fbpx Skip to content
สำรวจธุรกิจร้านขนมหวาน และแนวทางการดำเนินกิจการ

เปิดร้านขนมหวาน ยังไงให้ยอดขายปัง คนติดตรึม!

ก่อน เปิดร้านขนมหวาน เรามารู้จักจุดเริ่มต้นคร่าว ๆ ของขนมหวานกันก่อนดีกว่า ขนมหวานนั้นคืออาหารชนิดหนึ่งที่นิยมทานภายหลังจากรับประทานอาหารคาว ในภาษาอังกฤษขนมหวานใช้คำว่า “dessert” ซึ่งมีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “desservir” แปลว่า “เพื่อเก็บโต๊ะ” ดังเห็นได้จากเมื่อบริกรจะบริการของหวาน จะต้องเก็บอาหารอื่นๆ ที่ได้รับประทานเสร็จให้เรียบร้อย ทำความสะอาดโต๊ะ แล้วจึงบริการของหวาน ในภาษาไทยคำว่า “ขนม” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “เข้าหนม” ซึ่งหมายความว่าข้าวหวาน ซึ่งเมื่อพิจารณาส่วนประกอบการทำขนมไทยโบราณนั้นทำมาจากแป้งเป็นหลัก โดยมีน้ำาตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ขนมหวานนั้นมีที่มา ตั้งแต่ในสมัยโบราณจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์ การรับประทานขนมนั้นสามารถทำได้ในหลายโอกาสเช่น งานบุญสำคัญหรืองานนักขัตฤกษ์ วัตถุดิบสำคัญของขนมคือน้ำตาล ทำให้รับประทานแล้วรู้สึกว่าร่างกายมีพลังงาน จนถึงปัจจุบันเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการรับประทานขนม ยังคงเป็นที่นิยมอยู่เสมอ ในชีวิตประจำวันหากต้องการบริโภคขนมหวานสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าทั่วไป ทางเลือกหนึ่งในการบริโภคขนมหวานคือการใช้บริการจากร้านอาหารที่ขายขนมหวานโดยเฉพาะ

ชานม

ปัจจุบันทางเลือกการเข้าร้านอาหารของผู้บริโภคมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น การเข้าร้านอาหารทั่วไปที่จำหน่ายอาหารคาวเป็นหลัก ซึ่งสามารถเลือกอาหารได้หลากหลายประเภท นอกจากการรับประทานอาหารมื้อปกติแล้ว การเข้าร้านอาหารที่ขายขนมหวานเป็นหลักเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้บริโภคกำลังนิยมรับประทานเพราะความสะดวกที่ได้จากร้านขนมหวาน รสชาติที่อร่อยของขนม ลักษณะของขนมที่ดูสวยงาม และบรรยากาศของร้านที่ดีเหมาะกับการพบปะพูดคุยกับคนรู้จัก 

จัดโต๊ะ

ธุรกิจของหวานในเมืองไทยมีการแข่งขันกันสูงมาก มีร้านขนมหวานประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อตลาดร้านขนมหวานเดิมที่หลายคนติดภาพเก่าๆว่าร้านขนมหวานคือร้านไอศกรีมและร้านเบเกอร์รี่ เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนมีการสวิซซ์ไปรับประทานของหวานแบบใหม่ที่หลากหลายขึ้น ทำให้ช่วง 9 ปีที่ผ่านมาร้านขนมหวานแบบเก่า ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งรูปแบบเมนู ขนาด และโปรโมชั่นส่งเสริมการขยายเข้ามาร่วมมากขึ้น และทิศทางของตลาดขนมหวานส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์คล้ายกับธุรกิจแฟชั่นต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลา ซึ่งหากแบรนด์ไหนสามารถอยู่ได้นานถึง 2 ปีนั่นแปลว่าแบรนด์สามารถอยู่ได้ในตลาดเมืองไทยแล้ว

มูลค่าตลาดขนมหวานและขนมชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยระหว่างปี 2552-2557 (หน่วย : ล้านบาท)

‍ที่มา: Sweet and Savoury Snacks in Thailand, สืบค้นจาก. http://www.euromonitor.com/ sweet-and-savoury-snacks-in-thailand/report

‍ที่มา: Sweet and Savoury Snacks in Thailand, สืบค้นจาก. http://www.euromonitor.com/ sweet-and-savoury-snacks-in-thailand/report

ธุรกิจร้านกาแฟยังคงเป็นดาวรุ่งที่มีการเติบโตสูงอยู่ทุกปีเฉลี่ย 10-15% โดยมีการประเมินว่ามีมูลค่าอยู่ราว 17,000-18,000 ล้านบาท โดยเป็นร้านกาแฟที่เป็นแฟรนไชส์ 75% และร้านกาแฟทั่วไป 25% ด้วยความหอมหวานของธุรกิจนี้ ผสมกับพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทยที่มีความนิยมมากขึ้น ทำให้มีแบรนด์ต่างชาติตบเท้าเข้ามา ร่วมถึงแบรนด์ไทยเองก็อัพเลเวลในการต่อกรกับแบรนด์ยักษ์มากขึ้น

ตลาดธุรกิจขนมหวานไทยในปีหน้า

บิงซู

แนวโน้มการเติบโตของตลาดธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการปรับตัวของผู้ประกอบการต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นหลัก หากพิจารณาความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคโดยอ้างอิงจากรายได้เฉลี่ยและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน จะพบว่า ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2556 รายได้และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกัน โดยรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระดับประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน เป็น 25,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 6.0 ต่อปี
และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระดับ 12,000 บาทต่อเดือนเป็น 19,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 5.0 ต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ผู้บริโภคมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น

กราฟรายได้

หากพิจารณาการเติบโตของรายได้และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนของประเทศไทยในเมื่อช่วง 10 ปีก่อน ตั้งปี 2547 – ปี 2556 การเติบโตโดยหลักมาจากจังหวัด/หัวเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย อันเกิดจากการขยายของเมือง และการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่และเพิ่มความหลากหลายของอาชีพ โดยจากตัวอย่างจังหวัด/หัวเมืองใหญ่ของประเทศไทย จังหวัดอุดรธานี พิษณุโลกและอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของรายได้ต่อครัวเรือนสูงสุดที่อัตราร้อยละ 10.3 ร้อยละ 8.9 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนจังหวัดอุดรธานี พิษณุโลก และอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมสูงสุดที่อัตราร้อยละ 11.0 ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ

กราฟเส้น

สำหรับการปรับตัวของผู้ประกอบการต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบที่จะต้องปรับตัวให้ทันและสามารถตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ด้วยเหตุเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย รวมถึงสังคม ส่งผลให้โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการเลือกอาหาร และร้านอาหารของผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคบางส่วนตัดสินใจเลือกไปทานร้านอาหารตามเพื่อนในโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

สำหรับมูลค่าตลาดของธุรกิจคาเฟ่ในประเทศไทยEuromonitor คาดว่า จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10,172.3 ล้านบาท ในปี 2562 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตสะสมเฉลี่ยระหว่างปี2558 - 2562 ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี

กลยุทธ์การปรับตัวจากร้านกาแฟสู่คาเฟ่ต์ขนมหวาน

กลยุทธ์ที่น่าสนใจของร้านกาแฟที่ต้องการเพิ่มความหวานให้แก่ลูกค้าคือการปรับตัวยกระดับขึ้นเป็นคาเฟ่อย่างเช่นการที่ Starbucks ให้น้ำหนักกับเมนู “ขนมหวาน” มากขึ้น เริ่มจากการเป็นพาร์ทเนอร์กับร้านขนมหวาน After You ในการนำเมนูยอดนิยมอย่าง ชิบูย่าฮันนี่ โทสต์ และ ช็อคโกแลตบราวนี่ พร้อมกับสร้างสรรค์เมนูขนมหวานอื่นๆ เช่น เบอร์-รี่ครัมเบิลแพนเค้ก บานอฟฟี่ครัมเบิลแพนเค้ก และอัฟโฟกาโต จำหน่ายที่สาขาแรกที่รีเสิร์ฟ เอ็กซ์พีเรียนบาร์ เมกะบางนา โดยล่าสุดได้ขนทัพขนมหวานเพิ่มอีกเพียบ ได้แก่ ช็อกโกแลต วูปปี้พาย, มัฟฟินดับเบิ้ลช็อคโกแลต , โดนัท ช็อกโกแลต, เค้กเรดเวลเว็ท, บอสตันครีมพาย, สตาร์บัคส์ ซิกเนอเจอร์ช็อคโกแลต และ Pandan Custard Brix ที่เป็นเมนูไฮไลท์ เป็นขนมปังไส้สังขยาใบเตยรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ มีลักษณะคล้ายกับชิบูย่า ฮันนี่โทสต์

toast

การเสริมทัพด้วยเมนูขนมหวานจะช่วยอะไรได้บ้าง

1.ยอดการซื้อต่อบิลของ Starbucks สูงขึ้น จากเดิมซื้อแค่กาแฟ แต่ซื้อขนมหวานทานเพิ่ม

2.ลูกค้าใช้เวลาอยู่ในร้านได้นานขึ้น โดยมียอดการซื้อเพิ่มขึ้น จากเดิมที่อาจจะซื้อกาแฟแล้วนั่งทำงานทั้งวัน แต่มีขนมหวานเข้ามาเพิ่ม

3.มีการเข้าใจพฤติกรรมของคนไทยมากขึ้น ซึ่งคนไทยชอบเข้าร้านคาเฟ่ ชอบทานขนมหวาน ชอบถ่ายรูปเมนูสวยๆ ยิ่งกระตุ้นให้มาใช้บริการบ่อยขึ้น

4.สามารถเพิ่มรายได้ในสัดส่วนเบเกอรี่ให้โตขึ้น เพื่อรับกับผู้บริโภคที่ไม่ดื่มกาแฟ แต่มาทานขนมหวานได้

5.ทำให้แบรนด์ Starbucks ใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น มีความทันสมัย มีการพัฒนาเมนูใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ยังมีขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าไปสู่การบริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ เช่น งานสังสรรค์ งานแต่งงาน งานจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

แนวทางการดำเนินกิจการ เปิดร้านขนมหวาน ให้ประสบความสำเร็จ

after you

แนวทางการจัดจำหน่ายขนมหวาน ถือเป็นเรื่องของศิลปะที่ละเอียดอ่อน หลักการที่สำคัญคือต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และศึกษาลักษณะการรับประทานของลูกค้า ทั้งยังต้องพิจารณาชนิดของขนมที่ขายอีกด้วย ทั้งนี้ร้านที่ประสบความสำเร็จก็มีอยู่มากและล้มเหลวก็มีอยู่เยอะเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาจากคนที่ประสบความสำเร็จแล้วก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจในการปรับปรุงหรือนำไปใช้วางแผนธุรกิจขนมของคุณได้เช่นกัน

เมื่อเอ่ยถึงตลาดหลักทรัพย์หลายคนจะรู้สึกว่ายิ่งใหญ่มาก มีธุรกิจที่เติบโตเข้าสู่ตลาดหุ้นมากมาย แต่ใครเลยจะคิดว่าร้านขนมก็มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกัน และร้านขนมที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้คือ After You ที่บริหารงานโดยคุณ เม กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ นั่นเอง ซึ่งกว่าจะถึงวันนี้ได้ After You ได้ผ่านประสบการณ์ในการทำธุรกิจแบบครบวงจรมาอย่างมากมายและมีความมั่นใจว่าจะนำพาความอร่อยของขนมไปไกลถึงต่างแดนอีกด้วย หากถึงวันนั้นสิ่งที่เธอจะได้รับคือความภาคภูมิใจแบบสุด ๆ นั่นเอง ดังนั้นแนวคิดจากคุณเมอาจจะช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เกิดไอเดียและพลังในการทำธุรกิจให้ก้าวไกลไปในทิศทางเดียวกับ After You ก็ได้ มาดูกันว่าแนวคิดของเขาจะมีอะไรบ้าง

after you

1. ความสำเร็จเริ่มต้นมาจากความชอบ 
ถ้าพูดถึงความชอบแล้ว คุณเมสามารถประกาศได้เลยว่าเป็นคนที่ชอบทานขนมมาก เมื่อทานแล้วก็มักจะวิเคราะห์ขนมที่ตนเองทานไปด้วยโดยเฉพาะเรื่องรสชาติ ความอร่อย การนำสิ่งนั้นมาผสมผสานกับสิ่งนี้ จนเกิดเป็นสูตรขนมใหม่ ๆ ความชอบทานขนมของคุณเมจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานที่ก่อเกิดธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ตามมา

2. ความรู้เกิดจากการทดลอง

ต้องบอกก่อนเลยว่าคุณเมไม่ได้เรียนเรื่องของการทำขนมมาโดยตรง ความรู้เกี่ยวกับขนม รสชาติของขนมจึงเกิดจากการทดลองเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ตัวเองเป็นสถานที่ทดลอง อย่างเวลากินขนมหากกินไปแล้วเลี่ยน ก็จะกลับไปลดความหวาน ซึ่งคุณเมจะสนใจรายละเอียดเล็ก ๆ ตรงนี้มาก

3. สินค้าดีมีคุณภาพ

การที่ธุรกิจจะติดตลาดและไปได้ไกลนั้น คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งที่คู่กัน หากในเรื่องของขนมก็ต้องได้รับการพยักหน้าว่าอร่อยจริง ปริมาณโอเค หน้าตาของขนมชวนรับประทาน ซึ่งถ้าสินค้ายอดเยี่ยมแล้ว การบริหารจัดการในเรื่องอื่น ๆ ก็จะตามมา

4. คิดเมนูใหม่ ๆ เสมอ

ด้วยความเป็นคนไม่หยุดนิ่งทางความคิด คุณเมมักคิดเมนูขนมใหม่ ๆ เสมอ เพราะอย่างน้อยก็ขจัดความเบื่อของลูกค้าไปได้ ที่สำคัญคือแต่ละเมนูต้องผ่านการทดลองการทำมาแล้วว่าอร่อยจริงจึงค่อยนำเสนอลูกค้า แต่หากเมนูไหนลูกค้าไม่โอเคคุณเมก็จะตัดออกไป เรียกว่าเป็นการคัดสรรเมนูอย่างแท้จริง

5. รายละเอียดเลียนแบบกันไม่ได้

คุณเมบอกว่าขนมไม่ใช่ของที่กินเพื่อให้อิ่ม แต่เป็นของที่กินแล้วอยากฟินมันต้องสุด ดังนั้นคุณเมจะจัดเต็มปากเพราะรู้ว่าลูกค้าจะรู้สึกได้ว่ามันเป็นของดี คุณเมจะใส่ใจในรายละเอียดมาก เช่น ปริมาณของเนย อุณหภูมิที่ใช้ในการอบ เมื่ออบเสร็จแล้วต้องเสิร์ฟเร็วขนาดไหน ถึงแม้คนอื่นอาจจะก็อปปี้รสชาติได้ง่าย แต่ในรายละเอียดแล้วไม่สามารถเลียนแบบกันได้ 

after you

6. สิ่งที่เราชอบกับสิ่งที่ลูกค้าชอบไม่เหมือนกัน

เนื่องจาก After You มีลูกค้าจำนวนมากที่หลากหลาย แน่นอนว่าสิ่งที่คุณเมชอบกับสิ่งที่ลูกค้าชอบย่อมมีบ้างที่ไม่เหมือนกัน หากคุณเมพบว่าลูกค้าไม่ชอบก็ต้องเอาออกไป ถึงแม้คุณเมจะเห็นว่ากินแล้วอร่อยก็ตาม

7. ใส่ใจความรู้สึกของลูกค้า

เรื่องความรู้สึกของลูกค้าเป็นอะไรที่คุณเมใส่ใจมาก ถึงแม้จะมีจะมีขนมแบบเดียวกันแต่รสชาติอร่อยกว่า แต่หากลูกค้าชอบแบบเดิมแล้ว คุณเมจะไม่เปลี่ยนเพราะไม่อยากทำร้ายจิตใจของลูกค้า และหมั่นตรวจเช็คว่าเมนูไหนที่ขายดีเป้นที่ต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาต่อยอดและพัฒนาสูตรต่อไปในอนาคต รวมถึงอย่าลืมใส่ใจลูกค้าเก่าผ่านระบบ CRM ให้ยังคงวนเวียนแวะมาทานที่ร้านบ่อย ๆ เพราะคนกลุ่มนี้ถือเป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญที่ช่วยสรา้งทั้งยอดขายและบอกต่อไปยังลูกค้าใหม่ ๆได้นั่นเอง

8. ลงมือทำด้วยตัวเองก่อนถ่ายทอด

แน่นอนว่าในการทำร้านขนมจนมีชื่อเสียงและมีหลายสาขานี้ คุณเมต้องมีพนักงานที่ต้องดูแล แล้วถามว่าคุณเมมีหลักการถ่ายทอดในสิ่งที่ต้องบอกแก่พนักงานอย่างไร เธอบอกว่าต้องรู้ทุกสิ่งด้วยตนเองก่อนที่จะบอกให้คนอื่นรู้ เราต้องการถ่ายทอดให้เขารู้ว่าเป็นแบบไหนตามที่เราต้องการ

9. เสิร์ฟขนมทำสดใหม่จานต่อจาน

เราคงจะคุ้นชินกับอาหารตามสั่งที่ทำจานต่อจานแล้วเสิร์ฟ แต่ใครเลยจะคิดว่าขนมก็สามารถทำสดใหม่จานต่อจานได้ โดยคุณเมได้นำไอเดียนี้มาใช้ในการเสิร์ฟขนมที่ทำสดใหม่จานต่อจาน โดยเริ่มทำที่สาขาแรกที่ เจ อเวนิว ทองหล่อ ปรากฏว่าได้ผลการตอบรับเป็นอย่างดี มีคนต่อคิวรอกันอย่างหนาแน่นทุกวันตั้งแต่เมื่อ 9 ปีที่แล้วปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่

10. การต่อคิวยาว คนนั่งเต็มร้าน

จุดเด่นที่เห็นกันชินตาของร้าน After You ที่อดพูดถึงไม่ได้นั่นก็คือการที่ลูกค้ารอต่อคิวยาว ๆ เพื่อจะได้รับประทานขนมอร่อยจากทางร้าน ซึ่งนับเป็นจุดขายที่ดี ที่ทำให้ลูกค้าใหม่ก็อยากรู้ว่าอร่อยจริงหรือไม่ และลูกค้าเก่าก็พอใจที่ตนมีคนเห็นด้วยว่าร้านนี้เขาดีจริง ไม่เช่นนั้นคงไม่มีใครอยากรออะไรนาน ๆ แน่

11. การประชาสัมพันธ์

หลายคนสงสัยว่าคุณเมมีวิธีประชาสัมพันธ์สินค้าหรือร้านอย่างไร ซึ่งเธอบอกว่าขนมเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคมันจะทำการประชาสัมพันธ์ด้วยตัวของมันเอง เป็นการบอกปากต่อปาก หรือถ้ามีเมนูใหม่ ๆ คุณเมจะลงสื่อให้ลูกค้าได้เห็นบ้าง ผ่านทางโซเชียลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอินสตาแกรม เฟซบุ๊ค และเว็บไซต์ของ After You

12.  การขยายสาขาที่รวดเร็ว

การขยายสาขาหมายถึงการเติบโตของธุรกิจ After You ได้ขยายสาขาถึงปัจจุบัน จำนวน 15 สาขา และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเท่านี้ ซึ่งคุณเมให้ข้อคิดว่าในการขยายสาขาว่า  ไปแล้วดีเราก็ไปเร็วขึ้น ใจเราเต็มร้อยกับทุกที่ที่เราไป เรารู้รายละเอียดเยอะมาก เช่น ความสูงของเก้าอี้ที่ประมาณไหนนั่งแล้วสบาย อุณหภูมิของร้าน เสียงเพลงว่าดังประมาณไหน พอทุกอย่างเริ่มนิ่ง เราก็เดินไปได้

13.ถามตัวเองก่อนชอบขายหรือชอบทำ

หลายคนอยากทำธุรกิจแล้วเติบโตแบบนี้บ้าง คุณเมให้ข้อคิดว่าต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณเป็นคนชอบขายของ หรือชอบทำขนม หรือชอบทำกาแฟ หากคุณตอบตัวเองได้ก็คงจะดี ร้านจะมีเสน่ห์มาก แต่ถ้าคุณชอบทำขนมแต่ไม่ชอบขายของบอกได้เลยว่ามันจะเหนื่อยมาก ถ้าจะให้ดีก็ต้องเป็นทั้งคนชอบขายของและเป็นคนชอบทำขนมด้วย ความชอบแพ็คคู่แบบนี้ก็จะช่วยเสริมให้ธุรกิจก้าวไปไกลได้

14. หาแรงบันดาลใจได้จากทุกที่

แรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง หากถามว่าคุณเมได้แรงบันดาลใจมาจากไหน เธอบอกว่าได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคุยกับลูกค้าสักพักก็จะมีคำพูดอะไรขึ้นมา ซึ่งเธอก็จะรีบจดไว้ หรือไม่ก็ไปสถานที่แห่งไหนเธอจะไปเองได้เสพทุกอย่างใหม่ ๆ ล้วนเป็นสิ่งสร้างแรงบันดาลใจทั้งสิ้น

15. ทำธุรกิจแล้วดีมานเยอะก็อยากไปให้ไกล

ในการทำธุรกิจที่คุณเมคลุกคลีมาตลอดนั้น คุณเมได้เห็นว่าธุรกิจไปได้ด้วยดีลูกค้าเยอะ ก้าวต่อไปคืออยากไปให้ไกลแบบสุด ๆ โดยการคิดขยายสาขาไปทั่วประเทศรวมถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งถ้าไปถึงจุดนั้นได้เธอบอกว่าจะเป็นความภูมิใจสุด ๆ ไปเลย และหลายคนเริ่มได้ยินว่า After You นั้นได้ทำการเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะต้องการขยายต้องการทุนเพิ่มแล้วด้วย นับว่าความคิดของเธอกำลังเป็นรูปร่างอย่างที่ใจอยากให้เป็น

street food

ข้อคิดท้ายบทความ

“พฤติกรรมการรับประทานขนมหวานของคนไทยถือว่ามีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราไม่สามารถตอบได้ว่าเทรนด์ไหนจะมาแรง เทรนด์ไหนจะหายไป ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่สำคัญ เมื่อมีโอกาสก็ควรขยายสาขาเข้าไปในย่านที่มีศักยภาพ และจับจังหวะในช่วงเวลานั้นๆให้ดีด้วย”

GoodFood GoodStory

เพื่อนคู่คิดร้านอาหารที่ดีที่สุด เพราะเราเข้าใจที่สุด

ให้ร้านอาหารของคุณกลายเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดด้วย FoodStory POS ระบบจัดการร้านอาหาร อย่างมืออาชีพเพียงปลายนิ้วสัมผัส ระบบจัดการร้านอาหารอันดับหนึ่งในไทย

#FoodStory #RestaurantManagement

FoodStory POS: เพราะร้านอาหารที่ดี ต้องเริ่มต้นที่ระบบที่ดี
✅ ทดลองใช้ระบบฟรี: คลิกที่นี่เลย!
โทร: 065-513-7744
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr