมาที่ร้าน ได้ดูเมนูและสั่งได้ด้วยตัวเองได้อีกด้วย

4 ) นำข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่าง FoodStory POS มาวิเคราะห์ต่อเพื่อทำการตลาดได้

หลังจากปิดจบในแต่ละออเดอร์แล้ว พนักงานไม่ต้องเสียเวลา มานั่งเก็บข้อมูลยอดจำหน่ายแต่ละเมนู โดยเฉพาะ Foodstory POS ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบทั้งระบบ POS และระบบ CRM เก็บครบทุกรายละเอียด ช่วยลดความผิดพลาดของพนักงาน ในการจดออเดอร์ผิด และลดแรงงานพนักงานที่ต้องคอยเดินทุกครั้งเวลาลูกค้าเรียก รวมถึงสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานของภายในร้าน และวางแผนกระตุ้นยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ ตามข้อมูลจริงที่มีความน่าเชื่อถือสูง

5 ) เพิ่มระบบ Mobile Staff ตัวช่วยทำงานของพนักงานรับออเดอร์

นอกจากระบบ Mobile Order แล้ว หากต้องการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าบางท่านที่ไม่สะดวกสั่งออเดอร์ด้วยตัวเอง ร้านอาหารสามารถเพิ่มระบบ Mobile Staff เพื่อรองรับการรับออเดอร์ผ่านพนักงานได้ดังเดิม ซึ่งระบบนี้ก็เป็นตัวช่วยทำงานของพนักงานรับออเดอร์ให้ทำงานได้รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนและจำนวนคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่แพ้ระบบ Mobile Order เลย 

นอกจากนี้ Mobile Staff ยังเชื่อมต่อการทำงานไปยังระบบ FoodStory POS ได้โดยตรง เพิ่มความสะดวกสบายแก่ทางร้านอาหารให้สามารถเก็บข้อมูลรายรับรายและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสมกันแบบเรียลไทม์ หมดปัญหาจดพลาด จดไม่ครบ ลดภาระการทำงานหลายขั้นตอนไปได้เลย สำหรับท่านใดที่สนใจ ‘ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ พร้อมวางระบบ  Mobile Staff สามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ …

FoodStory

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: 

https://link.foodstory.co/APR-Content08

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

รู้ยัง? FoodStory POS ทำได้มากกว่าแค่คิดเงิน เพราะมี ระบบ CRM ในตัวด้วย!

ระบบ สมาชิก crm

รู้ยัง? ระบบ FoodStory POS ทำได้มากกว่าแค่การคิดเงิน
เพราะมีระบบสมาชิก CRM ในตัวด้วย!

หนึ่งในปัญหาของผู้ประกอบการร้านอาหารคือ อยากติดตั้งระบบให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่แวะเข้ามาอุดหนุนบริการร้านอาหารได้ประทับใจมากที่สุด โดยเฉพาะระบบ POS และระบบสมาชิก CRM แต่จะลงทุนทั้งทีก็มีแต่ต้องลงระบบแยกกัน ไม่ใช่แค่ทำงานวุ่นวายและเปลืองค่าใช้จ่าย แต่ยังอาจเสี่ยงเกิดปัญหาข้อมูลผิดพลาดและเพิ่มระยะเวลาการทำงานให้ล่าช้าไปอีก ระบบ Foodstory POS เลยพัฒนาระบบนี้มาให้ครบทุกฟังก์ชัน เหมาะกับร้านอาหารทุกรูปแบบ

ระบบ สมาชิก crm

ความแตกต่างระหว่างระบบ POS และระบบสมาชิก CRM

ปกติแล้วระบบ POS คือระบบที่ทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการร้านอาหาร ตั้งแต่การตั้งค่าเมนู การรับออเดอร์ การคิดเงิน การคำนวณและบันทึกรายรับรายจ่าย ตรวจเช็คสต๊อกในคลัง รวมถึงการดูรายงานยอดขาย หากจะสังเกตตามร้านอาหารหรือร้านค้าทั่วไปจะเห็นระบบเหล่านี้ได้ในบริเวณจุดชำระเงิน โดยติดตั้งกับเครื่องมืออิเล็กทรอกนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เป็นต้น แต่ระบบPOS จะแตกต่างจากระบบสมาชิก CRM ตรงที่

1) ระบบสมาชิก CRM หรือระบบการบริหารความสัมพันธ์กันลูกค้าสามารถเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า รวมถึงสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างตรงจุด ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินและเวลา

2) เพิ่มยอดขายต่อบิลได้มากกว่าระบบ POS เพราะข้อมูลที่นำเข้าฐานระบบสมาชิก CRM เป็นข้อมูลที่ทำให้รู้ใจลูกค้าเสมือนกับเป็นเพื่อนสนิทที่สื่อสารกันอย่างเข้าใจตลอดเวลา

3) มี Analytic Report ช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขาย จัดการแบ่งกลุ่มสร้างโปรโมชั่นเฉพาะ และสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างแม่นยำ

4) มีการดูรายงานยอดขายของแต่ละบุคลล ว่าสินค้าไหนขายดีกับลูกค้าคนไหน เพื่อนำไปวิเคราะห์และทำโปรโมชั่นรายบุคคลได้อีกด้วย

ระบบ สมาชิก crm

รู้ยัง? ระบบ FoodStory POS มีระบบสมาชิก CRM ในตัว

ด้วยความที่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาร้านอาหารส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบ POS อย่างแพร่หลาย เพราะช่วยให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันใจและคำนวณค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำมากกว่ามานั่งกดเครื่องคิดเลขไล่เรียงบิลแต่ละเมนู น่าเสียดายที่ระบบ POS ส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสมาชิก CRM เลยให้บริการลูกค้าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 

Foodstory ที่รู้ใจร้านอาหารทุกรูปแบบเลยทำระบบมาให้มากกว่า POS ทั่วไปด้วยการเชื่อมต่อกับระบบสมาชิก CRM ในตัว เพื่อให้รู้จักลูกค้ามากกว่าแค่ชื่อ เบอร์โทร หรืออีเมล แต่คือเข้าใจพฤติกรรมรายบุคคล ชอบนั่งร้าน? ชอบสั่งทานที่บ้าน? ชอบสั่งอะไร? สร้างความประทับใจให้กลับมาใช้บริการ เพิ่มยอดขายและยกระดับกลยุทธ์ให้ร้านอาหารของคุณเหนือกว่าร้านคู่แข่ง จัดแบ่งกลุ่มลูกค้าและสร้างโปรโมชั่นเฉพาะให้สื่อสารได้ตรงใจอย่างแม่นยำ แถมการันตี! ใช้ง่าย เข้าใจง่าย มือใหม่ก็ใช้ประโยชน์ได้สบาย

ระบบ สมาชิก crm

6 ฟังก์ชันสุดเจ๋ง กับ ระบบสมาชิก FoodStory CRM ที่มีใน Foodstory POS

สำหรับใครที่นึกไม่ออกว่า ระบบ POS ธรรมดา กับ POS ที่มีระบบสมาชิก CRM ในตัวจะต่างกันยังไง เลยขอหยิบ 6 ตัวอย่างฟังก์ชันสุดเจ๋ง กับ ระบบสมาชิก CRM  ใน Foodstory POS มาให้เห็นภาพง่ายขึ้นกัน

1) ลูกค้าสามารถแลกแต้ม หรือสะสมคะแนนง่ายๆ เพียงแจ้งเบอร์โทรศัพท์

เปลี่ยนจากการต้องพกบัตรเก็บสะสมแต้มแบบปั๊มบนกระดาษหรือบัตรสมาชิกคล้ายบัตรเครดิตไปได้เลย เพราะสังคมไร้เงินสดเป็นสังคมที่ทำให้คนไทยไม่ชอบพกบัตรให้วุ่นวาย แต่ระบบสมาชิก CRM ใน Foodstory POS จะช่วยตอบโจทย์ให้ลูกค้าและร้านค้าสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการรองรับการแลกแต้มหรือสะสมคะแนนง่ายๆ เพียงแจ้งเบอร์โทรศัพท์เท่านั้น

2) ลูกค้าสามารถ Redeem ได้ง่ายเพียงแจ้งโค้ด

ไม่ต้องแจกคูปองในการแลกส่วนลดหรือรับของรางวัล สำหรับระบบสมาชิก CRM เพียงแค่แจ้งโค้ดก็สามารถ Redeem รางวัลหรือส่วนลดได้ง่ายๆ และทางร้านก็ไม่ต้องเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์คูปองแบบกระดาษแต่อย่างใด

3) ระบบเก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัย

แม้ระบบสมาชิก CRM ใน POS จะถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยหรือข้อมูลรั่วไหลให้ร้านค้าของคุณเสื่อมเสียหรือลูกค้าของคุณต้องเสียหาย เพราะ Foodstory การันตีเรื่องความปลอดภัย มั่นใจได้ 100%

4) สามารถปรับแต่ง โปรโมชั่น หรือข้อมูลลูกค้าได้

Foodstory POS มี Analytic Report ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกปรับกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มยอดขาย จัดการแบ่งกลุ่มสร้างโปรโมชั่นเฉพาะ และสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างแม่นยำ ไม่ต้องกังวลว่า จะไปสร้างความรำคาญหรือรบกวนลูกค้าจากการสื่อสารการตลาดแต่อย่างใด

5) ระบบสมาชิก FoodStory CRM สามารถวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อสร้างโปรโมชั่นให้ลูกค้ารายบุคคลได้

จากระบบ POS ที่ทำได้เพียงรู้ข้อมูลพฤติกรรมบริโภคแบบโดยรวมไม่สามารถวิเคราะห์ละเอียดแบบรายบุคคลได้ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบมากขึ้น สู่ระบบสมาชิก CRM ของ FoodStory CRM มีการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลเสริมการทำ Big Data สามารถวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อสร้างโปรโมชั่นให้ลูกค้ารายบุคคลได้

6) รองรับการตลาดที่มากกว่า

ลบภาพระบบสมาชิก CRM แบบเดิมๆ ที่เคยทำการตลาดได้แบบจำกัด เพราะ Foodstory POS ที่มีระบบสมาชิก CRM สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทุกสาขา ใช้ประโยชน์เสริมการขายได้อย่างอิสระ เช่น ใช้ส่วนลดหรือแลกแต้มแบบข้ามสาขา, รองรับการตลาดออนไลน์ผ่าน Line OA เป็นต้น

ปิดครบจบทุกปัญหากับระบบสมาชิก CRM บน Foodtory POS ที่ให้มากกว่าการคำนวณค่าใช้จ่ายรวดเร็วแบบ POS แต่ยังเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าราวกับเข้าไปนั่งอ่านในใจลูกค้า เพิ่มโอกาสสร้างยอดขายได้หลายเท่าตัว จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ …

FoodStory

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรีที่นี่

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ไขคำตอบ! 5 เหตุผลที่ร้านอาหารควรมี CRM ระบบสมาชิกร้านอาหาร

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

ไขคำตอบ! 5 เหตุผลที่ร้านอาหารควรมี CRM
ระบบสมาชิกร้านอาหาร

เคยสงสัยไหม? เมื่อเราแวะเข้าไปใช้บริการร้านดังในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ (ไม่ว่าจะร้านอาหารอะไรก็ตาม) หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยสาขาประจำก็ยังมีระบบสมาชิก แล้วร้านอาหารทั่วไปล่ะ จำเป็นต้องมี ระบบสมาชิกร้านอาหาร หรือ CRM ไหม มาร่วมไขคำตอบไปพร้อมกับ FoodStory ได้ในบทความนี้

ระบบสมาชิก สะสมแต้มร้านอาหาร

ปัญหาดั้งเดิมของร้านอาหารที่ 'ไม่มี' ระบบสมาชิกร้านอาหาร CRM

ร้านอาหารที่เปิดหน้าร้านให้ขาจรแวะเข้าร้านอาจมองภาพ CRM ไม่ออกว่าจำเป็นอย่างไร แต่รู้หรือไม่สมัยก่อนร้านอาหารก็มีการทำระบบสมาชิกแบบที่หลายคนไม่รู้ตัว เพียงแค่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นรูปแบบการจดจำด้วยความทรงจำของตัวเอง ไม่เชื่อลองนึกถึงร้านอาหารร้านโปรดแถวย่านที่ตัวเองพัก พร้อมประโยคที่คุณป้าร้านข้าวสนทนากับคุณบ่อยๆ “วันนี้กินอะไรดีลูก” “แบบเดิมใช่ไหม” ไม่ต้องกรอกข้อมูล แต่มีการจดจำสมาชิกเจ้าประจำของร้านค้าไปในตัว แต่ปัญหาที่มักพบบ่อยก็คือ

1) คาดหวังกับลูกค้าเจ้าประจำมากเกินไป แม้ร้านของคุณจะเป็นร้านอาหารตามสั่งอร่อยไม่ซ้ำมีนับร้อยเมนูก็ต้องมีวันที่ลูกค้าอยากลองร้านใหม่บ้าง เสี่ยงต่อความสม่ำเสมอในการหารายได้

2) ไม่มีข้อมูลลูกค้าที่เคยแวะมาลอง แต่ไม่ใช่ลูกค้าประจำ ยากต่อการวางแผนกระตุ้นยอดขาย สำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าไม่ประจำ

3) ขาดกิจกรรมส่งเสริมการขายและแผนการสื่อสารอย่างมีคุณภาพไปถึงลูกค้า เพื่อเสริมสร้าง Loyalty กับร้านอาหารของคุณ

5 เหตุผลทื่ทุกร้านอาหารควรมีระบบสมาชิก CRM

ถึงแม้ว่า ระบบสมาชิก CRM จะดูยุ่งยากขึ้นเล็กน้อยในสายตาของพนักงานและลูกค้าขาจรที่นิยมแวะร้านใหม่เข้าร้านแล้วสั่งจ่ายตังค์แล้วเดินออกก็ตาม แต่ระบบ CRM มีความจำเป็นที่มากกว่าจนมองข้ามเรื่องเสียเวลาเพียง 1 นาทีในการกรอกข้อมูลลูกค้าเข้าระบบสมาชิกไปได้เลย

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

1) กระตุ้นยอดขายได้มากขึ้น

การทำระบบสมาชิก CRM สามารถเพิ่มการใช้จ่ายของลูกค้า และเสริมการรักษา Loyalty ของลูกค้าอย่างน้อย 5% รวมถึงมีแนวโน้มกระตุ้นยอดขายจากทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้มากขึ้น จากการใช้ข้อมูลในฐานระบบสมาชิก CRM ร่วมกับการทำกิจกรรมเสริมการขาย เช่น ของฟรีหรือบัตรของขวัญหลังจากที่ลูกค้าทำการซื้อตามจำนวนที่กำหนดไว้ หรือให้สิทธิพิเศษในช่วงวันพิเศษของลูกค้าให้พวกเขารู้สึกว่า การเก็บข้อมูลของคุณทำ เพราะประโยชน์ของพวกเขา เป็นต้น

2) ระบบสมาชิก CRM ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนแบบอื่น

ขณะที่การลงทุน เพื่อกระตุ้นยอดขายแผนอื่นกลับต้องใช้ทุนหรือแรงคนสูงกลับได้ผลตอบแทนไม่มาก แต่ระบบสมาชิก CRM สามารถใช้งบประมาณต่ำกว่า แต่ได้รับผลตอบแทนและใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบไปต่อยอดได้มากกว่า รวมถึงมีแนวโน้มที่ลูกค้าจะใช้งานระบบเหล่านี้มากกว่าแผนการตลาดรูปแบบอื่น ยินดีในการรับข้อมูลข่าวสารจากทางแบรนด์หรือร้านอาหารมากขึ้นด้วย

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

3) เข้าถึงข้อมูลสำคัญของลูกค้าด้วยความยินดี

อย่ามองว่า สิ่งที่มีค่าจากลูกค้ามีแค่เม็ดเงินที่ได้จากยอดขาย แต่เป็นความเชื่อใจและยินยอมให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะต่อยอดในการสร้างความภักดีแก่ธุรกิจของคุณได้ในระยะยาว หากย้อนกลับไปในอดีตร้านค้าต่างๆ ต้องใช้การคาเดาเยอะมาก เพื่อให้รู้ใจลูกค้า เช่น การวิเคราะห์ใบเสร็จรับเงิน และการพูดคุยกับแขก เป็นต้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าอย่างในปัจจุบันที่รวบรวมมากกว่ารายชื่อลูกค้า หรือรายรับรายจ่าย โดยระบบ CRM สามารถนำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อหาสิ่งที่พวกเขาสนใจและมีแนวโน้มจะกระตุ้นยอดขายได้แบบรายบุคคล โดยไม่ทำให้พวกเขารู้สึกยัดเยียดแม้แต่น้อย

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

4) จัดกลุ่มลูกค้าได้เป็นระเบียบและเลือกแผนที่ดีที่สุดให้เหมาะกับพวกเขาได้

การรองรับลูกค้าทุกกลุ่มมีความสำคัญเสมอ แต่คุณและร้านของคุณควรรู้ว่า ลูกค้าท่านไหนอยู่ในกลุ่มลูกค้าขาจร ลูกค้าเจ้าประจำ หรือลูกค้าระดับสูง เพื่อพิจารณาออกแบบการใช้แคมเปญการตลาดให้เหมาะสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ หรือตรวจสอบจนคุณสามารถมั่นใจได้ว่าการบริการลูกค้านั้นยอดเยี่ยมเมื่อลูกค้าเหล่านี้แวะเข้ามาอุดหนุนทานอาหารภายในร้านของคุณ เพราะงั้นระบบสมาชิก CRM ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนจัดกลุ่มและเลือกแผนการตลาดรายบุคคลเลยเป็นสิ่งจำเป็นมาก

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

5) สื่อสารได้โดยตรงอย่างมั่นใจ

เชื่อเลยว่า การสื่อสารระหว่างร้านอาหารกับลูกค้า แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็สร้างความลำบากใจให้ฝั่งทางร้านอาหารไม่น้อย เพราะบ่อยครั้งที่การสื่อสาร เพื่อการตลาดของแบรนด์สร้างความรำคาญหรือไปรบกวนลูกค้า โดยไม่ได้เจตนา แต่ข้อมูลจากระบบสมาชิก CRM นี่ล่ะที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า การสื่อสารแบบไหนหรือแผนการตลาดแบบใดที่ลูกค้าถูกใจและมีแนวโน้มจะตอบรับแผนการตลาดเหล่านั้นมากที่สุด โดยไม่ทำให้พวกเขาต้องรู้สึกเหมือนถูกรบกวนเลย แถมประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดหรือการสื่อสารที่สิ้นเปลืองด้วย

หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยที่สามารถเพิ่มยอดขายและกำไรได้ในระยะยาว พร้อมเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้มาเป็นลูกค้าประจำและเพิ่ม Loyalty ให้ลูกค้าประจำรักร้านอาหารของคุณแบบถาวร ขอแนะนำ ‘ตัวช่วยระบบจัดการสมาชิก CRM ที่รู้ใจร้านอาหารภายใต้ FoodStory POS’ ซึ่งเป็นตัวช่วยที่สามารถจัดการสมาชิกได้ง่ายมาก เพราะระบบ FoodStory CRM เชื่อมต่อเข้ากับ FoodStory POS โดยตรง จึงทำให้ข้อมูลของลูกค้าทุกคนถูกจัดเก็บเป็นอย่างดี และง่ายต่อการดูรายงานและประเมิณโปรโมชั่น จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์

ที่สำคัญ ระบบ FoodStory CRM ใช้งานง่ายมากๆ ไม่ทำให้ลูกค้าต้องรู้สึกถึงความยุ่งยากแน่นอน เพราะในขั้นแรกของการสมัครสมาชิก พนักงานที่ร้านสามารถมอบ QR Code ให้ลูกค้าสมัครได้ ผ่านการพูดคุยหรือเชื้อเชิญให้สมัคร หรือในอีกกรณี QR Code ก็สามารถใส่ไว้ในท้ายใบเสร็จ และปรับแต่งใบเสร็จ เพื่อให้ลูกค้ารู้ถึงข้อดีของการเป็นสมาชิกได้อีกด้วย ที่มากไปกว่านั้น ขั้นตอนการสมัครก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่ลูกค้า Scan QR Code ก็สามารถสมัครได้เลย และยังสามารถเลือกได้อีกด้วย ว่าจะสมัครแบบใช้เบอร์โทร หรือจะเชื่อมต่อการสมัครผ่าน Line ส่วนตัวก็ยังได้ และอีกหนึ่งข้อดี คือถ้าลูกค้าสมัครผ่าน Line จะสามารถรับโปรโมชั่น หรือข่าวสารที่ทางร้านอาหารอยากจะส่งต่อไปถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย (แต่ในส่วนของฟีเจอร์นี้ ทางFoodStory จะมาอธิบายแบบละเอียดในบทความถัดไป รอติดตามชมกันได้เลย)

เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ …

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี:  คลิก

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

5 เคล็ดลับจัดการ แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขาแบบชิลๆ!

แฟรนไชส์อาหาร บริหารร้านแฟรนไชส์ ระบบ POS

บริหาร แฟรนไชส์ร้านอาหาร
แบบมือโปร ด้วย 5 เคล็ดลับนี้!

สงสัยไหมว่า ทำไมผู้บริหารขั้นเทพสามารถรับมือดูแลร้านหลายร้อยสาขา หรือหลายธุรกิจต่างอุตสาหกรรมกันได้แบบชิล ๆ แต่มือใหม่แบบพวกเราแค่ดูแลร้านอาหารเพียงร้านเดียวก็แทบจะกระอักเลือด ความจริงแล้วเบื้องหลังมีเพียงทริคเล็กน้อย ที่หากใครได้รู้ก็สามารถทำตาม และบริหารจัดการ แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขาได้ง่าย ๆ บอกเลย ใครที่กำลังจะเปิดแฟรนไชส์ หรือกำลังมองหาเคล็ดลับบริหารร้านหลายสาขาไม่ควรพลาด!

แฟรนไชส์อาหาร ระบบ POS บริหารแฟรนไชส์ร้านอาหาร

1 | เตรียมระบบให้พร้อมก่อนขยายเป็น แฟรนไชส์ร้านอาหาร

อย่ารอให้มีหลายสาขาแล้วค่อยวางระบบ เพราะปกติแค่เปิดร้านอาหารสาขาเดียวก็วุ่นแล้ว หากจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ที่มีหลายสาขายิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาไปกันใหญ่ FoodStory เลยขอแนะนำให้ตั้งระบบให้มีฐานข้อมูลมารวมกันและเปิดมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบายก่อนขยายสาขา จะดีกว่าขยายสาขาแล้วค่อยวางระบบ โดยเฉพาะในเรื่องเหล่านี้

  • การวางแผนทรัพยากรองค์กร และการติดตามการทำงานของพนักงานแบบเรียลไทม์ เพราะกุญแจสำคัญของการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์คือ พนักงานที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในร้าน โดยใช้ระบบเหล่านี้เป็นเครื่องมือ
  • การวางแผนตรวจสอบการทำงานของพนักงานให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาในภายหลัง เช่น ระบบฐานข้อมูลจัดเก็บหลักฐาน และรายรับรายจ่ายครบถ้วนทุกยอด, กล้องวงจรปิดตามตำแหน่งต่าง ๆ ภายในร้าน, เช็ควัตถุดิบตามสูตรคำนวณจากยอดขายที่จำหน่ายได้ เป็นต้น
  • ระบบการเงินตามรูปแบบของการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ เงินสดย่อย สำหรับใช้หมุนเวียนหน้าร้านประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน และเงินกองกลางเข้าบัญชีก่อนไปบริหารจัดการอีกครั้ง
  • เครื่องมือการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ช่วยให้คุณเข้าใจ จัดการ และเชื่อมต่อกับฐานลูกค้าของคุณอย่างเป็นระบบ

2 | ควรใช้ระบบ POS เข้ามาช่วยบริหาร

ระบบที่ดีจะต้องตอบโจทย์การใช้งานแบบครอบคลุมอย่าง Foodstory POS ระบบขั้นสูงเพื่อจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ และร้านอาหารทุกรูปแบบ ด้วยฟีเจอร์ที่มีมากกว่า 500 รายการ ช่วยให้คุณจัดการบริหารร้านได้ง่ายขึ้น เช่น สร้างเมนูได้หลากหลาย และกำหนดเมนูในแต่ละแฟรนไชส์ที่แตกต่างกัน หรือเหมือนกันได้ 

  • บริหารได้หลายสาขา แม้ตัวจะไม่ได้อยู่ที่ร้านก็ตาม
  • จัดการข้อมูลของแต่ละสาขาได้ง่ายด้วยปลายนิ้ว
  • ควบคุมมาตรฐานทุกสาขาได้ในทีเดียว ไม่ว่าจะลด เพิ่ม ผูกสต๊อก ก็ทำได้ง่ายดาย
  • ระบบ Sale Channel ช่วยบันทึกรายงานการขายช่องทางอื่นๆเพิ่มเติมได้
  • ระบบ Inventory ที่ช่วยจัด บริหาร และตัดสต๊อกได้อย่างละเอียด และยังสามารถเปิดใบ PR PO ได้อย่างแม่นยำ
  • มีระบบโปรโมชั่น สามารถวิเคราะห์โปรโมชั่นได้อย่างแม่นยำ และส่งตรงไปยังแต่ละสาขาได้อัตโนมัติ
  • ออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม และแบบย่อได้
  • มี GP Franchise ที่สามารถกำหนด GP แต่ละสาขาได้ และสามารถออก QR Payment ให้ลูกค้าชำระเงินท้ายใบสรุปยอดได้สะดวกยิ่งขึ้น 
แฟรนไชส์อาหาร แฟรนไชส์ร้านอาหาร

3 | ปั้นร้านสาขาแรกให้ติดตลาดก่อน

ก่อนเริ่มขยายสาขานอกจากวางระบบจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์แล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อลดภาระการกระตุ้นให้เกิดยอดขายทั้งสาขาหลัก และสาขาอื่นได้ในระดับพึงพอใจคือ ควรปั้นร้านแรกให้ติดตลาดจนลูกค้ารู้จักเป็นวงกว้างได้ (ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้พักอาศัยในละแวกใกล้เคียง) จนตัวคุณและผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์สามารถมั่นใจได้ว่า จะสามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้า จึงค่อยขยายสาขาและทำการขายแฟรนไชส์

4 | ศึกษาทำเลและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเพิ่ม

นอกจากการวางระบบให้สอดคล้องกับการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์หลายสาขาและปั้นร้านแรกให้เริ่มติดตลาด การวางแผนดีก่อนไปตั้งสาขาก็อาจมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่น

  • เลือกทำเล : ช่วงแรกอาจเลือกให้ไม่ห่างไกลจากสาขาแรกที่คุณสะดวกมากนัก เพื่อให้เดินทางเข้าไปตรวจสอบหรือควบคุมได้ตามต้องการ รวมถึงควรเลือกทำเลดีที่กระตุ้นยอดขายจากกลุ่มเป้าหมายได้ในตัว 
  • คัดสรรผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือบริหารในแต่ละสาขา : การจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ที่ดีในระยะยาวไม่ควรเน้นขายแค่เพียงเพราะเขาอยากซื้อ แต่ต้องคัดสรรผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีความพร้อมและมั่นใจได้ว่าจะเติบโตไปพร้อมกับคุณได้ด้วย โดยมองแบบพาร์ทเนอร์ ไม่ใช่แค่คุณเป็นคนขายแล้วเขาเป็นคนซื้อแค่นั้นจบ เหมือนคำกล่าว ‘ก้าวด้วยกันไปได้ไกลกว่า’
  • หาตัวช่วยบริหารจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์แต่ละสาขา : ไม่ว่าจะบุคลากร เครื่องมือเทคโนโลยี POS ขั้นสูง หรือการส่งต่อข้อมูลข่าวสารแบบรายสัปดาห์ จำเป็นต้องจัดหามาช่วยแต่ละสาขาทั้งสิ้น อย่าปล่อยทิ้งให้พวกเขาจัดการเอง 100% ด้วยความคิดที่ว่าขายแฟรนไชส์แล้วก็จบ เพราะถ้าสาขาอื่นยอดขายดีก็มีโอกาสต่อยอดขยายสาขา หรือกระตุ้นยอดขายในสาขาอื่นได้เช่นกัน
แฟรนไชส์อาหาร แฟรนไชส์ร้านอาหาร

5 | ฝึกอบรม และ วางระเบียบพนักงานให้ชัดเจน

FoodStory มักจะบอกเสมอว่า การบริหาร แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขาสามารถลดภาระได้จาก 2 ปัจจัยคือ ระบบและพนักงาน ก่อนเริ่มต้นให้พนักงานเริ่มทำงานควรมีการฝึกอบรม ทดสอบประเมินทักษะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน และทักษะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ รวมถึงวางระเบียบการทำงานของพนักงานในองค์กรให้ชัดเจน อัตราเงินเดือนสอดคล้องกับแรงงานที่พร้อมพัฒนาฝีมือ ก็จะช่วยขับเคลื่อนร้านอาหารของคุณให้มีคุณภาพตามมาตรฐานได้ไม่ยาก และลดภาระการบริหารของคุณไปได้ไม่น้อยเลย

นอกจากนี้ อย่าลืมหมั่นตรวจสอบและพัฒนาการจัดการร้านอาหารตลอดเวลา เพราะการบริหารจัดการ แฟรนไชส์ร้านอาหาร ในก้าวแรกให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ความต่อเนื่องของคุณ สำหรับท่านใดที่สนใจระบบที่รู้ใจร้านอาหารมากที่สุดจาก FoodStory จัดการบริหารร้านได้ง่าย ไม่ว่าคุณจะมีร้านอาหารกี่ร้าน กี่รูปแบบ หรือกี่สาขาก็ตาม ด้วย 500 ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจร้านอาหารครบครัน มีทั้งฟีเจอร์ตั้งราคาเรียกเก็บค่า GP แต่ละสาขาได้ง่าย ๆ พร้อมรายงานยอดขายแบบละเอียดผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และติดตามการทำงานของพนักงานได้แบบเรียลไทม์ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรีได้ทันทีที่นี่!

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี: คลิกที่นี่
โทร: 065-513-7744 กด 1