fbpx Skip to content

ทำความรู้จัก Nigiwai Group เจ้าของแฟรนไชส์ ร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดังกว่า 50 สาขา

รู้หรือไม่ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของแฟรนไชส์ร้านอาหารชื่อดังอย่าง Durainism และ Nigiwai Shabu & Sushi นั้นมากจากความมุ่งมั่น ตั้งใจ และการวางแผนธุรกิจรวมถึงระบบต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดีของทีมผู้บริหาร Nigiwai Group อย่างคุณเก้ง –  วรันธร แดงใหญ่ (COO & CO FOUNDER) จนสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากสถานการณ์โควิด-19 จนถึงตอนนี้ ตอกย้ำความเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของวงการแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นและคาเฟ่ทุเรียนในประเทศไทย

ทำความรู้จัก Nigiwai Group

เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น
ชื่อดังกว่า 50 สาขา

จุดเริ่มต้นการทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น

สำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจของคนส่วนมากน่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือถ้าไม่มีความชอบอก็คือเป็นความถนัด แต่ในส่วนของผมเริ่มจากความชอบเลยครับ ก็คือเริ่มจากชอบทำอาหารญี่ปุ่นก่อนเลย เริ่มจาก 6 ปีที่แล้ว อาหารญี่ปุ่นมันเป็นมันเป็น Blue Ocean มาก ๆ ในต่างจังหวัด ผมก็เริ่มจากกินมาปีสองปี ก็รู้สึกว่ามันเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ว่าตอนนั้นเทรนด์เฮลตี้ฟู้ดมันเข้ามาในประเทศไทยด้วย แล้วผมมองว่าอาหารญี่ปุ่นมันค่อนข้างเป็นอะไรที่แบบมันเทรนดี้มาก มันเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รสชาติค่อนข้างอร่อย แล้วก็วัยรุ่นกำลังเป็นที่นิยม ผมก็เลยมองว่าธุรกิจอาหารญี่ปุ่นนี่แหละครับเป็นตัวที่ทำให้ผมอยากทำเรื่องทำธุรกิจขึ้นมาครับ

ซึ่งถ้าพูดถึง Nigiwai Group นะครับ ตอนนี้เราแบ่งบริษัทลูกไปหลาย ๆ บริษัท เงินตั้งแต่ 59,000 บาทจนถึง 30 ล้านเลย คือเราบริหารจัดการให้ทั้งหมด อย่าง 59,000 บาทก็จะเป็นเป็น Franchise ก็จะเป็นก๋วยเตี๋ยวครับ แต่ถ้าอาหารญี่ปุ่นจะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 4 ล้านบาท ก็คือเรียกว่าหิ้วกระเป๋ามาเปล่า ๆ เลยเราดูแลให้ตั้งแต่ศูนย์ถึงร้อย แล้วเราก็ยังเป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยตอนนี้ที่จะดูแลตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้าง หาพนักงาน อย่างเรื่องของการหาพนักงานเราก็ยังเป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยตอนนี้เลยที่ทำตรงนี้ให้ด้วยครับ

อะไรคือเคล็ดลับการเลือกทำเลร้านอาหาร?

ที่จริงการเลือกทำเลถ้าตามหลักจริง ๆ แล้วมันต้องใช้เรื่องของ Data มาช่วย เช่น สถานที่อยู่ตรงไหน คนเดินผ่านเท่าไหร่ แต่สำหรับ Nigiwai ต้องบอกว่าเรายังไม่ได้ใช้วิธีการแบบนั้นครับ คือตอนนี้เราใช้เรื่องของประสบการณ์ของผู้บริหาร เพราะว่าเราเคยทำร้านอาหารมาแล้วไม่ต่ำกว่าประมาณ 60 – 70 ร้านค้าทั่วประเทศ เราก็จะมีชุดความคิดของเราว่าทำเลประมาณนี้ เป็นหัวเมือง เป็นเมืองหลัก เมืองรอง เราควรจะต้องเปิดทำเลตรงไหน ค่าเช่าเท่าไหร่ ซึ่งมันก็จะมีหลักการคิดคำนวณว่าค่าเช่าที่มันควรจะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมด ที่เราคิดว่า Feasibility มันทำให้เรารันธุรกิจไปต่อได้ครับ เพราะเราจะมองว่าร้านอาหารจะต้องคืนทุนใน 2 ปี อันนี้คือ Priority แรกที่เราให้กับทางนักลงทุน ทีนี้การดูทำเลร้านมันก็ประกอบด้วยหลาย ๆ ส่วน ทั้งทำเล ค่าเช่า ความน่าจะเป็น สมมุติถ้าทำเลไม่ดีเราก็ต้องได้ราคาที่ถูกเพื่อเอามาทำการตลาดแทน สำหรับผมทำเลที่ดีที่สุดไม่มีในโลก มันอยู่ที่ว่าเราเข้าใจทำเลตรงนั้นหรือเปล่า แล้วตัวร้านของเรามันเหมาะกับทำเลตรงไหน ถ้าสมมุติเราได้ราคาถูก เราควรจะแก้ปัญหาในทำเลที่มันไม่ได้เป็นทำเลทอง แล้วจะทำยังไงให้มันกลับมาเป็นร้านอาหารที่ดีได้ หลักการของเราก็จะเป็นประมาณนี้ครับ

ส่วนเรื่องของการหาพนักงาน จริง ๆ มันค่อนข้างจะต้องมีความแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละพื้นที่ด้วย อย่างสมมุติผมเปิดร้านที่เชียงใหม่ก็จะหาพนักงานง่ายมาก คือเพราะว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย ตอนที่เราเปิด 2 สาขาพร้อมกัน ผมเคยไปสัมภาษณ์งาน คือมีคนมาสมัครเป็นร้อยคนเลยนะครับ แต่สมมติบางจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ใกล้หัวเมืองในภาคนั้น ๆ เช่น ที่สระแก้วผมไปสัมภาษณ์ 3 รอบ มีพนักงานมาสมัครแค่ 3 – 4 คน มันก็เลยจะมีความยากง่ายของของแต่ละพื้นที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบของของแบรนด์เราคือ เราจะมีทีมที่เป็นเซ็ตตรงกลางอยู่แล้ว สมมุติถ้าร้านสาขานี้อีก 2 เดือนจะต้องเปิดถ้าหากยังหาพนักงานได้ไม่ครบเราก็จะมีทีม support ที่ทำให้หน้าที่ต่าง ๆ ในร้านช่วยรันไปได้ก่อนอยู่แล้วในช่วงแรก เพราะว่าปกติถ้าร้านไม่เปิดอยู่แล้ว อยู่ดี ๆ เราไปรับพนักงานเลย คนส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกว่าอยากจะย้ายถิ่นฐานมาเพื่อทำงานอยู่ที่สาขานี้ แต่เมื่อร้านมันถูกเปิดไปแล้วการหาพนักงานก็จะทำได้ง่ายขึ้นครับ

ระบบ POS จำเป็นกับธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารหรือไม่?

ต้องบอกก่อนว่าตอนนี้แบรนด์ที่ทำ Business Franchise ในประเทศไทยที่ดูแลตั้งแต่ศูนย์ถึงร้อย Nigiwai Group เป็นแบรนด์เดียวในประเทศตอนนี้ที่นักลงทุนมีเงินเท่าไหร่ อยากทำอะไร อยากเปิดตรงไหน ก็สามารถเดินมาหาเราได้ เหมือนเป็นที่ปรึกษานักลงทุนครับว่าคุณอยากได้ธุรกิจรูปแบบไหน เราสามารถตอบโจทย์ได้ทุก ๆ ที่ ทุก ๆ โซนในประเทศไทยเลยครับ อย่างเรื่องการหาคนก็ตาม หรืออย่างเรื่องดูแลสูตรของเราก็ตาม ถือว่าแฟรนไชส์ของเราเป็นแฟรนไชส์ที่สร้างฝันให้กับนักลงทุนในธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผมว่าหลายคนอยากทำ แต่การทำร้านอาหารสมัยนี้มันไม่เหมือนสมัยก่อนที่ว่าแค่มีสูตรอาหาร เข้าตึก มีแม่ครัวเดินเข้าไปแล้วมันจบเลย

ร้านอาหารเดี๋ยวนี้มันเป็นเหมือนกันเปิดบริษัทเลยครับ มันต้องมีทั้งระบบบัญชี มีเรื่องระบบ POS เรื่องทำการตลาด มีเรื่องของระบบ Restaurant management คือพอธุรกิจอาหารมันกลายเป็น Red Ocean ทุกอย่างมันก็ยากมาก ๆ ทั้งหมด ดังนั้นการที่อยู่ดี ๆ คุณจะเปิดร้านอาหารขึ้นมาโดยลงทุน 3-4 ล้านบาท โดยที่แค่คิดว่าตัวฉันอยากเปิดร้านนะ แล้วฉันก็เดินไปเปิดร้าน แบบนั้นผมมั่นใจว่า 70% ภายใน 3 ปีเจ๊งแน่นอน แต่ทีนี้พอเรามีรูปแบบของแฟรนไชส์ Nigiwai Group มาช่วยดูแล ทำให้อะไรที่ไม่คุณชำนาญ อะไรที่คุณไม่ชัวร์ ไม่รู้ว่าจะไปซ้ายหรือขวาดี เรื่องแบบนี้ทางแบรนด์เราผ่านประสบการณ์มาหมดแล้วครับ คือเราเจ๊งมาไม่ต่ำกว่าเป็น 10-20 ร้านแล้วครับ คือตรงนี้เราคิดว่ามันเป็น Key Success ที่คิดว่านักลงทุนเลือกเราจากจุดนี้ครับ

แผนการตลาดแบบไม่ตายตัวคืออะไร?

คือการทำการตลาดของเราตรงนี้มันต้องดูว่าแต่ละทำเล แต่ละโมเดล มันใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด ก่อนร้านเปิดก็จะเป็นโมเดลการตลาดแบบหนึ่ง ร้านเปิดไปแล้วเจอปัญหาแบบนี้ เราก็จะแก้ด้วยวิธีการการตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง จริง ๆ มันค่อนข้างจะเป็นรูปแบบทั้ง Customize แล้วก็ Compromise กับทั้งนักลงทุนแล้วก็สถานการณ์นั้น ๆ ของร้านครับ มันเลยไม่สามารถเจาะจงได้ว่าเราอันนั้นเราจะต้องทำ Pricing นะ หรืออันนี้จะต้องเป็นยิงแอดเพิ่มนะ ต้องลดต้นทุนนะ หรือว่าต้องเพิ่มยอดขายครับ พอเรามีหลายสาขาวิธีการที่ใช้มันก็จะค่อนข้างแตกแขนงไปได้หลายรูปแบบมาก ๆ ครับ 

อะไรเป็นความกดดันที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร?

ด้วยความที่ Nigiwai Group เราโตมาด้วยระบบแฟรนไชส์ เราทำงานร่วมกับนักลงทุน ซึ่งก็ต้องมองว่านักลงทุนแต่ละเจ้าแต่ละสาขาเป็นผู้มีพระคุณของเราเลย ปกติบริษัท startup จะเติบโตด้วยการ Funding หรือจะเป็น Angel Fund ก็ตามที่เอาเงินเข้ามาเพื่อให้บริษัทเติบโต แต่ของเราถนัดทำในส่วนของ Operation ทำแฟรนไชส์ ดังนั้นผู้มีพระคุณของเราก็คือนักลงทุนครับ ซึ่งการเปิดร้านปกติเราก็สู้กับความคาดหวังของตัวเราเองถูกไหมครับ แต่พอเราใช้เงินของนักลงทุน มันคือการสู้กับความคาดหวังของบุคคลอื่น ๆ ทีนี้เราต้องทำให้ดีขึ้นกว่าปกติ 2-3 เท่าเป็นอย่างน้อยนะครับในการที่ทำให้ร้านที่เขาลงทุนกับเรา ที่เขาจัดการสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน เพราะบางคนมีเงินอยู่ 10 ล้าน เอาเงินมาลงทุนกับเรา 7 ล้าน เขาเหลือตังค์อยู่ในกระเป๋า 3 ล้านบาทสมมุติถ้าเราทำเขาเจ๊ง เงิน 70% ที่เป็นเงินเก็บของเขาคือสูญสิ้นไปเลย ซึ่งเราก็ต้องสู้กับความคาดหวังตรงนี้ด้วย

คือเราผ่านปัญหามาค่อนข้างเยอะมาก เพราะต้องมองว่าธุรกิจแฟรนไชส์จริง ๆ มันมีในประเทศไทยมามาหลายปีแล้ว แต่การเริ่มต้นของเราไม่เหมือนกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ขึ้นห้าง ที่เป็นแบรนด์ระดับ Corperate มีเงินทุนค่อนข้างเยอะ พอถึงเวลาก็เอาเงินมาลงทำโครงสร้างได้เลย แต่คือของเราเริ่มจาก SME ก่อนเลย ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วครับว่ามันมักจะมีปัญหาเรื่องเงินทุน ทั้งโครงสร้าง ทั้งวิธีการในการบริหาร แต่กว่าเราจะผ่านจุดนั้นมาได้เราใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จากพนักงานทำงานในออฟฟิศประมาณ 2-3 คน มีค่าใช้จ่ายประจำประมาณหลักหมื่นต่อเดือน ตอนนี้เรามีพนักงานประมาณ 60-70 คน ค่าใช้จ่ายประจำเดือนเดือนละ 2 ล้าน เราสามารถเปลี่ยนผ่านจากจุดที่เป็น SME มาเป็นสตาร์ทอัพได้เต็มตัวแล้ว จุดยากก็คือทำยังไงให้การเติบโตของเรานั้นมีค่า Franchise Fee ไหลเข้ามา ให้มันสัมพันธ์กับการเติบโตของ Operation ของบริษัทเรา อันนี้คือจุดยากที่ผมเรียกว่า Franchise ส่วนมากไปต่อไม่ได้ในระยะเวลา 1-2 ปี เพราะว่ารักษา Momentum ตรงนี้ไม่ได้ แต่ของเราก็ขยายจาก 3 สาขาในปีโควิด จนถึงวันนี้เรามีประมาณ 50 กว่าสาขาแล้ว แบรนด์อื่น ๆ ตอนนี้ก็มีประมาณ10 แบรนด์แล้วครับ ก็ถือว่าเป็นจุดที่น่าจะไปต่อได้ครับ

จุดเปลี่ยนในการหันมาใช้ระบบ FoodStory POS

ย้อนไปเมื่อ 6 ปีที่แล้วผมยังใช้บิลมืออยู่เลยครับ ซึ่งตอนนั้นเราไม่เคยได้ใช้อะไรอย่างอื่น เราก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรดีหรือไม่ดี ซึ่งตอนนั้นร้านผมมียอดขายอยู่ประมาณ 300,000 – 400,000 บาท เปิดเป็นร้านเล็ก ๆ ในจังหวัดราชบุรี แต่พอมันมีโปรเจคที่ผมต้องมาทำที่กรุงเทพฯ ขนาดมันก็คือคูณ 3 เลย จากประมาณ 30 – 40 ที่นั่ง ก็คูณไปประมาณเกือบ 100 ที่นั่ง ซึ่งตอนนั้นผมก็ยังทนงตนว่าเราเจ๋ง ก็ยังใช้วิธีเขียนบิลมือก็อปปี้ส่งให้เชฟในครัว ยอดขายก็เพิ่มมาจากประมาณวันละ 2-3 หมื่นบาทขึ้นใปเป็นวันละ 120,000 ผมจำได้เลยว่าวันนั้นคือวันมหาวิปโยคสุด ๆ ครับ ทุกอย่างมั่วไปหมด ส่งบิลไปไหนเชฟก็งง ก็อปปี้ก็ไม่ได้ คือระบบมันแย่ไปหมด ตรงนั้นก็เลยเป็นจุดที่ต้องเริ่มใช้ระบบ POS ครั้งแรก

ซึ่งตอนนั้นระบบที่เราซื้อมามีราคาค่อนข้างถูก ทำให้ช่วงคนเยอะ ๆ ก็จะมีปัญหากดไม่ออกบ้าง เราก็จะไม่รู้ว่า Order สั่งได้หรือไม่ได้ จนพอเราเริ่มมีเงินทุนที่มากขึ้น เราต้องการแบรนด์ที่เรียกว่าค่อนข้างเสถียรมากขึ้น FoodStory ก็เลยเป็นตัวที่ตอบโจทย์ที่สุด คือต้องบอกว่า Foodstory ไม่ได้ของถูกนะครับ แต่ผมมองว่าเป็นของดี ทำให้ทุกสาขาเราใช้ FoodStory ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟังก์ชันที่ค่อนข้างซัพพอร์ตกับหน้าร้าน ตอบโจทย์ทั้งเรื่อง Manpower เรื่อง inventory เรื่อง Cost ต่าง ๆ เรื่องความเสถียรของระบบ สมมติว่าตอน 19:00 น ลูกค้านั่งเต็มร้านแต่ระบบ POS ของเราเจ๊งอยู่หน้าร้านเลย มันจะเกิดอะไรขึ้น จพทำยังไง ซึ่งอันนั้นสมับก่อนเราเจอมาหมดแล้ว แต่พอเป็น FoodStory ก็ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นนะครับ แต่เพียงโทรหาทีมซัพพอร์ตครั้งเดียว ปัญหาก็จบเลยครับ 

การจัดการวัตถุดิบที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่งจริงไหม?

เวลาทำเรื่องสต๊อกร้านอาหารส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำเรื่องการบริหารจัดการสต๊อกสักเท่าไหร่ ก็คือสิ้นเดือนมาสรุปยอดแค่ว่าฉันขายได้เท่าไหร่ ได้กำไรเท่าไหร่ ถือว่าโอเค แต่ผมมองว่าตัว Inventory มันช่วยได้เยอะเลย เช่น เราขายไป 15 วัน เราใช้สต๊อกไปเท่าไหร่แล้ว เป็นการเอามาบริหารจัดการกับยอดขาย สมมติผมมีแบรนด์ที่เป็นบุฟเฟ่ต์ด้วย ผมขายไป 15 วัน ยอดขายผม 1 ล้านบาท ในระบบ Inventory ผมก็เห็นเลยครับว่า วัตถุดิบที่ใช้ไปมันถูกแปลงกลับมาเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ผมก็จะดูเลยว่าโปรโมชั่นที่ผมปล่อยไปครึ่งเดือนมันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค แปลว่าอีก 15 วันผมมีเวลาในการปรับตัวว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีอยู่แล้วหรือว่า Food Cost มันสูงไป ซึ่งถ้าผมไม่มีระบบตรงนี้ผมไม่สามารถดูได้เลย ซึ่งระบบนี้ในช่วงสิ้นเดือนมันก็จะได้ใช้อีกรอบนึงก็คือเป็นการนับสต๊อกว่าที่ใช้ไปสต๊อกต้นงวด ถัดไปงวด ตรงนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือชั้นดีเลยครับที่ทำให้ผมสามารถรู้สุขภาพของร้านได้ว่าต้นทุนขายเท่าไหร่ จริง ๆ ยอดขายเท่าไหร่ มีกี่บิลกี่ประเภท มากน้อยเท่าไหร่อีกเดือนนึงเราก็จะรู้ว่าเราต้องใช้โปรโมชั่นตัวไหนในการเพิ่มประสิทธิภาพของร้านในเรื่องต่าง ๆ เรื่องยอดขาย เรื่องการลดต้นทุน เรื่องการเพิ่มกำไร ผมว่าเป็นคีย์แมนสำคัญเลยครับ 

Web Order ระบบสั่งอาหารที่ช่วยธุรกิจแฟรนไชส์

คือการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ของเรา เราเริ่มจากการที่มี Mission ว่าอยากจะมี 100-200 สาขาทั่วประเทศไทย หลังจากนั้นการทำให้แฟรนไชส์อยู่รอดได้ก็คือทำให้ยั่งยืนให้ได้ แต่จะยั่งยืนจากอะไร ก็คือว่าพอธุรกิจมันเป็น Red Ocean มันต้องใช้คำว่า Economy of Scales คือการที่เราที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ทำยังไงก็ได้ให้หน้าร้านมีความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจ Red Ocean ได้ดีกว่าคนอื่น ๆ อย่างเช่น ต้นทุนธุรกิจที่ต่ำลง ต้นทุนการบริหารจัดการพนักงานที่ถูกลง เวลาพนักงานออกเรามี support ให้ มีการเทรนนิ่งตลอดเวลา ซึ่งตัว Web Order ก็เป็นหนึ่งตัวที่ไปโยงกับข้อแรกที่ผมแจ้ง ก็คือเรื่องต้นทุนธุรกิจที่ต่ำลง ทีนี้ถ้าเขาสามารถเข้าถึงวัตถุดิบได้ค่อนข้างง่าย ก็คือเปิดเว็บสั่งได้เลย จำนวนสาขาจะอยู่รอดกับเราได้มากขึ้น เพราะว่าเขาได้ของที่ราคาถูกและตัว Web Order ตัวนี้ครับมันเป็นตัวที่ช่วยเรา จากสมัยก่อนเวลากดสั่งของต้องกดจาก LINE ต้องมาคอนเฟิร์มเพื่อไปออกเอกสารจาก Excel แล้วก็มาคอนเฟิร์มกลับนั่นนู่นนี่ แต่ที่ Web Order คือที่เดียวจบครับ โอนตังเสร็จ เงินเข้าระบบ กดตัดออเดอร์ส่งได้เลย เรียกว่า FoodStory เป็นคนที่ช่วยเรา Customize ตัว web Order ตัวนี้ขึ้นมาแล้วก็เปิด API ลิ้งก์กันกับระบบของเรา ก็ถือว่าช่วย support ได้ค่อนข้างเยอะมากเลยครับ 

คาดหวังการเติบโตในอนาคตในธุรกิจ Red Ocean ไว้อย่างไร?

ความคาดหวังของผมคืออยากให้ทั้งงานบริการแล้วก็คุณภาพอาหารนิ่งกว่านี้ในอนาคต เพราะตอนนี้พอเราเติบโตขยายสาขาค่อนข้างไว เรื่องของการบริการ เรื่องของอาหารอาจจะมีผิดพลาดบ้างในบางจุด ตอนนี้เราก็พยายามซัพพอร์ต เราพยายามจะมี Academy ในอนาคตที่จะเป็นศูนย์เป็นศูนย์ Training แล้วก็ฝึกสอนเชฟเลย แล้วก็อีกตัวนึงก็คือครัวกลางที่ตอนนี้เรากำลังทำควบคู่กันไปด้วยกันครับ เพราะว่าหน้าร้านเวลาเขาบริหารจัดการสมัยก่อนต้องใช้เชฟประมาณ 10-13 คนต่อ 1 ร้านที่ต้องเปิด แต่พอเราเริ่มทำวัตถุดิบจากครัวกลางไม่ว่าจะเป็นซอสโชยุ เป็นเทอริยากิ เป็นซาบะดอง เป็นไข่หวาน ที่สมัยก่อนต้องทำที่หน้าร้านทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาต้องใช้พนักงานที่มากขึ้น แล้วก็ต้องใช้แมนพาวเวอร์ในการที่ต้องไปทำอาหารหลายอย่าง ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมงมากในการทำ

เราเลยเล็งเห็นตรงจุดนี้ครับ ก็เลยยกเมนู Top 10 หรือ 20 ของสินค้าพวกนี้ครับมาทำที่ครัวกลางส่งไปให้เอง โดยราคาที่ส่งก็เป็นราคาที่ถ้าบวกแมนพาวเวอร์ บวกต้นทุนแล้วเท่ากับเขาทำเองเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือแมนพาวเวอร์หน้าร้านลดลงครับ  จากปกติใช้เชฟ 13 คน ในอนาคตต้องเหลือไม่ถึงครึ่งครับ แล้วรสชาติก็ค่อนข้างนิ่งมากขึ้น ฝั่งนี้ก็จะเป็นฝั่งที่ซัพพอร์ตทำให้รสชาติวัตถุดิบมั่นคงขึ้น หน้าร้านก็ได้ประโยชน์ แบรนด์ก็ได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งระบบครัวกลางนี้ผมมองว่าเป็น Key Success เลยครับ เพราะพอเราทำต้นทุนได้ถูก เราลดแมนพาวเวอร์หน้าร้านลงไปได้ ก็จะยิ่งเป็นข้อได้เปรียบของการต่อสู้ใน Red Ocean ของอาหารญี่ปุ่นครับ

FoodStory POS เพื่อนคู่ใจธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร

คือ FoodStory ผมถือว่าเป็นแบรนด์ใหญ่ครับ พอเป็นแบรนด์ใหญ่ระบบ support ก็จะค่อนข้างดี ระบบเสถียร ด้วยความที่ผมเป็น Master Franchise ไม่ใช่ร้านอาหารที่มี 1-2 สาขาที่ใช้แค่ POS แล้วก็จบ แต่ของเราพอเป็นระบบ Master Franchise มันต้องการการซัพพอร์ตในภาพใหญ่ ซึ่ง FoodStory ส่งคนที่คุยภาษาเดี่ยวกับเราเข้ามา แล้วเห็นความสำคัญของเรา จนช่วยพัฒนาทั้ง Web Order แล้วก็ Master Data ที่เราเป็นเจ้าของ ID ใหญ่ที่สามารถดูแลลูก ๆ ได้ มองเห็นยอดเรียลไทม์นั่นนู่นนี่ได้ ซึ่งผมก็เคยคุยเรื่องนี้กับแบรนด์อื่นนะครับที่ราคาถูกกว่านี้ แต่ผมมองว่าของถูกแต่ใช้งานไม่ได้มันก็เป็นของแพงอยู่ดี แต่กลับกันของแพงที่ใช้ได้ดี สำหรับผมคือคุ้มค่าแล้วครับ ปัจจุบันผมก็เลยมองว่า FoodStory น่าจะเป็นแบรนด์นึงที่ผมรู้สึก Happy เลยในทุกจุด แล้วก็จะใช้บริการต่อไปยาว ๆ แน่นอนครับ 

อยากฝากอะไรถึงคนที่อยากจะเข้ามาในวงการธุรกิจร้านอาหาร

“ถ้าคุณเกลียดใครให้เขามาทำธุรกิจอาหาร” อันนี้ผมยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงนะครับ อย่างที่บอกครับว่าธุรกิจอาหารมันไม่ใช่ธุรกิจที่มีเฉพาะความอยากอย่างเดียวแล้วมันจะ Success ได้ ผมบอกเลยว่าธุรกิจอาหารน่ะมันเข้ามาต้องใช้ทั้งความเข้าใจ ความรัก แล้วก็มันเป็นธุรกิจที่ค่อนข้าง Red Ocean แต่เพราะอาหารก็ยังเป็นปัจจัย 4 เค้กมันก็เลยก้อนค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นถ้าจะเข้ามาในธุรกิจอาหาร คุณต้องทำการบ้านหาข้อมูลแล้วก็รักมันจริง ๆ และอยากให้เต็มที่กับมัน 

สำหรับ Nigiwai Group ของเราแบ่งเป็น Nigiwai Sushi ที่มีบริการทั้งแบบ A la carte และ Buffet ซึ่งก็แยกเป็นทั้งชาบู ซูชิ บุฟเฟ่ต์ เป็นปิ้งย่างยากินิกุครับ อย่างแบรนด์เกาหลีเราก็มี แบรนด์เวียดนามอย่าง เฝอบาร์ เราก็มีเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย เรามี Durainlism คาเฟ่ทุเรียน 365 วัน ไม่มีวันหยุด เรามีทุเรียนให้ตลอดทั้งปี ตอนนี้ก็มีประมาณ 20 สาขาทั่วประเทศไทยแล้ว และเราก็ยังมีแบรนด์อื่น ๆ อีกเยอะมากเลยนะครับ ก็อยากให้ติดตามเข้ามาดูในเว็บไซต์ได้เลยว่าเรามี product ตัวไหนได้บ้าง หรือว่าใครอยากทำธุรกิจอาหาร แต่ไม่รู้จะเปิดอะไรดี อยากแบบได้เพื่อนคู่คิดเป็นที่ปรึกษา เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ที่อยากจะร่วมลงทุน ก็ด้วยลองติดต่อเราเข้ามาได้เลยครับ เรามีร้านอาหารที่ตอบโจทย์แน่นอน เริ่มตั้งแต่ 59,000 บาทไปจนถึง 30 ล้าน ถ้าใครที่เกษียณอายุแล้วไม่รู้จะทำอะไร อยากมีร้านอาหารของตัวเอง แต่ไม่อยากบริหารจัดการเอง ก็ลองติดต่อเข้ามาได้ เราตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้าเลยครับ


FoodStory POS การตั้งราคาอาหาร

FoodStory POS

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: คลิกที่นี่เลย!

โทร: 065-513-7744 กด 1