ตั้งแต่สื่อออนไลน์เข้าถึงผู้คนในวงกว้าง การทำคอนเทนต์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการสร้างแบรนด์และเข้าถึงลูกค้า แต่หากทำพลาดคอนเทนต์นั้น ๆ จะกลายเป็นดาบสองคมที่หวนกลับมาทำร้ายแบรนด์เอง
รูปแบบการนำเสนอ และข้อควรระวังในการสื่อสารของแบรนด์
รูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ เช่น การทำคอนเทนต์แบบตามกระแส (Topical Content), คอนเทนต์ที่ไม่มีวันหมดอายุ (Evergreen Content) เป็นต้น
แต่ข้อควรระวังที่แบรนด์ต่าง ๆ รวมถึงธุรกิจร้านอาหารควรระวังหลัก ๆ มีอะไรบ้าง ควรปรับตัวในการทำคอนเทนต์อย่างไร ไปดูกัน
1. คอนเทนต์ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
ปัญหาสำคัญที่คนทำคอนเทนต์มักเจอ คือ การทำคอนเทนต์โดยไม่ตั้งกลุ่มเป้าหมายก่อนว่า เราทำคอนเทนต์นี้ไปเพื่ออะไรและเพื่อใคร ทำให้รูปแบบคอนเทนต์ที่สื่อออกมาดูไม่แน่ชัดว่าสื่อสารกับใคร ส่วนนี้เองจะทำให้เพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ เข้าถึงกลุ่มคนได้ยากมากขึ้น
2. คอนเทนต์แฝงนัยการเมือง ศาสนาและความเชื่อ
การทำคอนเทนต์แฝงนัยการเมือง ศาสนาและความเชื่อ สามารถทำให้ธุรกิจของเราปังหรือพังได้ในชั่วข้ามคืน การเลือกทำคอนเทนต์จึงต้องพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมาย (Target) จุดยืนของแบรนด์ (Core Value) รวมถึงความถูกต้องและเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทโดยรอบ
3. คอนเทนต์สื่อสารไม่เหมาะกับสื่อ
อย่างที่ทราบกันดีว่าสื่อออนไลน์ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่หลาย ๆ แบรนด์มักผลิตสื่อออกมารูปแบบเดียว แล้วเลือกนำไปใช้กับทุกแพลตฟอร์ม ทำให้คอนเทนต์ไม่ถูกส่งต่อไปยังลูกค้าอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น การนำคอนเทนต์รายการทีวีอัปโหลดลง Facebook ตลอดทั้งรายการ 1-2 ชั่วโมง หรือการนำงานวินิจัยลง Facebook โดยไม่มีการย่อยข้อมูลเป็นภาพ Infographic ที่เข้าใจง่าย เป็นต้น
แนวทางของคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์ม

การทำคอนเทนต์บน Facebook สามารถทำได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ความรู้ การนำเสนอเทคนิคการทำธุรกิจร้านอาหาร หรือการแชร์เรื่องราวดี ๆ
แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่คนทำคอนเทนต์พึงระวัง คือการนำเสนอในรูปแบบที่สื่อความง่าย ชัดเจน เช่น การสื่อสารผ่าน Infographic 1 ชิ้นที่เก็บใจความสำคัญของคอนเทนต์ครบถ้วน
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: วันพฤหัสบดี, วันศุกร์ และวันเสาร์ เวลา 13.00-16.00 น.
ข้อควรระวัง: ไม่สื่อสารหลายประเด็นเกินไป ย่อยข้อมูลให้อ่านง่าย แต่ยังเก็บสาระได้ครบ
สื่อสารด้วยภาพ และแคปชันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น พร้อมแฮชแท็กที่สามารถค้นหาและติดตามกันได้
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: วันพุธ และวันอาทิตย์ เวลา 19.00-21.00 น.
ข้อควรระวัง: อย่าทำคอนเทนต์แบบ Perfect จนเกินไป เน้นความ Real และเข้าถึงง่าย
Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่เด็กรุ่นใหม่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จุดเด่นที่สำคัญของ Twitter คือ สั้นกระชับได้ใจความ ตรงประเด็น
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: วันจันทร์-วันศุกร์ ช่วงเวลาเร่งด่วน หรือพักเที่ยง
ข้อควรระวัง: คิดอย่างรอบคอบก่อนทำคอนเทนต์ แสดงความเป็นจริง (ใจ) และถูกเวลา
LINE OA
LINE OA ถือเป็นแพลตฟอร์มที่คัดกลุ่มเป้าหมายมาเรียบร้อยแล้ว จากการที่ลูกค้ากดเพิ่มเพื่อนเข้ามา ดังนั้นจึงควรนำเสนอคอนเทนต์ที่สื่อสารถึงสินค้าโดยตรง อาจมีข่าวสารหรือข้อมูลแทรกได้เล็กน้อย
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหารบน LINE OA อาจส่งสารถึงลูกค้าด้วยโปรโมชันจากทางร้าน หรือค่าส่งฟรีสำหรับลูกค้าที่เพิ่มร้านเป็นเพื่อนแล้ว เป็นต้น
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-12.00 น.
ข้อควรระวัง: การใช้เครื่องมือการสื่อสารกับลูกค้า เพราะ LINE OA เมื่อส่งสารไปแล้วแก้ไขไม่ได้
Youtube
จุดเด่นที่การทำคอนเทนต์บน Youtube ขาดไม่ได้คือความบันเทิงขณะดู โดยเฉพาะการทำธุรกิจร้านอาหาร การทำวิดีโอคอนเทนต์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะวิดีโอสามารถสื่อความน่าทานของอาหารได้ และสามารถนำไปใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่าง Facebook, Instagram, LINE OA ได้
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เวลา 12.00-16.00 น.
ข้อควรระวัง: ตั้งวัตถุประสงค์การสื่อสารคอนเทนต์ สอดคล้องกับระยะเวลาวิดีโอ
TikTok
หลายคนมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำคอนเทนต์ TikTok ค่อนข้างยาก เพราะต้องกระชับฉับไวกว่าแพลตฟอร์มอื่นค่อนข้างมาก บางครั้งการสื่อสารของคอนเทนต์ยังไม่ครบ แต่ต้องตัดจบให้ไวเพื่อให้ดูน่าสนใจและเข้ามาดู จึงทำให้เก็บความที่ต้องการจะสื่อได้ไม่ครบ
แต่ข้อดีคือ สามารถทำ Challenge กับสินค้าได้จนทำให้เกิดเป็นคอนเทนต์ที่เป็นกระแส (Viral Content) จากการจัดแคมเปญบน TikTok นั่นเอง
ช่วงเวลาที่เหมาะสม: ทุกวันโดยเฉพาะหลัง 20.00 น. แต่ไม่เกิน 22.00 น.
ข้อควรระวัง: เลือก influencer ที่ตรงกับสินค้า เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด
#FoodStoryเป็นกำลังใจให้ทุกคน

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/blog-warning-content
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr