
จุดเริ่มต้นของคนมีฝันอยากทำธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่มักปักจุด start กันที่ ‘ร้านในตลาดคนเดิน’ หรือที่เรียกกันว่า ‘Street Food’ เพราะใช้ทุนต่ำและไม่ยุ่งยาก แต่การเปิดร้านในตลาดคนเดินและงานแฟร์สตรีทฟู้ดความจริงแล้วคุ้มไหม และมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่มือใหม่อยากลุยควรเตรียมพร้อม FoodStory มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากกัน
รู้หรือไม่? ร้านในตลาดคนเดินมีมูลค่าสูงกว่า Full Service
แม้ว่า ร้านอาหารไทยตามตลาดหรืองานแฟร์สตรีทฟู้ดอาจดูเงียบเหงากว่าก่อนโควิดแพร่ระบาด ทว่าข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3352) กลับพบว่า ในปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะเติบโต 2.7%-4.5% จากปี 2565หรือมีมูลค่า 4.18-4.25 แสนล้านบาท โดยร้านแบบ Full Service ยังต้องเผชิญกับความท้าทายและมีมูลค่ารวมของตลาดตามหลังกลุ่มร้านในตลาดคนเดินหรือสตรีทฟู้ดกว่า 0.3-0.4% เลยทีเดียว แถมรายได้ของ Street Food ที่มีหน้าร้าน และ Limited Service อาจกลับไปสูงกว่าก่อนโควิดได้ ดังนั้น หากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหารการเปิดร้านในตลาดคนเดินหรือมีหน้าร้านเป็น Street Food ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลย
จุดแข็งที่ทำให้ร้านในตลาดคนเดินได้เปรียบ

ส่วนจุดแข็งหรือข้อดีของการเปิดร้านในตลาดคนเดินเป็นประจำหรืองานแฟร์สตรีทฟู้ดเฉพาะกิจ เช่น ออกบูธห้าง THAIFEX จ๊อดแฟร์ เป็นต้น ที่ทำให้ได้เปรียบมากกว่าร้านอาหารกลุ่มอื่นมีอยู่ 6 หัวใจสำคัญหลัก ดังนี้
1) ต้นทุนต่ำ
หากเทียบต้นทุนของร้านในตลาดคนเดินหรือการออกงานแฟร์สตรีทฟู้ด กับร้านอาหารใหญ่ Full Service แล้ว ผู้ประกอบการสามารถตัดค่าใช้จ่ายให้ทุนต่ำกว่าหลายเท่า ทั้งการลงทุนกับการตกแต่งหน้าร้าน ค่าเช่าทำเลดีรายเดือน ค่าบริการพนักงานหลายตำแหน่ง เป็นต้น รวมแล้วขั้นต่ำหลายแสนไปจนถึงหลักล้าน ขณะที่ร้านในตลาดคนเดินมีเงินเพียงหลักพันถึงหลักหมื่นก็เริ่มต้นลงทุนได้ทันที
2) กลุ่มเป้าหมายชัดเจน
เพราะกว่า 80% ของคนที่เดินตลาดและงานแฟร์สตรีทฟู้ดมักพุ่งตัวมาหาของกิน ร้านในตลาดเลยได้เปรียบเรื่องมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน อยู่ที่ทำเลไหนจะมีคนกลุ่มไหนหนาแน่นเป็นพิเศษ ต่างจากห้างสรรพสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย แต่บางครั้งอาจแวะมาทำธุระ ซื้อสินค้า หรือเดินเล่นมากกว่าทานอาหาร
3) ไม่ต้องเน้นความต่าง แต่หากมีจุดเด่นยิ่งเพิ่มโอกาสขาย
ร้านในตลาดคนเดินไม่จำเป็นต้องเน้นความต่าง เพียงแค่จำเป็นต้องเน้นความอร่อย ราคาคุ้มค่า และไม่ซ้ำกับร้านอื่นในตลาดเดียวกัน แต่หากมีจุดเด่นหรือไอเดียแตกต่างก็ยิ่งเพิ่มโอกาสขายให้ดียิ่งขึ้นไปอีก สังเกตได้จากร้านรุ่นใหม่ที่ดังใน TikTok จากร้านยอดขายหลักพันก็สร้างให้ปังจนทำเป็นแฟรนไชส์ขยายสาขาและมีกำไรหลักแสนถึงหลักล้านได้
4) ยืดหยุ่นสูง
ร้านในตลาดส่วนใหญ่มีความยืดหยุ่นสูงมาก หากไม่ใช่ตลาดดังหรืองานแฟร์อาจไม่จำเป็นต้องจองล่วงหน้า มาขายวันไหนก็จ่ายค่าเช่าที่วันนั้น แน่นอนว่า จะเปลี่ยนทำเล ปรับเวลาขาย หยุดพัก หรือเลิกกิจการเมื่อไหร่ก็ไม่มีปัญหา
5) มีกำไรและทุนหมุนเวียนแบบวันต่อวัน
ด้วยความที่ร้านในตลาดขายง่ายและลูกค้าต้องแวะมาทานเป็นประจำทำให้ร้านในตลาดส่วนใหญ่สามารถสร้างกำไรและเก็บเป็นทุนหมุนเวียนสภาพคล่องแบบวันต่อวัน
6) บริหารจัดการง่าย สต๊อกไม่ซับซ้อน
ส่วนการบริหารจัดการในร้านและเตรียมสต๊อกอาจขึ้นอยู่กับขนาดร้านในตลาด แต่มักจะไม่ซับซ้อน สามารถใช้สมุดจดบันทึกได้ เว้นแต่มีช่องทางการขายหลายช่องทาง เช่น หน้าร้านและออนไลน์ เป็นต้น รวมถึงเมนูอาหารเยอะและสต๊อกวัตถุดิบหลากหลาย ควรเพิ่มระบบ FoodStory POS เพื่อประมวลผลคำนวณเงินแม่นยำ เช็คสต๊อก รายงานผลการขาย และทราบข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปวางแผนเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายอีกครั้ง
จุดอ่อนและความเสี่ยงของร้านในตลาดคนเดิน

นอกจากจุดแข็งแล้ว การเปิดร้านในตลาดคนเดินหรืองานแฟร์สตรีทฟู้ดเฉพาะกิจก็มีจุดอ่อนและความเสี่ยงด้วยเหมือนกัน เช่น
1) การแข่งขันสูง
ด้วยความที่ง่ายและต้นทุนต่ำเลยมีคนพร้อมจะเข้ามาลุยเปิดร้านในตลาดคนเดินเสมอ หากไม่แข่งที่ ‘ราคา’ ก็ต้องแข่งกันที่ ‘รสชาติ’ แต่ถ้าเริ่มต้นไวก็มีโอกาสสร้างฐานลูกค้าขาประจำได้มากขึ้น
2) ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
เพราะร้านในตลาดคนเดินหรืองานแฟร์มักจัดอยู่ในหมวดลูกค้ารายย่อยเลยไม่ได้มีการทำสัญญาประกันราคาหรือจัดทำวัตถุดิบเอง เลยอาจเกิดปัญหาจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบเปลี่ยนไปตามราคาตลาดแต่ละวันหรือตามฤดูกาล (หากไม่มีการจัดการบริหารสต๊อกล่วงหน้าอาจเกิดปัญหาขาดทุนได้เลย)
3) การหาพื้นที่เช่า
ความเสี่ยงจากการไม่สามารถหาพื้นที่เช่า หรือไม่สามารถต่อสัญญาพื้นที่เช่า โดยเฉพาะในพื้นที่ทำเลดีและค่าเช่าไม่แพง
4) ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศหรือเหตุไม่คาดฝัน
กรณีเปิดร้านในตลาดหรืองานแฟร์บนลานกว้างไม่มีหลังคาอาจเจอปัญหาความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะอุปสรรคในช่วงฤดูฝน หรือเหตุไม่คาดฝันต่างๆ เช่น โดนสั่งปิดจากการแพร่ระบาดของโรค เป็นต้น
5) หากทำคนเดียวอาจมีเวลาพักผ่อนน้อยหรือผิดพลาด
อีกหนึ่งคำถามสำคัญคือ หากเปิดร้านในตลาดคนเดียวจะไหวหรือไม่ เพราะมีเวลาพักผ่อนน้อยลงกว่าปกติมาก ต้องตื่นแต่เช้าไปจัดเตรียมสต๊อก เช็คความพร้อมของวัตถุดิบและอุปกรณ์ ตั้งร้าน ทำอาหารและให้บริการลูกค้า ไปจนถึงทำบัญชีรายรับรายจ่ายและจัดการบริหารเบื้องหลังให้เป็นระบบ เป็นต้น
หากเปรียบเทียบระหว่าง ‘จุดแข็ง’ และ ‘จุดอ่อน’ ของการเปิดร้านในตลาดคนเดินหรืองานแฟร์สตรีทฟู้ดเฉพาะกิจ แล้วพบว่า ร้านอาหารรูปแบบนี้ยังคงเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ FoodStory ขอเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนให้ทุกท่านพร้อมลุย ด้วยระบบ FoodStory POS ตัวช่วยร้านอาหารอันดับหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับทุกการทำงานในร้านอาหาร กว่า 500 ฟีเจอร์ พร้อมให้คำปรึกษา โดยที่มผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้ระบบฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น คลิกเลย!

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/restaurantfairblog
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr