เคล็ด(ไม่)ลับ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์
บริหารยังไงให้ไม่ขาดทุน แถมกำไรพุ่ง!
หนึ่งในเทรนด์ร้านอาหารมาแรงไม่แพ้คาเฟ่คงต้องยกให้ ‘ร้านบุฟเฟ่ต์’ อิ่มคุ้มอร่อยครบจ่ายจบลูกค้าฟินจุก ๆ แต่ผู้ประกอบการก็อาจจุกได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ถ้าไม่มีการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ FoodStory POS เลยขอมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับ กับ การ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ บริหารอย่างไรให้ลูกค้าประทับใจในความคุ้ม แต่ไม่ขาดทุน แถมกำไรพุ่งได้อีก!

1) บริหารร้านบุฟเฟ่ต์ทั้งเมนูและค่าใช้จ่ายแบบรายวัน
จุดเด่นของการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์คือ สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนเมนูได้แบบวันต่อวัน (กว่า 35-60% ของรายจ่ายแต่ละวันมาจากต้นทุนอาหาร) หากเมนูไหนไม่โดนใจก็เปลี่ยนได้ หรือหากเมนูไหนอยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตราคาไม่สูง ก็น่าหยิบมาวางให้ลูกค้าได้เลือกทานสลับกับเมนูอื่นได้เหมือนกัน เพราะงั้นเรื่องบริหารการตัดต้นทุนให้ทุกเมนูในแต่ละวัน รวมกันแล้วสามารถสร้างกำไรได้คงไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีระบบ FoodStory POS หรือทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายเป็นประจำ ป้องกันการรั่วไหลของต้นทุน และสอดคล้องกับจำนวนลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาอุดหนุน

2) วางมาตรการลดโอกาสสิ้นเปลือง
เมื่อลูกค้าก้าวเข้าร้านบุฟเฟ่ต์ สิ่งที่พวกเขาคิดคือ วันนี้จะเอาชนะร้านบุฟเฟ่ต์ให้ได้หลังจากไม่ได้แวะมานาน แต่บางครั้งก็วางแผนพลาดไปนิดทำให้ตักหรือสั่งอาหารมาเหลือทิ้ง หากบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ไม่ดี ขาดมาตรการจัดการลูกค้าที่สั่งอาหารแล้วเหลือทิ้งก็จะสร้างภาระให้ทางร้านมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการสิ้นเปลืองงบและอาหาร (ไม่ใช่แค่เคสเดียวแน่นอน), การกำจัดขยะเหลือทิ้ง ไปจนถึงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะงั้นเลยอาจวางมาตรการลดโอกาสเกิดการสิ้นเปลืองอาหารเหลือทิ้ง เช่น หากสั่งมาเหลือทิ้งต้องจ่ายค่าปรับ, ให้บริการแบบสั่งแล้วใส่แบบพอดีคำในแต่ละถาดประมาณ 3-5 ชิ้น เป็นต้น

3) ลดต้นทุน แต่ไม่ลดคุณภาพ
อย่ายึดติดกับคำว่า ลดต้นทุน จนทำให้คุณเผลอตัดคุณภาพตามไปด้วย เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่า ขาดทุน (ทั้งที่เหตุผลในการเลือกมาร้านบุฟเฟ่ต์ของลูกค้าคือ คุ้มค่า ให้เลือกหลากหลาย อยากกินต้องได้กิน!) จะสังเกตได้ว่า สมัยนี้มีร้านบุฟเฟ่ต์ให้เลือกเยอะมาก หลากหลายราคาตั้งแต่ไม่ถึงร้อยไปจนถึงหลักพัน แต่ถึงบางร้านจะมีค่าบริการราคาสูงก็ยังมีคนนิยมทานกันจนแน่นร้าน เพราะกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังการซื้อ ตั้งแต่วัยเรียนไปจนถึงวัยทำงานที่มีกำลังซื้อนิยมทานบุฟเฟ่ต์ที่มีคุณภาพมากกว่าราคาถูกอย่างเดียว แต่คุณภาพด้อยกว่าจนรู้สึกทานแล้วไม่คุ้ม

4) วัตถุดิบราคาแพงให้วางด้านในหรือเติมเฉพาะช่วงเวลาพิเศษ
ด้วยความที่การบริหารร้านบุฟเฟ่ต์จะเป็นลักษณะการผสมผสานระหว่างของราคาแพงบ้าง ถูกบ้างสลับกันไปแล้วมาเฉลี่ยหากำไรกันอีกครั้ง ในส่วนของวัตถุดิบราคาแพงที่เอามากระตุ้นให้ลูกค้าเข้าร้านอาจวางไว้ด้านในสุดให้ลูกค้าไล่เรียงหยิบคละกันไปแทนที่จะมุ่งตรงมาหาของแพงเพียงอย่างเดียว หรือหากมีจำนวนจำกัดจริงๆ อาจเติมเฉพาะช่วงเวลาพิเศษมีการเติมสต็อกลงพื้นที่ให้ตักเป็นรอบแทนการวางติดกับถาดให้เติมได้ตลอดก็จะลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้อีกเล็กน้อย

5) ให้บริการน้ำเปล่าฟรีและหมั่นให้บริการเติมแก้วตลอด
สำหรับลูกค้าเวลาทานอาหารปริมาณมากจะต้องดื่มน้ำลดอาการฝืดคอ ซึ่งเป็นผลดีกับการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ เพราะระหว่างที่จิบน้ำลูกค้าจะรู้สึกอิ่มไวมากขึ้น อีกหนึ่งเคล็ด(ไม่)ลับที่ FoodStory อยากแนะนำคือ ให้บริการน้ำเปล่าฟรีแล้วหมั่นเติมน้ำลงแก้วลูกค้าตลอด ก็จะช่วยให้ลูกค้าทานในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายไม่อัดหรือแน่นจนเกินไป และค่าใช้จ่ายน้ำเปล่าสะอาดที่ติดตั้งเครื่องกรองน้ำภายในร้านอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนเยอะแต่อย่างใด

6) เก็บข้อมูลการบริโภคของลูกค้าแล้วมาปรับแผนตลอด
การบริหารบุฟเฟ่ต์อาจคาดเดาะไม่ได้ว่า แต่ละวันลูกค้าจะทานอะไร อย่างไร จำนวนเท่าไหร่บ้าง แต่การเก็บข้อมูลสมาชิก การบริโภค สต็อกวัตถุดิบภายในร้าน และอื่นๆ ทั้งหมดจะทำให้มีคลังข้อมูลขนาดใหญ่เพียงพอกับการนำไปประมวลผลวิเคราะห์ก่อนจะนำมาปรับแผนการคัดสรรวัตถุดิบ พนักงาน และการให้บริการแบบเรียลไทม์ได้ทุกวัน เหมาะกับการพัฒนาการให้บริการภายในร้านอาหารบุฟเฟ่ต์สุดๆ

7) ให้บริการอย่างรวดเร็วทันใจ
ไม่ว่าจะร้านอาหารทั่วไป คาเฟ่ หรือแม้แต่การบริหารร้านบุฟเฟ่ต์ก็ตาม การให้บริการอย่างรวดเร็วทุกขั้นตอนตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้าร้าน รับออเดอร์ เสิร์ฟ ไปจนถึงชำระเงิน จะช่วยลดเวลา และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากที่นั่งว่างเหล่านั้น แทบทุกร้านเลยกำหนดให้ลูกค้าสามารถเลือกทานอาหารตามแพ็กเกจได้ในระยะเวลาจำกัด (รวมถึงอบรมให้พนักงานต้องทำงานแบบมีประสิทธิภาพ ด้วยความรอบคอบ และรวดเร็วเท่าที่จะทำได้)
นอกจากเคล็ด(ไม่)ลับเกี่ยวกับการ เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ แล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ‘ตัวช่วยร้านอาหาร FoodStory POS’ จัดการง่ายทุกยอดขาย รับชำระเงินสบายหลายช่องทาง บริหารคลังวัตถุดิบและตรวจสอบพนักงานอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมรายงานการขายและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหมดกว่า 500 ฟีเจอร์ เพื่อยกระดับการให้บริการร้านอาหารโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีการปรับระบบให้รองรับการบริหารร้านบุฟเฟ่ต์มากขึ้น เช่น
- มีระบบ Inventory ที่ช่วยจัดการสต็อกได้อย่างละเอียด สามารถเปิดใบ PR PO GR และตัดสต้อกได้อย่างแม่นยำ
- ระบบ POS จัดการร้านค้า ให้บริการสะดวกด้วย Ipad สูงสุด 5 เครื่อง
- ลูกค้าสามารถใช้ Mobile Order สแกนสั่งอาหารเองได้เพื่อประหยัดเวลาและรวดเร็ว
- พนักงานสามารถใช้ Mobile Staff ( Android ) รับออเดอร์เอง เปิดโต๊ะเอง สั่งอาหารเองได้
- ระบบจัดรูปแบบโต๊ะภายในร้านตาม Layout จริง เพื่อลดข้อผิดพลาด
- ระบบจัดการเปิด-ปิด เมนูได้แบบเรียลไทม์
- ระบบจัดการคิว และระบบจับเวลาเข้ารับบริการ
- ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มและย่อได้อย่างง่ายดาย
- รองรับการชำระเงินหลากหลายช่องทาง ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และการสแกน QR Code จากสมาร์ทโฟน
- ระบบรายงานยอดขายและผลเชิงลึก สามารถวิเคราะห์ต่อยอดธุรกิจ สร้างยอดขายและกำไรมากขึ้น
เปิดร้าน บุฟเฟ่ต์ ในยุคปัจจุบัน อาจจะพบเจอปัญหาในเรื่องของต้นทุน ค่าใช้จ่าย ที่เป็นยอดค่อนข้างสูง FoodStory POS สามารถช่วยลดต้นทุน ลดความผิดพลาด ในการรับออเดอร์ได้ด้วยระบบสแกนสั่งอาหาร Mobile Order ที่จะช่วยให้พนักงานเหนื่อยน้อยลง และประหยัดเวลาในการรับลูกค้าอีกด้วย สนใจทดลองใช้ระบบฟรีหรือปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ …
FoodStory POS ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
ทดลองใช้ระบบฟรี: https://link.foodstory.co/APR-Content03
โทร: 065-513-7744 กด 1
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr