เตรียมพร้อม! 4 ไอเดียบุกตลาด ขายอาหารออนไลน์ หนทางสร้างรายได้นอกเหนือจากหน้าร้าน

ขายออนไลน์

เตรียมพร้อม! 4 ไอเดีย ขายอาหารออนไลน์
หนทางสร้างรายได้ที่นอกเหนือจากการขายหน้าร้าน

ลากยาวตั้งแต่ช่วงโควิดเริ่มจนถึงช่วงหลังโควิดแบบช่วงนี้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องทำการปรับตัวเป็นอย่างมากแน่นอนว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปยากจะหวนคืนก็คือพฤติกรรมผู้บริโภคของคนส่วนใหญ่ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถขายหน้าร้านได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องหันมาเรียนรู้การขายแบบ Delivery เพิ่มเข้ามา อย่างไรก็เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายอย่างต่อเนื่อง การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพร้อมรับมือกับพฤติกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ วันนี้ FoodStory จะพาทุกคนมาดูไอเดียใหม่ ๆ ในการบุกตลาด ขายอาหารออนไลน์ ไปด้วยกัน 

Continue reading

ยิ่งรู้ใจลูกค้า ยิ่งมัดใจลูกค้า ด้วย Customer Insight ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ที่จำเป็นกับร้านอาหาร

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

Customer Insight
ยิ่งรู้ใจลูกค้า ยิ่งมัดใจลูกค้า
ด้วย ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

การเป็นเจ้าของร้านอาหาร หรือทำธุรกิจใดใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะใช้เป็นกลยุทธ์เด็ด สำหรับใช้ในการมัดใจลูกค้า ที่อยากจะแนะนำในบทความนี้ ก็คือ การใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า มาช่วยให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า รวมไปถึงเข้ามาช่วยรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างกัน หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือ เวลาที่เราอยากได้ใจใคร เราก็ต้องรู้ใจคนนั้นก่อนว่าเขาชอบอะไรไม่ชอบอะไร จะได้เลือกทำแต่สิ่งที่เขาคนนั้นสนใจและชื่นชอบ เพื่อเป็นแต้มต่อในการทำคะแนนนั่นเอง ก็เหมือนกันกับเชิงธุรกิจ ยิ่งเรามี ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า มากเท่าไร ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า คืออะไร?

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า หรือ Customer Insight คือ ข้อมูลลูกค้าที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลทั่วไปพื้นฐาน หรือ ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ที่อยู่ ฯลฯ เท่านั้น แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ตีความมาแล้วระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลความสนใจ ข้อมูลด้านพฤติกรรม ความเชื่อ ทัศนคติ เพื่อจะได้เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง แล้วนำข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้มาใช้สำหรับวางแผนทางการตลาดให้กับธุรกิจต่อไป

องค์ประกอบของข้อมูลเชิงลึก มีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่

1.คุณภาพข้อมูล คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลตามดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพและองค์ประกอบที่กำหนดไว้

2.ทีมวิเคราะห์ คือ ทีมที่ทำหน้าที่เก็บ วิเคราะห์ และตีความข้อมูลของลูกค้า ว่ามีพฤติกรรมอย่างไรในปัจจุบันและรวมถึงในอนาคต นอกจากนี้ก็ช่วยในการสร้างต้นแบบที่เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าให้เห็นภาพที่ชัดเจน รวมไปถึงนำเสนอสรุปผลคำแนะนำที่เข้าใจง่ายให้กับร้านอาหารหรือธุรกิจนั้นๆว่าควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

3.การวิจัยลูกค้า คือ การเก็บข้อมูลจากลูกค้า โดยเป็นการวิจัยลักษณะ ความสนใจ พฤติกรรมของลูกค้า ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น

4.การทำการตลาดบนฐานข้อมูล คือ รูปแบบการตลาดทางตรงที่ใช้ฐานข้อมูลของลูกค้าเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด หรือการทำคอนเทนต์

วิธีเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อใช้มัดใจลูกค้า

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

1.เก็บข้อมูลว่าลูกค้าหาอะไรบนโลกออนไลน์ เป็นการดึงเอาข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ ว่าผู้คนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจและชื่นชอบอะไร โดยใช้เครื่องมือที่ปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย อย่าง Google Trends ใช้สำหรับค้นหาสิ่งที่คนนิยม Search กันบน Google

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

2.สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่การตั้งคำถามแบบ Q&A ปกติแต่จะเป็นการให้ลูกค้าบอกเล่าเรื่องราวแบบเป็นอิสระในขอบเขตของสิ่งที่เราต้องการรู้ และการตอบคำถามปลายเปิด ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาทีในแต่ละครั้ง ประมาณ 5-10 คน จะช่วยให้วิเคราะห์ความรู้สึกได้อย่างตรงจุุด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข

ข้อมูลเชิงลึก

3.ดึงข้อมูลจาก Social Media ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน ก็จะมีข้อมูลและสถิติต่างๆของผู้ติดตามของ Fanpage ได้จากการดูว่าสื่อโฆษณาตัวไหนที่ได้รรับความสนใจมากๆ กดไลก์กดแชร์ มีการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม เป็นต้น

ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

4.เก็บ Feedback ลูกค้า โดยการสร้างแบบฟอร์มเพื่อเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากลูกค้า เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยให้รู้ถึงความรู้สึกและความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยวิธีการส่ง SMS ส่งผ่านอีเมล เป็นต้น

FoodStory CRM ข้อมูลเชิงลึก

5.สอบถามข้อมูลจากฝ่ายบริการหลังการขาย เนื่องจากเป็นฝ่ายที่มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอยู่เสมอ ทำให้มักเป็นผู้ที่ใกล้ชิดได้รับฟังความคิดเห็นจากลูกค้ามากที่สุด จึงมีความเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี สิ่งที่ได้จากฝ่ายบริการหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นคำติหรือคำชมก็สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือต่อยอดกับร้านอาหารเราหรือธุรกิจได้เป็นอย่างดี

จะดีกว่าไหม ถ้ามีตัวช่วยในการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าแต่ละคน

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทุกภาคส่วน รวมถึงร้านอาหารอย่างเราๆด้วย ช่วยเข้ามาทุ่นแรงในการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ด้วย FoodStory CRM ที่เป็นระบบจัดการสมาชิก สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ช่วยในการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าที่ทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น พร้อมกับการนำเสนอสิ่งที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างความยั่งยืนให้กับร้านอาหาร

Customer Insight FoodStory CRM

ประโยชน์ที่ได้จาก FoodStory CRM

1.ทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่แค่รู้เพียงข้อมูลทั่วไป อย่าง ชื่อ เบอร์ อีเมล แต่ยังสามารถเข้าใจพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้ เช่น ลูกค้าชอบสั่งเมนูอะไรบ่อยๆ? ชอบสั่งกินที่ร้านหรือห่อกลับบ้าน? 

2.ช่วยในการเพิ่มยอดขายต่อบิลได้ โดยการนำข้อมูลความชอบที่มีของลูกค้ามาวิเคราะห์จนรู้ใจ จึงสามารถแนะนำโปรโมชันที่เหมาะสม และโดนใจ จนสามารถเพิ่มยอดขายให้กับยอดบิลนั้นๆได้ไม่ยาก

3.สร้างกลยุทธ์การตลาดให้ร้านอาหาร โดยการนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อปรับกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย จัดทำโปรโมชันที่ตรงกลุ่มโดยเฉพาะ และสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

จะเห็นได้ว่า การที่เรารู้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าผ่าน FoodStory POS มากเท่าไรยิ่งดี ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการทำให้เจ้าของร้านอาหารรู้ใจลูกค้า จนสามารถมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด แถมปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้การเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าทำได้ง่ายขึ้นให้เลือกใช้กับธุรกิจร้านอาหารของเรา รับรองได้ว่าการจะพิชิตใจลูกค้าให้มาภักดีกับร้านเราทำได้ไม่ยากแน่นอน

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

หากสนใจรับข้อมูลข่าวสารโปรโมชั่น สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ ……. 

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/FB_APR_13

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

วิธีบริหารร้านอาหาร ทำยังไงให้ปัง? โดยไม่ต้องเข้าร้านทุกวันก็ได้

วิธีบริหารร้านอาหาร

วิธีบริหารร้านอาหาร
ทำยังไงให้ปัง? โดยไม่ต้องเข้าร้านทุกวันก็ได้

มีใครเป็นเจ้าของร้านอาหาร แล้วมีความรู้สึกว่าเหนื่อยจัง ที่ต้องเข้าร้านทุกวัน แค่มีร้านเดียวยังเหนื่อยขนาดนี้ แล้วบางคนมีหลายร้าน เขาจะจัดการยังไง จำเป็นต้องเข้าร้านทุกวันไหม ถ้าไม่เข้าไปดูแลร้านเอง จะมี วิธีบริหารร้านอาหาร แบบไหนบ้างให้ยังปัง และเติบโตไปได้ด้วยดีกับ FoodStory POS

“แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้ามีตัวช่วย ให้เจ้าของร้านสามารถจัดการทุกอย่าง ผ่านช่องทางออนไลน์ จะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเข้าร้านเป็นประจำก็ได้”

ความสำคัญของการบริหารจัดการร้านอาหาร

ปัจจุบันมีร้านอาหารเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง การที่จะสามารถเป็นร้านอาหารที่ครองใจคน และสามารถเติบโตได้ดี นอกจากทำเลที่ตั้งสะดวกสบาย ตกแต่งสวยงาม มั่นใจในรสชาติอาหารว่าเป็นเลิศ วัตถุดิบคัดสรรมาอย่างดี มีคอนเซ็ปต์ร้านชัดเจนแล้ว การให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารของเราอยู่ไม่น้อย โดยเทคนิคที่จะแนะนำสำหรับการบริหารร้านอาหารมีด้วยกันดังนี้ 

FoodStory POS

1.รู้ภาพรวมรายละเอียดของงานร้านอาหาร

ขั้นแรกของการบริหารงานร้านอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้เนื้องานภาพรวมทั้งหมดว่าต้องมีอะไรบ้าง ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร เช่น การเปิดร้าน-ปิดร้าน ทำความสะอาดก่อนและหลังเปิด-ปิดร้าน การจัดเตรียมโต๊ะ การเตรียมวัตถุดิบ การสั่งวัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องใช้ เป็นต้น เมื่อรู้ถึงปริมาณงานแล้วก็จะได้จัดการบริหารในแต่ละส่วนให้เหมาะสมลงตัวที่สุด นอกจากนี้ก็เพื่อจะได้เข้าใจถึงความรู้สึกของพนักงานทุกคน ว่าต้องรับผิดชอบงานมากแค่ไหน อาจจะพบเจอกับปัญหาอะไรได้บ้าง เพื่อจะได้นำมาบริหารร้าน รวมไปถึงคิดแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

FoodStory POS

2.จัดสรรพนักงานให้เหมาะสม

การเปิดร้านอาหารเป็นงานที่ค่อนข้างหนักพอตัว เนื่องจากมีหลายส่วนที่ต้องดูแล ทำให้ต้องมีพนักงานคอยช่วยแบ่งเบาภาระตามหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น พ่อครัวหรือแม่ครัว พนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ เป็นต้น โดยต้องมีการบริหารจัดการกับทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างราบรื่น เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน การดึงเอาความสามารถที่โดดเด่นของแต่ละคนออกมา แล้วบริหารจัดการใช้ให้ถูกกับตำแหน่งงานที่ต้องรับผิดชอบที่สุด เพื่อความสุขของตัวพนักงานเอง และประโยชน์ต่อธุรกิจร้านอาหารเองด้วย

FoodStory POS

3.คุมมาตรฐานของรสชาติ

การทำร้านอาหารจำเป็นที่จะต้องมีค่ามาตรฐานรสชาติประจำร้าน โดยอาหารนอกจากจะต้องสะอาดแล้ว รสชาติอร่อยสม่ำเสมอเหมือนกันทุกวัน ซึ่งในส่วนนี้จะต้องทำการบริหารสูตรกับพ่อครัวหรือแม่ครัว ให้คงรสชาติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันอยู่เสมอ

วิธีบริหารร้านอาหาร

4.คำนึงถึงความสะอาด

นอกจากความสะอาดของอาหารแล้ว ความสะอาดของสถานที่ ความสะอาดของอุปกรณ์ หรือแม้แต่ความสะอาดเรียบร้อยของพนักงาน อย่างการแต่งตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่มีต่อการตัดสินใจมาใช้บริการครั้งถัดไปของลูกค้าได้

5.สำรวจและเก็บสถิติของลูกค้าเสมอ

หากอยากจะมัดใจลูกค้า ที่มาใช้บริการร้านอาหารของเรา สิ่งสำคัญคือการทำความรู้จักและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยการสำรวจว่ากลุ่มลูกค้าที่มาเป็นคนกลุ่มไหน อายุเท่าไร อาหารที่นิยมสั่งคือเมนูใด ช่วงเวลาใช้บริการคือช่วงวันและเวลาไหน  เพื่อนำสถิติที่ได้มาบริหารวางแผนเมนู หรือการบริหารให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่สุด จะได้เป็นการพัฒนาร้านอาหารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาซึ่งยอดขาย และกำไรนั่นเอง

วิธีบริหารร้านอาหาร

6.จัดการงบประมาณ

การทำบันทึกรายรับรายจ่าย ว่าคำนวณต้นทุนร้าน เมื่อหักลบกับยอดขายแล้ว ได้กำไรหรือขาดทุน เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะได้รู้ถึงค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะได้นำมาบริหารจัดการให้ได้กำไรมากขึ้น หรือนำมาควบคุม ปรับลดบางส่วนหากขาดทุน

วิธีบริหารร้านอาหาร

7.เปิดรับฟังผลตอบรับจากลูกค้า

การมีช่องทางสำหรับรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเมื่อได้มาใช้บริหารร้านอาหารของเรา ว่ามีส่วนไหนที่ดีและส่วนไหนที่ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จะเป็นการช่วยให้ร้านอาหารของเราพัฒนาได้ตรงจุดที่สุด

วิธีบริหารร้านอาหาร

8.ทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์

เครื่องมือที่เป็นช่องทางในการช่วยโปรโมทร้านให้เป็นที่รู้จักได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด คงจะหนีไม่พ้นสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Tiktok หรือ LINE Official Account โดยต้องหมั่นทำคอนเทนต์เพื่ออัปเดต รายงานความเคลื่อนไหวของแต่ละช่องทางอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถช่วยดึงดูดให้ลูกค้าพบเห็นและรู้จักร้านอาหารของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

จะดีกว่ามั้ยถ้าเจ้าของร้านอาหารไม่ต้องเข้าร้านเอง และยังสามารถจัดการภายในร้านได้อย่างครบครัน ผ่านข่องทางออนไลน์ ด้วยระบบ Web Owner จาก FoodStory POS

นอกจากวิธีการบริหารจัดการร้านอาหารตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การจะทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จมีกำไรต้องใช้ความตั้งใจและการวางแผนที่ดี โดยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาและการติดตามผล ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามาทุ่นเวลาและลดต้นทุน มีส่วนช่วยให้การบริหารร้านอาหารของเราให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าไปที่ร้านก็สามารถทำดำเนินการได้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จะได้นำเอาเวลาและงบประมาณที่เหลือไปวางแผนพัฒนาและต่อยอดธุรกิจต่อไปได้อีก

ตัวอย่างเช่น Features ของ FoodStory POS ที่เรียกว่า Web Owner ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลของร้านอาหารจากที่ไหนก็ได้ โดยร้านอาหารที่ใช้เครื่อง POS ของ FoodStory ก็สามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายๆผ่าน Website ได้เลย ซึ่งขอยกตัวอย่างฟีเจอร์เด่นๆ ดังนี้ 

วิธีบริหารร้านอาหาร

1.Realtime Report สามารถดูรายงานยอดขายได้ทุกที่ทุกเวลา

2. CRM Management จัดการระบบสมาชิกได้อย่างครบครัน เช่น

  • ดูและจัดการข้อมูลสมาชิก
  • สร้าง แก้ไข โปรโมชั่น
  • จัด กลุ่มลูกค้า Customer Tag เพื่อนำไปทำการตลาดเฉพาะกลุ่มได้อย่างง่ายดาย
  • ทำโปรโมชั่นผ่าน การBroadcast ผ่านช่องทาง Line OA 
  • ตั้งค่าการสะสมคะแนนได้
  • เลือกเปิด / ปิด เฉพาะสาขาได้
  • เชื่อมต่อ Line OA อัตโนมัติ เพื่อให้ลูกค้า รับโปรโมชั่น เช็คคะแนน สะสม แลกแต้ม ได้ง่ายขึ้น

3. Online Order Management ระบบจัดการร้านอาหารออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถเปิดร้านขายอาหารได้ เชื่อมต่อกับ Delivery สะดวกในที่เดียว

  • สามารถขายอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน
  • เชื่อมต่อและทำการตลาดออนไลน์บน Facebook, Instagram. และ Line ของร้านอาหาร
  • สามารถปรับเปลี่ยน เปิด-ปิด เมนูที่ต้องการขายออนไลน์ได้ง่ายๆ
  • แจ้งเตือน และติดตามออเดอร์ผ่านทางแอพพลิเคชัน Line ไม่เก็บค่า GP เพิ่ม
  • ลูกค้าสามารถสั่งแบบ Delivery และ Pick up (รับหน้าร้าน) รวมไปถึงสั่งล่วงหน้าได้
  • เชื่อมต่อการชำระเงินแบบ QR Payment และบัตรเครดิต หรือ เดบิต

4. Restaurant Management จัดการภาพรวมร้านอาหารได้ในที่เดียว เช่น

  • เพิ่มพนักงาน
  • สิทธิ์การทำงานพนักงาน
  • Menu Management (สร้างกลุ่มหมวดหมู่, สร้าง/แก้ไขเมนู, รายการตัวเลือก, Promotion)

5. Inventory On Web 

  • จัดการสินค้าคงคลัง 
  • เปิดใบ PR, PO, GR 
  • ผูกสูตรอาหารเพื่อตัดสต้อกอาหารอัตโนมัติ
  • เช็คสต็อกคงเหลือ
  • โอนวัตถุดิบข้ามสาขา
  • การตัดของเสียหาย
  • รายงานตรวจสอบวัตถุดิบ

6. Restaurant Info จัดการข้อมูลร้านอาหารได้อย่างละเอียด

7. Sale Chanel เพิ่ม ลด ช่องทางการขาย และตั้งค่าGP แต่ละช่องทางได้ด้วยตัวเอง

8. Master Data จัดการข้อมูลหลายสาขา เพื่อสามารถจัดการข้อมูลทุกสาขาได้ในครั้งเดียว เช่น เพิ่มเมนู แก้ไขราคา เปิดปิดเมนู หรือดูยอดขายทุกสาขาพร้อมๆกันได้

9. Integrate Flow Account เชื่อมต่อระบบบัญชี Flow account ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งตรงโดยอัตโนมัติ

  • Full Tax Invoice
  • ยอดสรุป Total Sale เมื่อมีการปิดรอบการขายสิ้นวัน
  • Paid Out เข้า flow account ตอนปิดรอบการขายสิ้นวัน
  • ข้อมูลใบ GR 

        – เข้าเฉพาะ Status GR เป็น Complete เท่านั้น!!

        – หากมีการกดรับแบบ Partial ข้อมูลจะเข้า flow account เมื่อรายการทั้งหมด complete

         หมายเหตุ :

  • Flow account – Classic เปิด PR, PO โดยไม่ต้องเลือก supplier หรือ เลือก supplier ก็ได้ค่ะ เมื่อกดรับ GR จะมีข้อมูลใบ GR เข้า Flow account
  • Flow account – Advance จะต้องเปิด PR, PO โดยต้องเลือก supplier เท่านั้น เมื่อมีการกดรับ GR ถึงจะข้อมูล GR เข้า flow account

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเทคนิคการบริหารร้านอาหารให้เติบโต โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้าร้านทุกวัน ถือได้ว่าตอบโจทย์คนที่มีธุรกิจหลายธุรกิจที่ต้องดูแล หวังว่าเทคนิคที่ให้ไปจะช่วยเป็นแนวทางให้เจ้าของร้านอาหารได้นำไปปฏิบัติและทำให้ธุรกิจปังๆกันทุกร้านเลย

FoodStory POS ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี:  https://link.foodstory.co/APR-Content11

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ลูกค้าเยอะขนาดไหนก็ไม่มีพลาด แค่มี FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน!

จดออเดอร์

ลูกค้าเยอะแค่ไหน ก็รับออเดอร์ได้หมดไม่มีพลาด
ด้วย FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

‘จำไม่หมด จดไม่แม่น ใช้ FoodStory Staff ดีกว่าจ้า’ แล้วถ้าร้านอาหารที่ยังไม่มีตัวช่วยแบบ FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงานล่ะ จะทำอย่างไรให้ไม่พลาดและส่งออเดอร์ให้ส่วนครัวเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าเร็วทันใจ FoodStory มีเทคนิคดี ๆ สำหรับร้านค้าและพนักงานรับออเดอร์มาฝากรับรองว่า ลูกค้าเยอะขนาดไหนก็จดออเดอร์ไม่พลาด

จดออเดอร์

1) เพิ่มจำนวนพนักงานให้มากเพียงพอกับการบริการ

จะรองรับลูกค้าจำนวนมากได้ ไม่ใช่แค่ต้องเตรียมที่นั่งหรือขนาดร้านให้เหมาะกับความต้องการ แต่ต้องเตรียมเพิ่มจำนวนพนักงาน ให้มากพอที่จะให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงด้วย โดยเฉพาะพนักงานรับออเดอร์อาหาร (ที่อาจรับหน้าที่ช่วยเสิร์ฟอาหารในตัว) อย่างน้อยพนักงาน 1 คนควรรับออเดอร์ ดูแลลูกค้า เติมน้ำ เสิร์ฟ เช็คออเดอร์ จัดการปัญหาเฉพาะหน้าของลูกค้าได้ 4-6 โต๊ะ หรือหาตัวช่วยพนักงานรับออเดอร์ เช่น FoodStory Staff เป็นต้น ก็จะช่วยให้อะไรง่ายขึ้นได้โดยไม่ต้องจ้างคนเเพิ่ม!

FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

2) ใช้ตัวช่วยดี ๆ อย่าง FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดสำหรับร้านอาหารในยุคนี้ที่ไม่เพียงแค่รับออเดอร์จำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่ยังแม่นยำ ไม่ผิดพลาด และเสริมภาพลักษณ์ให้ร้านดูทันสมัยน่าเชื่อถือก็คือ แอป FoodStory Staff เพราะการจดออเดอร์ลงบนกระดาษแบบที่ผ่านมาสร้างความยุ่งยากให้พนักงานไม่น้อย แถมกว่าจะดึงข้อมูลเข้าฐานระบบสมาชิก CRM เพื่อนำไปต่อยอดวิเคราะห์ทำแผนกระตุ้นยอดขาย ก็กลายเป็นว่าเพิ่มภาระหน้าที่ให้พนักงานต้องทำงานเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
แอป FoodStory Staff สามารถให้พนักงานรับออเดอร์ง่าย ๆ จากลูกค้าได้ผ่านสมาร์ทโฟน เริ่มตั้งแต่การเปิดโต๊ะอาหารที่ว่างอยู่ รับออเดอร์ ตรวจสอบรายการอาหาร เช็คบิล ไปจนถึงดึงตรงสู่รายงานการวิเคราะห์ยอดขาย เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการบริการ เลยเป็นคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับร้านอาหารทุกรูปแบบในยุคนี้

FoodStory Staff แอปรับออเดอร์

3 เหตุผลที่ควรใช้ FoodStory Staff แอปรับออเดอร์ ในร้านอาหารของคุณ

จากที่ FoodStory ยกตัวอย่างตัวช่วยจดออเดอร์ให้ไม่พลาด และยังรวดเร็วทันใจจะเห็นว่า มีวิธีและตัวช่วยให้เลือกเยอะมาก แต่ทำไมเราและลูกค้าที่เป็นร้านอาหารชั้นนำถึงยกให้การใช้ แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงานเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการรับอเดอร์ เดี๋ยวเราจะมาบอกตัวอย่าง 3 เหตุผลนี้กัน

จดออเดอร์

1) ฟังก์ชันการใช้งาน ของ FoodStory Staff ครบครัน

ขณะที่การรับออเดอร์ด้วยวิธีอื่นจะทำได้แค่เพียงการจดเมนูอาหารที่ลูกค้าสั่ง แต่การใช้งาน FoodStory Staff พนักงานสามารถใช้ฟังก์ชันการดูแลลูกค้าได้แบบครบครัน เช่น 

  • รับออเดอร์เองได้ : ไม่ต้องเสียเวลานั่งจดทีละตัวอักษร เพราะสามารถตั้งค่าตัวเลือกเมนูอาหารให้พร้อม เพียงแค่คลิกตัวเลือกแล้วใส่จำนวนตามที่ลูกค้าสั่งก็เรียบร้อย
  • เปิดโต๊ะว่างได้อย่างรวดเร็ว : หมดปัญหาการไม่รู้ตำแหน่งและจำนวนโต๊ะที่ว่าง จนต้องมากวาดตามองหาหลังรับลูกค้า เพียงแค่เปิดดูในแอป FoodStory Staff ก็แนะนำโต๊ะอาหารกำลังว่างอยู่ในมุมที่ลูกค้าต้องการได้ทันที
  • คีย์เมนูอาหารตามที่ลูกค้าสั่งได้ : กรณีที่เป็นออเดอร์พิเศษหรือต้องการสั่งเงื่อนไขในอาหารเพิ่มเติมนอกจากที่ร้านกำหนดไว้ตามปกติ พนักงานรับออเดอร์สามารถคีย์ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ลูกค้าสั่งได้ทันที
  • สถานะอาหารขึ้นชัดเจน : ติดตามสถานะของอาหารได้ว่า กำลังทำอยู่ หรือเสิร์ฟแล้วได้ผ่าน FoodStory Staff ได้เช่นกัน
แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

2) ประหยัดพนักงาน และภาระการทำงานลง

สำหรับร้านที่มีพื้นที่และต้นทุนจำกัด ที่ต้องการลดจำนวนพนักงานให้อยู่ในขอบข่ายที่เหมาะสม FoodStory Staff สามารถช่วยลดความยุ่งยาก และภาระการทำงานให้สามารถรับออเดอร์แต่ละโต๊ะได้อย่างรวดเร็วทันใจ ภายในไม่กี่นาทีก็เรียบร้อย

แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน

3) ลดโอกาสจดออเดอร์ผิดพลาด หรือตกหล่น

บ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นว่า พอลูกค้าเยอะ แต่พนักงานน้อย ก็จะเกิดปัญหาจดออเดอร์ผิดพลาด แต่สำหรับร้านที่ใช้เครื่องมือแบบ FoodStory Staff สามารถเทียบความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยว่า สามารถลดโอกาสจดออเดอร์ผิดพลาดได้ง่าย ปิดจบทุกปัญหาที่เคยเกิดกับการจดบนกระดาษรูปแบบเดิมได้ 100% เลยทีเดียว

แอปรับออเดอร์ ผ่านมือถือพนักงาน FoodStory Staff

นอกจากนี้ FoodStory Staff ยังเชื่อมต่อการทำงานไปยังระบบ FoodStory POS ได้โดยตรง เพิ่มความสะดวกสบายแก่ทางร้านอาหาร ให้สามารถเก็บข้อมูลรายรับรายและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสมแบบ Real Time ทันที ทุกที่ ทุกเวลา หมดปัญหาจดพลาด จดไม่ครบ ลดภาระการทำงานหลายขั้นตอนไปได้เลย สำหรับท่านใดที่สนใจ ‘ ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS ’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ พร้อมวางระบบ FoodStory Staff สามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี 30 วัน คลิกที่ด้านล่างนี้ได้เลย!

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content06

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ไขคำตอบ! 5 เหตุผลที่ร้านอาหารควรมี CRM ระบบสมาชิกร้านอาหาร

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

ไขคำตอบ! 5 เหตุผลที่ร้านอาหารควรมี CRM
ระบบสมาชิกร้านอาหาร

เคยสงสัยไหม? เมื่อเราแวะเข้าไปใช้บริการร้านดังในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ (ไม่ว่าจะร้านอาหารอะไรก็ตาม) หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยสาขาประจำก็ยังมีระบบสมาชิก แล้วร้านอาหารทั่วไปล่ะ จำเป็นต้องมี ระบบสมาชิกร้านอาหาร หรือ CRM ไหม มาร่วมไขคำตอบไปพร้อมกับ FoodStory ได้ในบทความนี้

ระบบสมาชิก สะสมแต้มร้านอาหาร

ปัญหาดั้งเดิมของร้านอาหารที่ 'ไม่มี' ระบบสมาชิกร้านอาหาร CRM

ร้านอาหารที่เปิดหน้าร้านให้ขาจรแวะเข้าร้านอาจมองภาพ CRM ไม่ออกว่าจำเป็นอย่างไร แต่รู้หรือไม่สมัยก่อนร้านอาหารก็มีการทำระบบสมาชิกแบบที่หลายคนไม่รู้ตัว เพียงแค่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นรูปแบบการจดจำด้วยความทรงจำของตัวเอง ไม่เชื่อลองนึกถึงร้านอาหารร้านโปรดแถวย่านที่ตัวเองพัก พร้อมประโยคที่คุณป้าร้านข้าวสนทนากับคุณบ่อยๆ “วันนี้กินอะไรดีลูก” “แบบเดิมใช่ไหม” ไม่ต้องกรอกข้อมูล แต่มีการจดจำสมาชิกเจ้าประจำของร้านค้าไปในตัว แต่ปัญหาที่มักพบบ่อยก็คือ

1) คาดหวังกับลูกค้าเจ้าประจำมากเกินไป แม้ร้านของคุณจะเป็นร้านอาหารตามสั่งอร่อยไม่ซ้ำมีนับร้อยเมนูก็ต้องมีวันที่ลูกค้าอยากลองร้านใหม่บ้าง เสี่ยงต่อความสม่ำเสมอในการหารายได้

2) ไม่มีข้อมูลลูกค้าที่เคยแวะมาลอง แต่ไม่ใช่ลูกค้าประจำ ยากต่อการวางแผนกระตุ้นยอดขาย สำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าไม่ประจำ

3) ขาดกิจกรรมส่งเสริมการขายและแผนการสื่อสารอย่างมีคุณภาพไปถึงลูกค้า เพื่อเสริมสร้าง Loyalty กับร้านอาหารของคุณ

5 เหตุผลทื่ทุกร้านอาหารควรมีระบบสมาชิก CRM

ถึงแม้ว่า ระบบสมาชิก CRM จะดูยุ่งยากขึ้นเล็กน้อยในสายตาของพนักงานและลูกค้าขาจรที่นิยมแวะร้านใหม่เข้าร้านแล้วสั่งจ่ายตังค์แล้วเดินออกก็ตาม แต่ระบบ CRM มีความจำเป็นที่มากกว่าจนมองข้ามเรื่องเสียเวลาเพียง 1 นาทีในการกรอกข้อมูลลูกค้าเข้าระบบสมาชิกไปได้เลย

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

1) กระตุ้นยอดขายได้มากขึ้น

การทำระบบสมาชิก CRM สามารถเพิ่มการใช้จ่ายของลูกค้า และเสริมการรักษา Loyalty ของลูกค้าอย่างน้อย 5% รวมถึงมีแนวโน้มกระตุ้นยอดขายจากทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้มากขึ้น จากการใช้ข้อมูลในฐานระบบสมาชิก CRM ร่วมกับการทำกิจกรรมเสริมการขาย เช่น ของฟรีหรือบัตรของขวัญหลังจากที่ลูกค้าทำการซื้อตามจำนวนที่กำหนดไว้ หรือให้สิทธิพิเศษในช่วงวันพิเศษของลูกค้าให้พวกเขารู้สึกว่า การเก็บข้อมูลของคุณทำ เพราะประโยชน์ของพวกเขา เป็นต้น

2) ระบบสมาชิก CRM ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนแบบอื่น

ขณะที่การลงทุน เพื่อกระตุ้นยอดขายแผนอื่นกลับต้องใช้ทุนหรือแรงคนสูงกลับได้ผลตอบแทนไม่มาก แต่ระบบสมาชิก CRM สามารถใช้งบประมาณต่ำกว่า แต่ได้รับผลตอบแทนและใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบไปต่อยอดได้มากกว่า รวมถึงมีแนวโน้มที่ลูกค้าจะใช้งานระบบเหล่านี้มากกว่าแผนการตลาดรูปแบบอื่น ยินดีในการรับข้อมูลข่าวสารจากทางแบรนด์หรือร้านอาหารมากขึ้นด้วย

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

3) เข้าถึงข้อมูลสำคัญของลูกค้าด้วยความยินดี

อย่ามองว่า สิ่งที่มีค่าจากลูกค้ามีแค่เม็ดเงินที่ได้จากยอดขาย แต่เป็นความเชื่อใจและยินยอมให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะต่อยอดในการสร้างความภักดีแก่ธุรกิจของคุณได้ในระยะยาว หากย้อนกลับไปในอดีตร้านค้าต่างๆ ต้องใช้การคาเดาเยอะมาก เพื่อให้รู้ใจลูกค้า เช่น การวิเคราะห์ใบเสร็จรับเงิน และการพูดคุยกับแขก เป็นต้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าอย่างในปัจจุบันที่รวบรวมมากกว่ารายชื่อลูกค้า หรือรายรับรายจ่าย โดยระบบ CRM สามารถนำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อหาสิ่งที่พวกเขาสนใจและมีแนวโน้มจะกระตุ้นยอดขายได้แบบรายบุคคล โดยไม่ทำให้พวกเขารู้สึกยัดเยียดแม้แต่น้อย

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

4) จัดกลุ่มลูกค้าได้เป็นระเบียบและเลือกแผนที่ดีที่สุดให้เหมาะกับพวกเขาได้

การรองรับลูกค้าทุกกลุ่มมีความสำคัญเสมอ แต่คุณและร้านของคุณควรรู้ว่า ลูกค้าท่านไหนอยู่ในกลุ่มลูกค้าขาจร ลูกค้าเจ้าประจำ หรือลูกค้าระดับสูง เพื่อพิจารณาออกแบบการใช้แคมเปญการตลาดให้เหมาะสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ หรือตรวจสอบจนคุณสามารถมั่นใจได้ว่าการบริการลูกค้านั้นยอดเยี่ยมเมื่อลูกค้าเหล่านี้แวะเข้ามาอุดหนุนทานอาหารภายในร้านของคุณ เพราะงั้นระบบสมาชิก CRM ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนจัดกลุ่มและเลือกแผนการตลาดรายบุคคลเลยเป็นสิ่งจำเป็นมาก

ระบบ CRM สมาชิกสะสมแต้มร้านอาหาร

5) สื่อสารได้โดยตรงอย่างมั่นใจ

เชื่อเลยว่า การสื่อสารระหว่างร้านอาหารกับลูกค้า แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็สร้างความลำบากใจให้ฝั่งทางร้านอาหารไม่น้อย เพราะบ่อยครั้งที่การสื่อสาร เพื่อการตลาดของแบรนด์สร้างความรำคาญหรือไปรบกวนลูกค้า โดยไม่ได้เจตนา แต่ข้อมูลจากระบบสมาชิก CRM นี่ล่ะที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า การสื่อสารแบบไหนหรือแผนการตลาดแบบใดที่ลูกค้าถูกใจและมีแนวโน้มจะตอบรับแผนการตลาดเหล่านั้นมากที่สุด โดยไม่ทำให้พวกเขาต้องรู้สึกเหมือนถูกรบกวนเลย แถมประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดหรือการสื่อสารที่สิ้นเปลืองด้วย

หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยที่สามารถเพิ่มยอดขายและกำไรได้ในระยะยาว พร้อมเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้มาเป็นลูกค้าประจำและเพิ่ม Loyalty ให้ลูกค้าประจำรักร้านอาหารของคุณแบบถาวร ขอแนะนำ ‘ตัวช่วยระบบจัดการสมาชิก CRM ที่รู้ใจร้านอาหารภายใต้ FoodStory POS’ ซึ่งเป็นตัวช่วยที่สามารถจัดการสมาชิกได้ง่ายมาก เพราะระบบ FoodStory CRM เชื่อมต่อเข้ากับ FoodStory POS โดยตรง จึงทำให้ข้อมูลของลูกค้าทุกคนถูกจัดเก็บเป็นอย่างดี และง่ายต่อการดูรายงานและประเมิณโปรโมชั่น จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์

ที่สำคัญ ระบบ FoodStory CRM ใช้งานง่ายมากๆ ไม่ทำให้ลูกค้าต้องรู้สึกถึงความยุ่งยากแน่นอน เพราะในขั้นแรกของการสมัครสมาชิก พนักงานที่ร้านสามารถมอบ QR Code ให้ลูกค้าสมัครได้ ผ่านการพูดคุยหรือเชื้อเชิญให้สมัคร หรือในอีกกรณี QR Code ก็สามารถใส่ไว้ในท้ายใบเสร็จ และปรับแต่งใบเสร็จ เพื่อให้ลูกค้ารู้ถึงข้อดีของการเป็นสมาชิกได้อีกด้วย ที่มากไปกว่านั้น ขั้นตอนการสมัครก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่ลูกค้า Scan QR Code ก็สามารถสมัครได้เลย และยังสามารถเลือกได้อีกด้วย ว่าจะสมัครแบบใช้เบอร์โทร หรือจะเชื่อมต่อการสมัครผ่าน Line ส่วนตัวก็ยังได้ และอีกหนึ่งข้อดี คือถ้าลูกค้าสมัครผ่าน Line จะสามารถรับโปรโมชั่น หรือข่าวสารที่ทางร้านอาหารอยากจะส่งต่อไปถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย (แต่ในส่วนของฟีเจอร์นี้ ทางFoodStory จะมาอธิบายแบบละเอียดในบทความถัดไป รอติดตามชมกันได้เลย)

เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ …

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี:  https://link.foodstory.co/APR-Content05

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

4 เคล็ดลับจัดการ แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขาแบบชิลๆ!

จัดการร้านอาหารหลายสาขา

จัดการร้าน แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขา
แบบชิล ๆ ด้วย 4 เคล็ดลับนี้!

สงสัยไหมว่า ทำไมผู้บริหารขั้นเทพสามารถรับมือดูแลร้านหลายร้อยสาขา หรือหลายธุรกิจต่างอุตสาหกรรมกันได้แบบชิล ๆ แต่มือใหม่แบบพวกเราแค่ดูแลร้านอาหารเพียงร้านเดียวก็แทบจะกระอักเลือด ความจริงแล้วเบื้องหลังมีเพียงทริคเล็กน้อย ที่หากใครได้รู้ก็สามารถทำตาม และบริหารจัดการ แฟรนไชส์ร้านอาหาร หลายสาขาได้แบบชิล ๆ บอกเลย ใครที่กำลังจะเปิดแฟรนไชส์ หรือกำลังมองหาเคล็ดลับบริหารร้านหลายสาขาไม่ควรพลาด!

เตรียมระบบให้พร้อมก่อนขยายสาขา แฟรนไชส์ร้านอาหาร

อย่ารอให้มีหลายสาขาแล้วค่อยวางระบบ เพราะปกติแค่เปิดร้านอาหารสาขาเดียวก็วุ่นแล้ว หากจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ที่มีหลายสาขายิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาไปกันใหญ่ FoodStory เลยขอแนะนำให้ตั้งระบบให้มีฐานข้อมูลมารวมกันและเปิดมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบายก่อนขยายสาขา จะดีกว่าขยายสาขาแล้วค่อยวางระบบ โดยเฉพาะในเรื่องเหล่านี้

  • การวางแผนทรัพยากรองค์กร และการติดตามการทำงานของพนักงานแบบเรียลไทม์ เพราะกุญแจสำคัญของการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์คือ พนักงานที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในร้าน โดยใช้ระบบเหล่านี้เป็นเครื่องมือ
  • การวางแผนตรวจสอบการทำงานของพนักงานให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาในภายหลัง เช่น ระบบฐานข้อมูลจัดเก็บหลักฐาน และรายรับรายจ่ายครบถ้วนทุกยอด, กล้องวงจรปิดตามตำแหน่งต่าง ๆ ภายในร้าน, เช็ควัตถุดิบตามสูตรคำนวณจากยอดขายที่จำหน่ายได้ เป็นต้น
  • ระบบการเงินตามรูปแบบของการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ เงินสดย่อย สำหรับใช้หมุนเวียนหน้าร้านประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน และเงินกองกลางเข้าบัญชีก่อนไปบริหารจัดการอีกครั้ง
  • เครื่องมือการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ช่วยให้คุณเข้าใจ จัดการ และเชื่อมต่อกับฐานลูกค้าของคุณอย่างเป็นระบบ

การจัดวางระบบที่ดี ควรมีเทคโนโลยีที่ดีไปพร้อมกัน

ระบบที่ดีจะต้องตอบโจทย์การใช้งานแบบครอบคลุมอย่าง Foodstory POS ระบบขั้นสูงเพื่อจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์และทุกรูปแบบที่มีมากกว่า 500 ฟีเจอร์ จัดการบริหารร้านได้ง่าย เช่น สร้างเมนูได้หลากหลาย และกำหนดเมนูในแต่ละแฟรนไชส์ที่แตกต่างกัน หรือเหมือนกันได้ 

  • บริหารได้หลายสาขา แม้ตัวจะไม่ได้อยู่ที่ร้านก็ตาม
  • จัดการข้อมูลของแต่ละสาขาได้ง่ายด้วยปลายนิ้ว
  • ควบคุมมาตรฐานทุกสาขาได้ในทีเดียว ไม่ว่าจะลด เพิ่ม ผูกสต๊อก ก็ทำได้ง่ายดาย
  • ระบบ Sale Channel ช่วยบันทึกรายงานการขายช่องทางอื่นๆเพิ่มเติมได้
  • ระบบ Inventory ที่ช่วยจัด บริหาร และตัดสต๊อกได้อย่างละเอียด และยังสามารถเปิดใบ PR PO ได้อย่างแม่นยำ
  •  มีระบบโปรโมชั่น สามารถวิเคราะห์โปรโมชั่นได้อย่างแม่นยำ และส่งตรงไปยังแต่ละสาขาได้อัตโนมัติ
  • ออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม และแบบย่อได้
  • มี GP Franchise ที่สามารถกำหนด GP แต่ละสาขาได้ และสามารถออก QR Payment ให้ลูกค้าชำระเงินท้ายใบสรุปยอดได้สะดวกยิ่งขึ้น 
จัดการร้านอาหารหลายสาขา

ปั้นร้านแรกให้ติดตลาดก่อน

ก่อนเริ่มขยายสาขานอกจากวางระบบจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์แล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อลดภาระการกระตุ้นให้เกิดยอดขายทั้งสาขาหลัก และสาขาอื่นได้ในระดับพึงพอใจคือ ควรปั้นร้านแรกให้ติดตลาดจนลูกค้ารู้จักเป็นวงกว้างได้ (ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้พักอาศัยในละแวกใกล้เคียง) จนตัวคุณและผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์สามารถมั่นใจได้ว่า จะสามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้า จึงค่อยขยายสาขาและทำการขายแฟรนไชส์

จัดการร้านอาหารหลายสาขา แฟรนไชส์ร้านอาหาร

วางแผนแต่ละสาขาดี อาจมีชัยไปกว่าครึ่ง

นอกจากการวางระบบให้สอดคล้องกับการจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์หลายสาขา และปั้นร้านแรกให้เริ่มติดตลาด การวางแผนดีก่อนไปตั้งสาขาก็อาจมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่น

  • เลือกทำเล : ช่วงแรกอาจเลือกให้ไม่ห่างไกลจากสาขาแรกที่คุณสะดวกมากนัก เพื่อให้เดินทางเข้าไปตรวจสอบหรือควบคุมได้ตามต้องการ รวมถึงควรเลือกทำเลดีที่กระตุ้นยอดขายจากกลุ่มเป้าหมายได้ในตัว 
  • คัดสรรผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือบริหารในแต่ละสาขา : การจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์ที่ดีในระยะยาวไม่ควรเน้นขายแค่เพียงเพราะเขาอยากซื้อ แต่ต้องคัดสรรผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีความพร้อมและมั่นใจได้ว่าจะเติบโตไปพร้อมกับคุณได้ด้วย โดยมองแบบพาร์ทเนอร์ ไม่ใช่แค่คุณเป็นคนขายแล้วเขาเป็นคนซื้อแค่นั้นจบ เหมือนคำกล่าว ‘ก้าวด้วยกันไปได้ไกลกว่า’
  • หาตัวช่วยบริหารจัดการร้านอาหารแฟรนไชส์แต่ละสาขา : ไม่ว่าจะบุคลากร เครื่องมือเทคโนโลยี POS ขั้นสูง หรือการส่งต่อข้อมูลข่าวสารแบบรายสัปดาห์ จำเป็นต้องจัดหามาช่วยแต่ละสาขาทั้งสิ้น อย่าปล่อยทิ้งให้พวกเขาจัดการเอง 100% ด้วยความคิดที่ว่าขายแฟรนไชส์แล้วก็จบ เพราะถ้าสาขาอื่นยอดขายดีก็มีโอกาสต่อยอดขยายสาขา หรือกระตุ้นยอดขายในสาขาอื่นได้เช่นกัน
จัดการร้านอาหารหลายสาขา

ฝึกอบรม และ วางระเบียบพนักงานในองค์กรให้ชัดเจน

FoodStory มักจะบอกเสมอว่า การบริหารร้านอาหารหลายสาขาสามารถลดภาระได้จาก 2 ปัจจัยคือ ระบบและพนักงาน ก่อนเริ่มต้นให้พนักงานเริ่มทำงานควรมีการฝึกอบรม ทดสอบประเมินทักษะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน และทักษะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ รวมถึงวางระเบียบการทำงานของพนักงานในองค์กรให้ชัดเจน อัตราเงินเดือนสอดคล้องกับแรงงานที่พร้อมพัฒนาฝีมือ ก็จะช่วยขับเคลื่อนร้านอาหารของคุณให้มีคุณภาพตามมาตรฐานได้ไม่ยากและลดภาระการบริหารของคุณไปได้ไม่น้อยเลย

นอกจากนี้ อย่าลืมหมั่นตรวจสอบและพัฒนาการจัดการร้านอาหารตลอดเวลา เพราะการบริหารร้านแฟรนไชส์ในก้าวแรกให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ความต่อเนื่องของคุณ สำหรับท่านใดที่สนใจระบบที่รู้ใจร้านอาหารมากที่สุดจาก FoodStory จัดการบริหารร้านได้ง่าย ไม่ว่าคุณจะมีร้านอาหารกี่ร้าน กี่รูปแบบ หรือกี่สาขาก็ตาม ด้วย 500 ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจร้านอาหารครบครัน มี GP Franchise ตั้งราคา GP แต่ละสาขาได้ง่าย เรียกเก็บGP ของแต่ละสาขา และส่งใบสรุปยอด QR code ให้ชำระเงินได้อัตโนมัติ พร้อมรายงานยอดขายแบบละเอียดและติดตามการทำงานของพนักงานได้แบบเรียลไทม์ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! แค่คลิกและกรอกข้อมูลด้านล่างนี้ …

FoodStory

FoodStory ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content04

โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

จะดีกว่ามั้ย? ถ้าสามารถ “เปลี่ยนลูกค้าขาจร เป็นลูกค้าขาประจำ” ได้ด้วย ระบบสมาชิก CRM

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

จะดีกว่ามั้ยถ้าสามารถ
'เปลี่ยนลูกค้าขาจร เป็นลูกค้าขาประจำ'
ได้ง่าย ๆ ด้วย ระบบสมาชิก CRM

โดยปกติหากพูดถึงคำว่า “ลูกค้า” ไม่ว่าจะธุรกิจหรือร้านค้าใด มักจะมีการจัดแบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ลูกค้าขาประจำที่เป็นหน้าเก่ามาตลอดไม่เคยหายไปไหน กับ อีกกลุ่มที่เป็นลูกค้าขาจร มาครั้งเดียวแล้วไม่กลับมาอีก ซึ่งหากร้านอาหารของเรามีลูกค้าขาประจำอยู่แล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าสัดส่วนของร้านอาหารเรามีลูกค้าขาจรจำนวนมากกว่า แสดงให้เห็นว่า การที่จะเพิ่มยอดขายได้นั้น คงต้องหันมาโฟกัสกันแล้วว่าจะทำอย่างไรดีให้ลูกค้าที่มาครั้งเดียวหรือที่เรียกว่า ลูกค้าขาจร กลับมาอีกครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 จนในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นขาประจำให้ได้ เพียงเท่านี้ยอดขายและกำไรก็จะเพิ่มขึ้นไม่ใช่น้อย โดยเจ้าของธุรกิจส่วนมากมักจะประโคมทำการตลาด ลงสื่อประชาสัมพันธ์ โฆษณาจูงใจลูกค้าใหม่เยอะมาก แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำการตลาดในส่วนที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ซึ่งกลยุทธ์เหล่านั้นเป็นเพียงระยะสั้นที่อาจจะก่อให้เกิดลูกค้าขาจรเพิ่มอีกก็เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วการจะแก้ปัญหานี้ เราจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับการทำ ระบบสมาชิก CRM หรือ การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้านั่นเอง ในส่วนของรายละเอียดว่ามันคืออะไร มีวิธีอะไรบ้าง บทความนี้จะมาให้คำตอบ

ระบบสมาชิก ร้านอาหาร FoodStory CRM

ระบบ CRM คืออะไร จะเปลี่ยนลูกค้าขาจรเป็นขาประจำได้อย่างไร

การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า หรือ CRM (Customer Relationship Management) เป็นวิธีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้คงอยู่กับเราในระยะยาว จนเกิดเป็นความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้ไม่เปลี่ยนใจไปใช้ใช้สินค้าหรือบริการจากธุรกิจคู่แข่งขันเรา หากเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ คือ การที่เราดูแลลูกค้าเหมือนเป็นเพื่อนรักคนหนึ่ง ที่เราจะดูแลเอาใจใส่ รู้ใจว่าชอบอะไร ส่งมอบแต่สิ่งที่ดี ให้ความช่วยเหลือ ไปจนถึงแก้ไขปัญหาให้นั่นเอง แต่การทำ ระบบสมาชิก CRM โดยไม่มีเครื่องมือเทคโนโลยีมาประกอบคงเป็นการยากลำบากมาก เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะมาช่วยให้รู้จักลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อเอาชนะใจกลุ่มเป้าหมายทั้งลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า รวมไปถึงการนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนเกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะนอกจากจะช่วยในการเพิ่มยอดขาย ยังช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ระบบสมาชิกร้านอาหาร

เทคนิคดูแลรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า

หัวใจสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ กับ ลูกค้าที่จะทำให้ธุรกิจร้านอาหารเติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่

1.นำเสนอบริการอันน่าประทับใจ

การสร้างความประทับใจที่ดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ครองใจลูกค้าได้อย่างดี จนอยากกลับมาซื้อซ้ำ เช่น ความรวดเร็วทันใจ โดยธุรกิจร้านอาหารเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการ ทำให้ความรวดเร็ว หรือใช้ระยะเวลาในการรอน้อยๆ ถูกจัดเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเป็นอันดับต้นๆ นั่นเอง หากสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้ ก็ถือเป็นแต้มต่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจได้อย่างง่ายดาย

2.ให้คำมั่นสัญญาแล้วต้องทำได้จริง

การรักษาสัญญา แสดงถึงความจริงใจที่เรามีต่อลูกค้าเสมอ เพราะปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารก็มีเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด เยอะแยะมากมาย แต่สิ่งที่จะทำให้เราแตกต่างและน่าจดจำมากกว่า คือ การให้คุณค่าลูกค้ามากกว่าเจ้าอื่นๆ ดังจะเห็นได้ก็หลายครั้งที่คนยอมจ่ายเงินแพงๆเพียงเพราะบริการที่ดีกว่า ใส่ใจมากกว่า ทำตาสัญญาที่ให้ไว้ได้จริง เช่น มีการชดเชยจริง เมื่อทางร้านจัดส่งอาหารให้ได้ไม่ทันตามเงื่อนไขเวลาที่กำหนดเอาไว้ เป็นต้น

3.ใส่ใจมากกว่าการขาย

การรับฟังความต้องการของลูกค้า รับฟังความคิดเห็น ทั้งคำติและคำชม นอกจากจะสามารถช่วยให้นำความคิดเห็นเหล่านั้นไปปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาต่อยอดให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจที่เรามีต่อลูกค้าว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไร มีปัญหาต้องการให้ช่วยแก้ไขตรงไหน หากเราสามารถนำไปปรับและแก้ไขให้ได้ ก็จะทำให้ลูกค้า เกิดความประทับใจและเชื่อมั่นจนอาจนำไปสู่การเป็นลูกค้าขาประจำได้

ระบบสมาชิก ร้านอาหาร FoodStory CRM

แนะนำ FoodStory CRM ระบบจัดการสมาชิก สำหรับธุรกิจร้านอาหาร

สำหรับเจ้าของร้านอาหารหากอยากบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า สามารถเริ่มทำ CRM ด้วย FoodStory CRM ระบบจัดการสมาชิก สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ตั้งแต่ครั้งแรกที่ลูกค้าใหม่มาใช้บริการ โดยจะเก็บรายละเอียดลูกค้าให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล พฤติกรรมรายบุคคล เช่น ชอบนั่งทานที่ร้านหรือชอบสั่งกลับบ้าน เมนูประเภทไหนที่ชื่นชอบ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้วางแผนสร้างความประทับใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำอีก รวมไปถึงช่วยในการเพิ่มยอดขายต่อบิล จากข้อมูลที่มี ในการแนะนำโปรโมชันที่อาจจะโดนใจ ทำให้เกิดการสั่งซ้ำ สั่งเพิ่มได้ง่ายขึ้น นอกจากกนี้ยังสามารถช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปปรับกลยุทธ์ทางการตลาด สร้างโปรโมชันที่สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ ส่งผลต่อดีต่อการเพิ่มยอดขายอีกด้วย

ซึ่ง FoodSory CRM มีฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเรียนรู้ และรู้จักลูกค้าได้มากขึ้น ด้วยระบบ Membership tier 

Membership Tier คืออะไร? Membership Tier คือฟีเจอร์ที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับลูกค้าของคุณได้ด้วยระดับสมาชิก อีกทั้งยังสามารถสร้างโปรโมชั่น และส่งกลับไปหาลูกค้ารายบุคคลได้อีกด้วย เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และสร้างโอกาสให้เกิดการขายได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม Tag ลูกค้ารายบุคคล เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งพนักงานและเจ้าของร้านเอง จะรู้ได้ตั้งแต่หน้าแรกที่เห็นชื่อสมาชิก ว่าคนคนนี้จัดอยู่ใน Tag ไหน ชอบทานอะไร ควรให้สิทธิพิเศษอะไรแก่ลูกค้าท่านนั้น จึงทำให้ พนักงานสามารถแจ้งโปรโมชั่นที่เหมาะสมแก่ลูกค้าได้ง่าย

ดังนั้นหากอยากจะทำให้ลูกค้าขาจรที่มาครั้งเดียวแล้วจากไปเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าขาประจำสนิทกันจนจำได้ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า เพิ่มยอดขาย เอากำไรที่ยั่งยืน จะเห็นได้ว่าการทำ CRM เพื่อบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เจ้าของร้านอาหารควรศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ โดยปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ช่วยในการทุ่นแรง อย่าง FoodStory CRM ระบบจัดการสมาชิก ก็เป็นอะไรที่สะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงไม่ใช่น้อย

FoodStory

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content12

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

เคล็ด(ไม่)ลับ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ บริหารอย่างไรให้ไม่ขาดทุน แถมกำไรพุ่ง!

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

เคล็ด(ไม่)ลับ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์
บริหารยังไงให้ไม่ขาดทุน แถมกำไรพุ่ง!

หนึ่งในเทรนด์ร้านอาหารมาแรงไม่แพ้คาเฟ่คงต้องยกให้ ‘ร้านบุฟเฟ่ต์’ อิ่มคุ้มอร่อยครบจ่ายจบลูกค้าฟินจุก ๆ แต่ผู้ประกอบการก็อาจจุกได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ถ้าไม่มีการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ FoodStory POS เลยขอมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับ กับ การ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ บริหารอย่างไรให้ลูกค้าประทับใจในความคุ้ม แต่ไม่ขาดทุน แถมกำไรพุ่งได้อีก!

เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ FoodStory POS

1) บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ทั้งเมนูและค่าใช้จ่ายแบบรายวัน

จุดเด่นของการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์คือ สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนเมนูได้แบบวันต่อวัน (กว่า 35-60% ของรายจ่ายแต่ละวันมาจากต้นทุนอาหาร) หากเมนูไหนไม่โดนใจก็เปลี่ยนได้ หรือหากเมนูไหนอยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตราคาไม่สูง ก็น่าหยิบมาวางให้ลูกค้าได้เลือกทานสลับกับเมนูอื่นได้เหมือนกัน เพราะงั้นเรื่องบริหารการตัดต้นทุนให้ทุกเมนูในแต่ละวัน รวมกันแล้วสามารถสร้างกำไรได้คงไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีระบบ FoodStory POS หรือทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายเป็นประจำ ป้องกันการรั่วไหลของต้นทุน และสอดคล้องกับจำนวนลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาอุดหนุน

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

2) วางมาตรการลดโอกาสสิ้นเปลือง

เมื่อลูกค้าก้าวเข้าร้านบุฟเฟ่ต์ สิ่งที่พวกเขาคิดคือ วันนี้จะเอาชนะร้านบุฟเฟ่ต์ให้ได้หลังจากไม่ได้แวะมานาน แต่บางครั้งก็วางแผนพลาดไปนิดทำให้ตักหรือสั่งอาหารมาเหลือทิ้ง หากบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ไม่ดี ขาดมาตรการจัดการลูกค้าที่สั่งอาหารแล้วเหลือทิ้งก็จะสร้างภาระให้ทางร้านมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการสิ้นเปลืองงบและอาหาร (ไม่ใช่แค่เคสเดียวแน่นอน), การกำจัดขยะเหลือทิ้ง ไปจนถึงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะงั้นเลยอาจวางมาตรการลดโอกาสเกิดการสิ้นเปลืองอาหารเหลือทิ้ง เช่น หากสั่งมาเหลือทิ้งต้องจ่ายค่าปรับ, ให้บริการแบบสั่งแล้วใส่แบบพอดีคำในแต่ละถาดประมาณ 3-5 ชิ้น เป็นต้น

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

3) ลดต้นทุน แต่ไม่ลดคุณภาพ

อย่ายึดติดกับคำว่า ลดต้นทุน จนทำให้คุณเผลอตัดคุณภาพตามไปด้วย เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่า ขาดทุน (ทั้งที่เหตุผลในการเลือกมาร้านบุฟเฟ่ต์ของลูกค้าคือ คุ้มค่า ให้เลือกหลากหลาย อยากกินต้องได้กิน!) จะสังเกตได้ว่า สมัยนี้มีร้านบุฟเฟ่ต์ให้เลือกเยอะมาก หลากหลายราคาตั้งแต่ไม่ถึงร้อยไปจนถึงหลักพัน แต่ถึงบางร้านจะมีค่าบริการราคาสูงก็ยังมีคนนิยมทานกันจนแน่นร้าน เพราะกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังการซื้อ ตั้งแต่วัยเรียนไปจนถึงวัยทำงานที่มีกำลังซื้อนิยมทานบุฟเฟ่ต์ที่มีคุณภาพมากกว่าราคาถูกอย่างเดียว แต่คุณภาพด้อยกว่าจนรู้สึกทานแล้วไม่คุ้ม

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

4) วัตถุดิบราคาแพงให้วางด้านในหรือเติมเฉพาะช่วงเวลาพิเศษ

ด้วยความที่การบริหารร้านบุฟเฟ่ต์จะเป็นลักษณะการผสมผสานระหว่างของราคาแพงบ้าง ถูกบ้างสลับกันไปแล้วมาเฉลี่ยหากำไรกันอีกครั้ง ในส่วนของวัตถุดิบราคาแพงที่เอามากระตุ้นให้ลูกค้าเข้าร้านอาจวางไว้ด้านในสุดให้ลูกค้าไล่เรียงหยิบคละกันไปแทนที่จะมุ่งตรงมาหาของแพงเพียงอย่างเดียว หรือหากมีจำนวนจำกัดจริงๆ อาจเติมเฉพาะช่วงเวลาพิเศษมีการเติมสต็อกลงพื้นที่ให้ตักเป็นรอบแทนการวางติดกับถาดให้เติมได้ตลอดก็จะลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้อีกเล็กน้อย

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

5) ให้บริการน้ำเปล่าฟรีและหมั่นให้บริการเติมแก้วตลอด

สำหรับลูกค้าเวลาทานอาหารปริมาณมากจะต้องดื่มน้ำลดอาการฝืดคอ ซึ่งเป็นผลดีกับการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ เพราะระหว่างที่จิบน้ำลูกค้าจะรู้สึกอิ่มไวมากขึ้น อีกหนึ่งเคล็ด(ไม่)ลับที่ FoodStory อยากแนะนำคือ ให้บริการน้ำเปล่าฟรีแล้วหมั่นเติมน้ำลงแก้วลูกค้าตลอด ก็จะช่วยให้ลูกค้าทานในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายไม่อัดหรือแน่นจนเกินไป และค่าใช้จ่ายน้ำเปล่าสะอาดที่ติดตั้งเครื่องกรองน้ำภายในร้านอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนเยอะแต่อย่างใด

เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ FoodStory POS

6) เก็บข้อมูลการบริโภคของลูกค้าแล้วมาปรับแผนตลอด

การบริหารบุฟเฟ่ต์อาจคาดเดาะไม่ได้ว่า แต่ละวันลูกค้าจะทานอะไร อย่างไร จำนวนเท่าไหร่บ้าง แต่การเก็บข้อมูลสมาชิก การบริโภค สต็อกวัตถุดิบภายในร้าน และอื่นๆ ทั้งหมดจะทำให้มีคลังข้อมูลขนาดใหญ่เพียงพอกับการนำไปประมวลผลวิเคราะห์ก่อนจะนำมาปรับแผนการคัดสรรวัตถุดิบ พนักงาน และการให้บริการแบบเรียลไทม์ได้ทุกวัน เหมาะกับการพัฒนาการให้บริการภายในร้านอาหารบุฟเฟ่ต์สุดๆ

บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ให้ไม่ขาดทุน

7) ให้บริการอย่างรวดเร็วทันใจ

ไม่ว่าจะร้านอาหารทั่วไป คาเฟ่ หรือแม้แต่การบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ก็ตาม การให้บริการอย่างรวดเร็วทุกขั้นตอนตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้าร้าน รับออเดอร์ เสิร์ฟ ไปจนถึงชำระเงิน จะช่วยลดเวลา และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากที่นั่งว่างเหล่านั้น แทบทุกร้านเลยกำหนดให้ลูกค้าสามารถเลือกทานอาหารตามแพ็กเกจได้ในระยะเวลาจำกัด (รวมถึงอบรมให้พนักงานต้องทำงานแบบมีประสิทธิภาพ ด้วยความรอบคอบ และรวดเร็วเท่าที่จะทำได้)

นอกจากเคล็ด(ไม่)ลับเกี่ยวกับการ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ แล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ‘ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีการปรับระบบให้รองรับการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์มากขึ้น เช่น 

  • มีระบบ Inventory ที่ช่วยจัดการสต็อกได้อย่างละเอียด สามารถเปิดใบ PR PO GR และตัดสต้อกได้อย่างแม่นยำ
  • ระบบ POS จัดการร้านค้า ให้บริการสะดวกด้วย Ipad สูงสุด 5 เครื่อง
  • ลูกค้าสามารถใช้ Mobile Order สแกนสั่งอาหารเองได้เพื่อประหยัดเวลาและรวดเร็ว
  • พนักงานสามารถใช้ Mobile Staff ( Android ) รับออเดอร์เอง เปิดโต๊ะเอง สั่งอาหารเองได้
  • ระบบจัดรูปแบบโต๊ะภายในร้านตาม Layout จริง เพื่อลดข้อผิดพลาด
  • ระบบจัดการเปิด-ปิด เมนูได้แบบเรียลไทม์
  • ระบบจัดการคิว และระบบจับเวลาเข้ารับบริการ
  • ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มและย่อได้อย่างง่ายดาย
  • รองรับการชำระเงินหลากหลายช่องทาง ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และการสแกน QR Code จากสมาร์ทโฟน
  • ระบบรายงานยอดขายและผลเชิงลึก สามารถวิเคราะห์ต่อยอดธุรกิจ สร้างยอดขายและกำไรมากขึ้น

เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ ในยุคปัจจุบัน อาจจะพบเจอปัญหาในเรื่องของต้นทุน ค่าใช้จ่าย ที่เป็นยอดค่อนข้างสูง FoodStory POS สามารถช่วยลดต้นทุน ลดความผิดพลาด ในการรับออเดอร์ได้ด้วยระบบสแกนสั่งอาหาร Mobile Order ที่จะช่วยให้พนักงานเหนื่อยน้อยลง และประหยัดเวลาในการรับลูกค้าอีกด้วย สนใจทดลองใช้ระบบฟรีหรือปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ …

FoodStory POS ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content03

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

6 เทคนิค เปิดคาเฟ่ พร้อมเหตุผลที่ต้องมี ระบบ POS

บริหารร้านคาเฟ่

6 เทคนิค เปิดคาเฟ่ และบริหารร้านกาแฟ
พร้อมเหตุผลที่จำเป็นต้องมี ระบบ POS

ในยุคที่การ เปิดคาเฟ่ นั้นแข่งขันกันอย่างหนัก ถ้าไม่รุ่งก็ร่วงได้เลยทีเดียว หนึ่งในความสำคัญที่เจ้าของกิจการควรใส่ใจนอกจากคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการตกแต่งโดยรอบแล้ว เทคนิคการบริหารจัดการก็จำเป็นต้องเตรียมพร้อมก่อนเริ่มต้นดำเนินธุรกิจร้านคาเฟ่ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนที่มีความฝันอยากเปิดร้านคาเฟ่ของตัวเองหรือกำลังเปิดอยู่และต้องการนำเทคนิคของ FoodStory ไปปรับใช้สามารถติดตามได้ในบทความนี้

เปิดคาเฟ่

ทำความเข้าใจอุปสรรคพื้นฐานของการเปิดร้านคาเฟ่

รู้เขารู้เรารบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้งยังคงใช้ได้เสมออย่างการเปิดร้านคาเฟ่ก็เช่นกัน ถ้าจำเป็นต้องเข้าใจอุปสรรคพื้นฐานของการบริหารก่อนการ เปิดคาเฟ่ อย่างในเรื่องของจำนวนคู่แข่งในตลาด หรือพื้นที่ที่เราจะเข้าไปแข่งขันหากมีเยอะมาก ก็หมายความว่าลูกค้าสามารถเพิ่มตัวเลือกในการตัดสินใจบริโภคได้มากขึ้นเช่นกัน เราจะบริหารยังไงให้จุดอ่อนของการเปิดร้านคาเฟ่หายไป และมีจุดแข็งเหนือร้านอื่น เช่น 

  • การวางบริการระบบให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  • การเก็บข้อมูลการบริโภคของลูกค้าอย่างเป็นระบบสามารถหยิบมาใช้ต่อยอดพัฒนาเมนูและการบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
  • ฯลฯ
เปิดคาเฟ่

ปรับสมดุลความต้องการระหว่างคุณ พนักงาน และลูกค้า

แน่ล่ะว่า ความตั้งใจแรกในการเปิดร้านคาเฟ่ล้วนมาจากความหลงใหลของคุณ แต่หลังจากเปิดร้านได้จริงเมื่อไหร่ เราจะยึดความต้องการของคนเดียวหรือผู้ก่อตั้งกลุ่มเล็ก ๆ มาเป็นจุดมุ่งหมายอย่างเดียวไม่ได้ จึงจำเป็นต้องหาจุดสมดุลจากความต้องการสามส่วนคือ ความต้องการของคุณ พนักงานในองค์กร และลูกค้าให้เจอก็จะวางแผนบริหารจัดการภายในร้านคาเฟ่ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอแก่ลูกค้า

เปิดคาเฟ่

บริหารกำไรจากการควบคุมต้นทุน

ในยุคที่ผลิตผลในตลาดมีราคาสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ของผู้คน การจะเปิดร้านคาเฟ่ให้กำไรสามารถไปถึงจุดที่ตนเองมุ่งหวังได้ง่ายขึ้นก็คือ การควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงตามท้องตลาดจากการวางแผนสต๊อกล่วงหน้าให้ทราบว่า ต้องปรับลดหรือเพิ่มในส่วนไหน หากมีวัตถุดิบไหนใกล้หมดจะได้เตรียมทันเวลา ไม่ต้องเร่งรีบหาจนพลาดไปเจอสินค้าราคาแพง แล้วลดกำไรให้ต่ำลงไปอีก

บริหารร้านคาเฟ่

วางแผนส่งเสริมการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์

แม้สเน่ห์ของการเปิดร้านคาเฟ่จะเป็นการพบปะลูกค้าที่แวะเวียนมาอุดหนุนทางหน้าร้านแบบออฟไลน์ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าช่องทางออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญกับกิจการหลากหลายประเภทในปัจจุบันไม่เว้นแม้แต่การเปิดร้านคาเฟ่ เพราะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกสบายเพิ่มยอดขายและกำไรในแต่ละวันให้มากขึ้นได้มากกว่าการขายหน้าร้านเพียงช่องทางเดียว

บริหารร้านคาเฟ่

มากกว่าบริหารร้านคือ บริหารคน

ความยากของการเปิดร้านคาเฟ่ไม่ใช่แค่การบริหารร้านให้เป็น แต่ต้องบริหารคนให้เก่งด้วย เพราะกุญแจสำคัญที่ร้านคาเฟ่ของคุณจะชนะใจลูกค้าได้มักมาจาก ‘พนักงาน’ ไม่ว่าจะเรื่องการทำอาหารและเครื่องดื่มให้ถูกใจลูกค้า, รักษาคุณภาพของการให้บริการ การเก็บข้อมูลจากลูกค้ามาพัฒนาต่อ หรือการจัดการเรื่องต่างๆ ภายในร้านของคุณ ฯลฯ เลยเป็นโจทย์สำคัญว่า จะบริหารคนอย่างไรให้ก้าวไปพร้อมกับร้านของคุณและสามารถพาให้ร้านของคุณไปไกลกว่าเดิมได้ เพราะคาเฟ่บางร้านมีแนวคิดที่ว่า เปิดร้านคาเฟ่หาพนักงานไม่ยาก แต่ความจริงแล้วการขาดแคลนพนักงานและต้องหาใหม่เรื่อย ๆ ทำให้คาเฟ่ต้องหยุดชะงัก และพัฒนาได้ช้ากว่าคาเฟ่ที่รักษาพนักงานให้อยู่ได้นาน Foodstory เลยขอแนะนำให้หาวางแผนบริหารคนด้วย เช่น

  • จัด Coffee Talk ชิมเครื่องดื่มแล้วมานั่งคุยกัน เสริมสร้างความเป็นทีมและให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการเสนอเนื้อหาน่าสนใจ เพื่อพัฒนาการให้บริการและเมนูต่างๆ ตามโอกาส
  • ตั้งทีมที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะกับร้านของคุณ โดยไม่จัดให้มีคนมากเกินไปจนแน่นร้านหรือน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับการให้บริการทุกช่วงเวลาขณะร้านเปิดทำการ
  • เสริมพลังบวกให้แก่พนักงานด้วยคำชมหรือรางวัลตอบแทนบ้าง เช่น จัดประกวดเมนูสร้างสรรค์สำหรับให้บริการเฉพาะภายในร้านคาเฟ่นั้น, จัดงานฉลองให้พนักงานตามโอกาสพิเศษ, จัดหาสวัสดิการดีๆ ตามความเหมาะสม เป็นต้น
เปิดคาเฟ่

วางระบบอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นตัวช่วยภายในร้านเท่าที่จะทำได้

ด้วยความที่การเปิดคาเฟ่ก็เป็นการเปิดร้านอาหารประเภทหนึ่ง แน่นอนว่า จะมี Golden Time หรือช่วงเวลาพีคที่ลูกค้าจะเข้ามาใช้บริการจำนวนมากเป็นพิเศษ จนพนักงานที่เรามีจำกัดทำงานเกือบไม่ทัน, สต็อกวัตถุดิบจำนวนมหาศาลที่ต้องคอยระวัง ทั้งจำนวนไม่พอหรือวันหมดอายุอันใกล้ หรือ การจัดระเบียบออเดอร์จากหลากหลายช่องทางในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น การวางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือที่มีโปรแกรมอัตโนมัติภายในร้านเท่าที่จะทำได้เลยเป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับการเปิดร้านคาเฟ่ เช่น

‘ ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS ’ จัดการและตรวจสอบอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเปิดร้านคาเฟ่กี่สาขาก็หายห่วง เพราะ … 

    • จัดการง่ายทุกยอดขายและเมนู ทั้งการเปิดบิล บันทึกข้อมูล คำนวณยอดขาย รายรับ-รายจ่ายเป็นระบบ
    • รับชำระเงินได้ง่าย รองรับการชำระหลายรูปแบบ เพิ่มโอกาสสร้างยอดขายและปิดการขายได้ไวขึ้น
    • ระบบ Inventory ตัดสต็อก บริหารคลังวัตถุดิบ ไม่ว่าจะมีวัตถุดิบหรือสินค้าภายในร้านมหาศาลขนาดไหน ก็จัดการได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเปิดใบ PR PO GR ได้ 
    • มีระบบ Sale Report รายงานการขาย และข้อมูลเชิงลึกให้เห็นเป็นภาพเข้าใจง่ายขึ้น แม้เปิดร้านคาเฟ่มือใหม่ก็ใช้ได้สบาย
    • เชื่อมต่อเดลิเวอรี่ เพิ่มช่องทางการขายได้มากขึ้น
    • มีระบบ Sale Channel ที่จะช่วยบันทึกรายงารการขายจากช่องทางอื่นๆเพิ่มเติมได้
    • ระบบสมาชิก CRM ที่สามารถวิเคราะห์โปรโมชั่นได้อย่างแม่นยำ
    • เชื่อมต่อ ระบบสมาชิก ผ่าน FoodStory POS ได้โดยตรง
    • ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มและย่อได้อย่างง่ายดาย
    • สามารถ Hold บิลค้างไว้เพื่อรอชำระภายหลังได้
    • ชำระเงินผ่าน Dynamic QR Payment ท้ายใบแจ้งหนี้
    • มีระบบจัดการคิวในตัว

การเปิดร้านคาเฟ่เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่การจะทำให้ร้านคาเฟ่ของคุณเข้าไปครองใจลูกค้าให้แวะเวียนมาอุดหนุนอย่างต่อเนื่องในยุคที่มีคู่แข่งจำนวนมหาศาลกลับไม่ใช่เรื่องง่าย FoodStory เลยขอฝากให้ผู้ประกอบการทุกท่านลองนำ 6 เทคนิคที่เรานำมาฝากในบทความนี้ไปลองปรับใช้กัน สำหรับท่านใดที่สนใจระบบ FoodStory POS จัดการร้านคาเฟ่ทุกที่ ทุกเวลา จาก iPad เครื่องเดียวสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ …

FoodStory

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

ทดลองใช้ระบบฟรี: 

https://link.foodstory.co/APR-Content01

โทร: 065-513-7744 กด 1

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr

ระวัง! ขยายสาขาร้านอาหาร เร็วเกินไปอาจถึงขั้น ‘เจ๊ง’!!

ขยายสาขา

สงสัยบ้างไหม ขยายสาขาร้านอาหาร ทำให้ขายดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่?

เสียงเตือนสติยอดฮิตจาก TikTok ต้องเข้าแล้วล่ะ สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่คิดไวใจร้อน ที่อยากรีบ ขยายสาขาร้านอาหาร เร็ว ๆ โกยกำไรเข้ากระเป๋าแบบคู่แข่งตามไม่ทัน แต่ดันไม่ระวังและขาดความรอบคอบจนตัดสินใจ ผิดพลาดเสี่ยงเกิดสารพัดปัญหาตามมา FoodStory POS ขอเตือนว่า ถึงขั้น ‘เจ๊ง’ ได้เลยนะ จากเหตุการณ์เหล่านี้

การขยายสาขาร้านอาหาร

1) ขาดประสบการณ์บางอย่างไป

การเริ่มต้นขยายสาขาร้านอาหารเร็ว ไม่ใช่ผลดีเสมอไป อย่างน้อยคงเปรียบได้กับเด็กเรียนเก่งที่สามารถสอบข้ามชั้นแบบก้าวกระโดดได้ แม้จะมีข้อดีที่ประหยัดระยะเวลาให้เติบโตฉับไว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประสบการณ์หรือบทเรียนบางอย่างที่หาไม่ได้ในคอร์สเรียนหรือตามตำราหายไป ทำให้หากเกิดข้อผิดพลาดกับธุรกิจร้านอาหารของคุณสาขาใดสาขาหนึ่งในอนาคตก็อาจไม่ได้มีการเตรียมพร้อม และขาดประสบการณ์ในการรับมืออุปสรรคเหล่านั้นได้เหมือนกัน

การขยายสาขาร้านอาหาร

หนึ่งในสาเหตุของการ ขยายสาขา ร้านอาหารรวดเร็วเกินไปมักมาจากการฟังแต่เสียงของตนเอง ปัญหาอีกประการที่ตามมาเลยเป็นเรื่องขาดการฟังเสียงของกลุ่มเป้าหมาย เพียงเจอลูกค้าหน้าใหม่แวะเวียนเข้ามาทักทายอุดหนุนเล็กน้อย ก็คิดไปแล้วว่ามาถูกทาง ทั้งที่ความจริงแล้วยังไม่สามารถหาฐานลูกค้ากลุ่ม Loyalty Customer ผู้ภักดีในธุรกิจร้านอาหารของคุณที่จะช่วยชี้ทางสว่างหากลยุทธ์มาผลักดันให้ร้านเติบโตได้เลย การไม่เคยฟังเสียงของลูกค้าที่แท้จริงแบบเชิงลึกนี่ล่ะที่ปลายทางอาจกลายเป็นคำว่า ‘เจ๊ง’ ได้

ขยายสาขา

3) พนักงานเติบโตไม่ทันการขยายสาขาร้านอาหาร

เพราะงานบริการอย่าง ‘ร้านอาหาร’ มักจำเป็นต้องใช้พนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่า คนเยอะปัญหาเยอะ ยิ่งขยายสาขาด้วยแล้วยิ่งวุ่นวายไปกันใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงแรกหลังจากตัดสินใจขยายสาขาร้านอาหาร หากไม่ได้วางแผนและเตรียมตัวให้พร้อมก็อาจเกิดปัญหาได้ อาทิเช่น

  • สัดส่วนการทำงานของพนักงานแต่ละคนจะเป็นอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลง (ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้น)
  • การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนจำนวนงานอย่างรวดเร็วมักส่งผลกระทบถึงคุณภาพของการทำงานแน่นอน
  • งานที่เพิ่มขึ้นมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ (หากไม่เพิ่มเงินให้พนักงานคงไม่โอเคแน่นอนต้องเตรียมใจรับมือระหว่างลูกน้องขอออกหรือไม่ยอมให้ความร่วมมือ)
  • การเตรียมความพร้อมในการเทรนเพิ่มเติมทุกตำแหน่ง ตั้งแต่หัวหน้าถึงลูกน้องในทีม ยิ่งเตรียมช้ายิ่งมีโอกาสชะงักนาน
การขยายสาขาร้านอาหาร

4) ลดโอกาสได้ร่วมธุรกิจกับพาร์ทเนอร์มืออาขีพ

ธุรกิจร้านอาหารสมัยนี้ไม่ได้โดดเดี่ยวแบบสมัยก่อนที่ลงมือเองตั้งแต่เริ่มต้นจนเสิร์ฟถึงมือลูกค้าเองทั้งหมดแบบ 100% แต่หากสังเกตดีๆ จะพบว่า มีการจับมือเป็นพาร์ทเนอร์ยกระดับการให้บริการดึงลูกค้ามาสนับสนุน 2-3 องค์กรได้ในคราวเดียวกัน เพราะงั้นการเริ่มต้นไวในจังหวะที่ไม่ใช่ก็จะลดโอกาสได้ร่วมธุรกิจกับพาร์ทเนอร์มืออาชีพด้วย เหมือนพบคนที่ใช่ในเวลาที่ไม่ใช่นั่นล่ะ น่าเสียดายใช่ไหมล่ะ

ขยายสาขา

5) เงินทุนหมุนเวียนมีไม่เพียงพอ

กระแสเงินสดก็เหมือนกระแสเลือดจำเป็นต้องไหลเวียนหล่อเลี้ยงธุรกิจให้เพียงพอตลอดเวลา แต่การขยายสาขาร้านอาหารจะต้องหยิบเอาเงินทุนในคลังก้อนโตออกไปใช้จ่ายทำให้เงินทุนบางส่วนหายไป กรณีเลวร้ายสุดหลายท่านคงพอเดาได้ว่า จะเป็นอย่างไร เงินทุนหมุนเวียนอาจถึงขั้นมีไม่เพียงพอจับจ่ายใช้สอยถึงขั้นต้องไปกู้หนี้ยืมสินเสียดอกเบี้ยสุดโหดให้สถาบันการเงินกลายเป็นภาระติดตัวไปกันใหญ่ แถมหากธุรกิจร้านอาหารไม่ได้เป็นไปตามที่คาดไว้สุดท้ายปลายทางของธุรกิจคุณจะมีคำว่า ‘เจ๊ง’ รออยู่แน่นอน

การขยายสาขาร้านอาหาร

6) ทำระบบข้อมูลการ ขยายสาขา ผิดพลาด

ระบบข้อมูลหลังบ้านของร้านอาหาร แม้จะมีการพัฒนาให้จัดการได้อย่างรวดเร็วและยกระดับความเป็นมืออาชีพ แต่การทำงานที่มีประสิทธิภาพก็จำเป็นต้องอาศัยการเก็บข้อมูลการบันทึกข้อมูลตามจริงจากหน้าร้านในระยะเวลาพอสมควร และตรวจสอบความถูกต้องตรงกันกับข้อมูลหลายส่วน บ่อยครั้งที่ความรีบร้อนทำให้จัดเก็บข้อมูลผิดพลาด ไม่มีเวลาได้ตรวจสอบ หรือแม้แต่เรียนรู้ทำความเข้าใจในระบบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม้ระบบเหล่านั้นจะเทพล้ำนำสมัยขนาดไหน ก็ไม่สามารถนำไปช่วยจัดการงานภายในร้านอาหารได้ หากไม่ได้ใช้งานและลงข้อมูลอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ปัญหาคือ ถ้าระบบข้อมูลมีปัญหาสารพัดเรื่องก็จะตามมาไม่หยุดหย่อน ทั้งเรื่องสต๊อกวัตถุดิบ ต้นทุนกำไร พนักงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ส่งผลให้การ ขยายสาขา ไม่เป็นไปตามที่หวัง จนสุดท้ายเจ๊งจริงไม่ติงนังตังนิงเลยนะเออ

ขยายสาขา

ข้อดีของการ ขยายสาขาร้านอาหาร อย่างรวดเร็ว

ทั้ง 6 เรื่องราวที่แชร์มาอาจฟังดูน่ากลัวจนหลายท่านคงคิดแล้วคิดอีกแน่ๆ แต่ก็ยังมีข้อดีสำหรับการขยายสาขาร้านอาหารอย่างรวดเร็วอยู่นะ แต่จำเป็นต้องอาศัยความรอบคอบและเตรียมพร้อมให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนขยายสาขาด้วย อาทิเช่น

  • เพิ่มโอกาสเข้าถึงลูกค้าและสร้างกำไรได้มากกว่า จากการลุยตลาดเร็ว รวมถึงการปั้นลูกค้า Loyalty Customer
  • จับมือกับพาร์ทเนอร์คุณภาพ เพราะพาร์ทเนอร์ธุรกิจบางรูปแบบไม่ค่อยลงทุนในธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อกระจายโอกาสในการสร้างกำไรมากกว่า ดังนั้น หากสำเร็จไวและมีความน่าสนใจก็เพิ่มโอกาสได้เจอพาร์ทเนอร์ร่วมสนับสนุนให้ก้าวไปได้ไกลขึ้น
  • เพิ่มโอกาสได้จับจองพื้นที่ทำเลดีกว่าคู่แข่งที่ยังไม่ลุยในพื้นที่โซนนั้น
  • ฯลฯ

เพราะงั้นก่อนตัดสินใจขยายสาขาร้านอาหาร อย่าลืมเช็คให้มั่นใจว่า เราพร้อมที่จะขยายร้านแล้วจริงๆ (หากไม่มั่นใจว่า ดูอย่างไร สามารถเช็คได้ตามบทความ ‘เช็ค 8 สัญญาณฯ’) เมื่อเตรียมพร้อมจนถึงเวลาขยับขยายกระจายสาขาหรือจัดทำแฟรนไชส์เพิ่มการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นแล้ว อีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ‘ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งสิ้นกว่า 500 ฟีเจอร์ เพื่อยกระดับการบริการร้านอาหารโดยเฉพาะ สนใจสามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญจาก FoodStory หรือทดลองใช้ระบบฟรี! ได้ที่ https://signup.foodstory.co/ref/branchwarning

FoodStory

ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน

✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/bar2blog

โทร: 02-821-5665

LINE: https://lin.ee/zAdDsCr