เริ่มต้นเปิดร้านกาแฟ
สำหรับชีวิตใครหลายคน คงอยากมีธุรกิจเล็กๆ สักอย่าง อยากทำธุรกิจที่ตัวเองมีความสุข และร้านกาแฟก็เป็นหนึ่งในธรกิจยอดฮิตในช่วง เกือบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะได้รับอิทธิพลจากร้านกาแฟดังจากต่างประเทศ ที่เข้ามาทำตลาดเปิดในเมืองไทย มีร้านกาแฟเปิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ใครๆ ก็อยากจะมีร้านกาแฟ แต่ก็มีหลายร้านที่ปิดตัวลง เนื่องจากมีผู้แข่งขันในตลาดจำนวนมาก คนที่จะอยู่ได้ในธุรกิจนี้ จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ทำการบ้านและพยายามปรับตัวให้ทันยุคสมัย หากมองว่า มีร้านกาแฟเกิดขึ้นเยอะแยะ แล้วจะอยู่รอดเหรอ ท่านคิดผิดแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบก็เหมือนร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านหมูแดงแหละที่มีอยู่ทั่วไป ร้านไหนทำได้รสชาติดี อร่อยก็อยู่ได้ แต่ปัจจุบันร้านกาแฟจะแข่งกันที่บรรยากาศของร้านและรูปร่างหน้าตาของกาแฟและขนมที่แปลกตามากกว่ารสชาติที่แตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างดีกับดีเยี่ยม แต่หากถามว่าถ้าให้เลือกทำธุรกิจอะไรสักอย่าง หากจะเลือกร้านกาแฟ ก็ไม่ผิดในตอนนี้ ถ้าคุณคิดว่าคุณมีความสุขกับการได้ดื่มกาแฟ และมีความสุขกับมัน และขั้นตอนการเตรียมตัวก็มีดังนี้

1. สำรวจความพร้อม
พร้อมหรือไม่ที่จะทุมเทกับร้านของคุณ ทุนทรัพย์พอมั้ยที่จะลงทุนเพราะร้านกาแฟร้านหนึ่งต้องลงทุนไม่ใช่น้อยเพราะต้องหมดไปกับค่าตบแต่งให้สวยงาม เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกผ่อนคลายในช่วงเวลาพักผ่อนของเขา และกำไรต่อแก้วก็ไม่ได้มีมากมาย เพราะไม่ได้ขายแบบเคาน์เตอร์ที่ใช้กาแฟบดสำเร็จในการชง ร้านกาแฟจริงๆจะเน้นที่คุณภาพของกาแฟและการบริการ ไม่ใช่ปริมาณหรือราคาถูก การจะคืนทุนนั้นยากพอสมควรหากไม่มีโลเคชั่นที่ดี
2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวให้มากๆ
การหาข้อมูลนั้นสำคัญมากไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร เพราะที่จะสามารถศึกษาตลาดและรูปแบบการบริการร้านกาแฟที่ประสบความสำเร็จ โดยอาจจะหาผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ หรือโดยการหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาการชงกาแฟในแบบต่างๆ สุดท้ายก็ลงเรียน ชงกาแฟ สัก 2-3 ที่ ก่อนไปเรียนก็ พยายามสร้างคำถามไว้ในใจว่าจะไปถามอะไรบ้างตอนเรียนนะ เพราะเหมือนกับเรามีความรู้อยู่ระดับหนึ่ง แล้วไปทบทวนเพิ่มเติม เพื่อนประสบการณ์จริงไปใช้จริง ที่สำคัญอย่าอายครูและเพื่อนร่วมชั้น ต้องพยายามกอบโกยวิชาให้ได้มากที่สุด
3. การมองหาทำเลขุมทรัพย์
ปัจจัยที่สำคัญอีกหนึ่งที่สำคัญมากๆที่จะตัดสินการอยู่รอดของร้านกาแฟของท่านคือทำเล ไม่ใช่ว่าจะสุ่มสี่สุ่มห้าเปิดร้านกาแฟที่ไหนก็ได้เพราะอาจะเกิดหายนะที่กลุ่มลูกค้าในบริเวณนั้น ไม่เข้าร้านเลย ควรเลือกอย่างรอบคอบและไตร่ตรองให้มากๆว่าลูกค้าเราคือใครและอยู่บริเวณใด ร้านเราสามารถตอบโจทย์ของกลุ่มลูกค้าในบริเวณนั้นได้หรือไม่

ปั๊มน้ำมัน หากมองในมุมนักลงทุนแล้วก็เป็นสถานที่แรกที่คนอยากเปิดร้านกาแฟเพื่อฟันผลกำไร อาจจะมาจากประสบการณ์ของผู้ใช้บริการปั้มน้ำมัน และเห็นว่าเป็นธุรกิจควบคู่ปั้มน้ำมันไปแล้ว แต่บางปั้มเปิดแล้วอยู่ไม่รอดก็มีนะ ปั๊มที่จะอยู่รอดต้องเป็นจุดที่คนส่วนใหญ่แวะ เช่น ปั้มที่อยู่ระหว่างเส้นทางออกสู่ต่างจังหวัด เหมือนกับว่าพอขับรถมาได้ระยะหนึ่งอยากพักหรือแวะเข้าห้องน้ำก็แวะทานกาแฟด้วย เป็นต้น หรือก็ต้องเป็นปั้มที่ใหญ่สะอาดพอสมควรเป็นต้น แต่อย่าลืมว่าปั๊ม ใหญ่ๆ ทำเลดีก็เป็นของกาแฟปั๊มรายใหญ่หมดแล้ว ที่เหลือก็เป็นปั้มที่ไม่ค่อยมีใครเอานะ เพราะทำเลไม่ดี
ออฟฟิศ สำนักงานกลางเมืองแห่งธุรกิจ ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่แย่งและแข่งกันกันพอดู บางตึกกลางเมือง มีร้านกาแฟ 2-3 ร้าน ก็ต้องสู้กันยิบตา แข่งกันสร้างลูกค้าประจำและโปรโมชั่นที่ดึงดูดลูกค้าจากอีกร้านให้มาใช้บริการ
ร้านกาแฟย่านช็อปปิ้งมอลล์ เช่น ย่านอารีย์ สุขุมวิท ทองหล่อ เป็นต้น สถานที่ดังกล่าวอาจจะดี แต่ก็ปัญหาคือค่าเช่าที่แพงนั้นเอง
ห้างสรรพสินค้าหรือตลาดนัดยุคใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะปัจจบันนักลงทุนเริ่มสร้าง market place ของตัวเองเพื่อกินค่าเช่าและเป็นแห่งรวมช็อปสินค้า ทานอาหารหรือสถานที่พบปะในการ meeting เพื่อนฝูง แต่ต้องมั่นใจว่าร้านตัวเองนั้นจะอินดี้พอจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เสพติดความแปลกใหม่
4. อุปกรณ์ประจำร้าน
หลายต่อหลายคนหมดค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อครื่องชงกาแฟหลายแสน เปิดได้สักปีก็ปิดกิจการ ขายเครื่องคืนเหลือไม่กี่บาท หรือขายไม่ได้ เก็บไว้ชงกินเอง
การเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟและอุปกรณ์กาแฟนั้น เป็นสิ่งถูกต้องที่สุดว่าเครื่องชงราคาแพงจะได้คุณภาพน้ำกาแฟที่ดีด้วย แต่ถ้าซื้อเครื่องขนาดสองแสนกว่าบาทมาชงขาย แก้วละ 20-35บาท ปกติราคานี้หักค่าวัตถุดิบ ไม่รวมค่าเช่า ค่าพนักงาน จะมีกำไรประมาณ 10 กว่าบาท เอาไปหารค่าเครื่องเอาว่าเมื่อไหร่จะคืนทุน ถ้าขายดี ก็โชคดีไป ถ้าขายไม่ได้ก็โชคร้าย
วิธีการเลือกเครื่องชงกาแฟที่ดีที่สุดเลือกให้เหมาะกับขนาดธุรกิจ และกลุ่มลูกค้า เช่นจะขายสัก 30-35 ก็เครื่องชงสัก 5 หมื่นก็พอโอเค ถ้าจะขายสัก 40-50 บาทขึ้นก็ เครื่องเป็นแสนเอาเลย เพราะอย่างน้อยคุณคงมีเงินค่าแต่งร้านอีกหลายแสนอยู่แล้ว
5. วางแผน เพื่อแก้ก่อนเกิดปัญหา
หลายต่อหลายคนทำธุรกิจโดยไม่เห็นความสำคัญกับการวางแผน เพราะคิดว่าแค่ชงกาแฟเป็น ชงอร่อย ทำเลดี ก็น่าจะขายได้แล้วตามการบอกกล่าว ของคนขายกาแฟทั่วไป พอเปิดร้านจริงปัญหาร้อยแปดจะมาในทันที ถ้ามีงานประจำอยู่บอกได้เลยว่าเตรียมวันพักร้อนให้พอ หรืออาจจะต้องเลือกด้วยซ้ำว่าจะเลือกอะไรระหว่างงานประจำหรือร้านของตัวเอง ถ้าไม่ทำงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบก็เฝ้าร้านรอแก้ปัญหาเลย ขนาดคนอื่นที่วางแผนการทำธุรกิจไว้แล้วยังต้องปวดหัวเลยแล้วถ้าคุณไม่วางแผนไว่หละ ปัญหาจะมาร้อยเท่าพันเท่าเลย การวางแผนธุรกิจ ก็คือการวาดแผนว่าจะขายใคร จะมียอดขายสักเท่าไหร่ที่ตนเองจะต้องการ เพื่อที่จะพอจ่ายค่าเช่าร้านและเกิดกำไร จะหาเม็ดกาแฟจากที่ไหนจะขายราคาเท่าไหร่ จะมีขนมอะไรบ้างที่ดึงดูดลูกค้า จะสร้างโปรโมชั่นแบบไหน ควรจะมีเด็กในร้านกี่คน ภายในร้านควรมีอะไรบ้าง จะติดอินเตอร์เน็ท ให้บริการฟรีหรือเก็บค่าบริการต่อการใช้ เรื่องเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ล่วงหน้าทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ การวางงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดในแต่ละวัน อาจจะต้องหาผู้ช่วยหรือระบบที่สามารถช่วยบันทึกและคำนวนการขายได้ อย่างเช่นระบบร้านอาหารหรือกาแฟ และก็เรื่องจะหาเงินจากไหนมาหมุนให้ธุรกิจกาแฟอยู่ต่อไปได้
และที่สำคัญที่สุด ในโลกใบนี้มีคนที่อยากทำโน่นทำนี่มากมายแต่มีคนที่สนใจจะทำหรือลงมือในวันนี้แค่ 40 เปอร์เซ็นต์ เห็นจะได้ เพราะคิดว่าตนไม่พร้อม อยู่ตลอดเวลา บางคนก็รอให้พร้อมมีเงินเก็บมากมายก็อายุปาไปแล้ว 50 – 60 ปี แต่รู้ไหมว่า ถ้าทำผิดพลาดแล้วตอนนั้นนะมันลำบากมากมาย ถ้าในวันนี้ยังมีแรงกาย แรงใจ และแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการเต็มที่ก็ลองสำรวจตัวเองและลงมือเลย เพื่อตามความฝันของคุณให้เป็นจริง
#บริหารร้านอย่างมืออาชีพง่ายๆด้วยiPad
#FoodStory #POS #RestaurantManagement #โปรแกรมร้านกาแฟ #ระบบร้านกาแฟ #บริหารร้านกาแฟ #ครบครันร้านกาแฟ#ควบคุมต้นทุนอาหาร #Buffet #CoffeeCafe #FoodTruck #โปรแกรมร้านอาหาร
อ้างอิง / ข้อมูลจาก brarista.wordpress.com

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/blog-opencoffeecafe
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr