หลายปีที่ผ่านสนามเดลิเวอรีเริ่มขยายตัวในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 แบบนี้ เดลิเวอรีกลายเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับร้านอาหารทำให้การแข่งขันในสมรภูมินี้ยิ่งเข้มข้นมากขึ้น
การตัดสินใจของลูกค้าจึงขึ้นอยู่กับการเข้าถึงร้าน รูปภาพอาหารตรงปก รสชาติอาหาร รวมถึงการจัดส่งที่รวดเร็วไม่หกเละเทะ เหล่านี้กลายเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ลูกค้าเลือกทานร้านบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรีหรือไม่ แต่จะมีส่วนใดอีกบ้างที่ร้านอาหารสามารถทำเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงนี้ได้ มาดูกัน!

6 เช็กลิสต์ขายดี เมื่อต้องแข่งในสนามเดลิเวอรี
1.จำนวนเมนู ประเภทอาหาร และแพ็กเกจจิ้งที่เหมาะสม
จริงอยู่ที่เมื่อเปิดร้านอาหารมาการมีตัวเลือกเมนูที่เยอะเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้ลูกค้า แต่เมื่อมองกลับมาในแอปฯ เดลิเวอรี การมีเมนูที่เยอะไปทำให้ลูกค้าเลือกไม่ถูกหรือบางครั้งอาจจะดูไม่ครบและกดปิดไป
ประเภทอาหาร เป็นอีกเรื่องที่ต้องคำนึกถึงว่าประเภทที่ทำนั้นเหมาะสมและคุ้มต้นทุนหรือไม่ เช่น อาหารประเภทสดที่ต้องทานทันที หรืออาหารที่ต้องมีหน้าตาที่สวยงามย่อมมีผลเมื่อต้องนำมาจัดส่งเดลิเวอรี
ในกรณีที่ร้านต้องการขายสินค้าที่ยังคงหน้าตาสวยงาม เช่น เค้กเบเกอรีต่าง ๆ การคัดสรรแพ็กเกจจิ้งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการเลือกแพ็กเกจจิ้งต้องเหมาะสมกับปริมาณ เหมาะสมกับอุณหภูมิของอาหาร และปิดได้มิดชิดไม่หกเละเทะ จะช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้
2.อาหารตรงปกและรวดเร็ว
แน่นอนว่าเรื่องอาหารตรงปกและรวดเร็ว คือจุดเด่นของการแข่งขันในสนามเดลิเวอรี เพราะลูกค้าไม่สามารถรับหรือสร้างประสบการณ์จากบรรยากาศร้านได้เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นภาพลักษณ์ที่จะสร้างความประทับใจและเกิดการซื้อซ้ำจุดเริ่มต้นคือ รสชาติและราคาเหมาะสม และสิ่งที่พิจารณาตามมาคือ อาหารตรงปกและรวดเร็ว นั่นเอง
3.ควบคุมต้นทุน
อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำร้านอาหารหลัก ๆ ของต้นทุนจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนแปรผัน (Variable Cost)
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เช่น ค่าเช่าพื้นที่, ค่าเช่าร้าน, ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ
- ค่าเช่าไม่ควรเกิน 10% ของยอดขาย และควรขยับขยายพื้นที่เป็นพื้นที่ทำครัวมากกว่าพื้นที่นั่งในร้าน
- ค่าจ้างแรงงานประมาณ 10-15% ของยอดขาย
ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost)
- เช่น ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์, ค่าแก๊ส เป็นต้นทุนที่ร้านอาหารพอคาดการณ์ได้ระดับนึงเท่านั้น แต่หากร้านสามารถควบคุมควบคู่กับต้นทุนคงที่ในแต่ละเดือนได้ จุดคุ้มทุนและกำไรก็ไม่ไกลเกินเอื้อม
4.ค่าบริการระบบเดลิเวอรี (GP)
ทุกวันนี้ร้านอาหารมีตัวเลือกการเข้าร่วมแอปฯ เดลิเวอรีหลายช่องทาง การเลือกใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ไม่ควรตัดสินแค่ว่า ร้านต้องไม่เสียค่าบริการระบบเดลิเวอรี หรือค่า GP เท่านั้น แต่เจ้าของร้านอาหารควรเริ่มต้นจากการประเมินผลดีและผลเสียของทั้งการเข้าร่วม GP หรือไม่เข้าร่วม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร้านอาหารเอง
ข้อดีของการเข้าร่วม GP
- ค่าส่งต่อระยะทางถูกกว่าเจ้าอื่น
- เข้าถึงลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น
- อาจมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายกว่าร้าน Non-GP
- อาจมีช่องทางการโปรโมตจากแอปฯ เดลิเวอรีเพิ่มเติม
ข้อเสียของการเข้าร่วม GP
- ร้านต้องเสียค่า GP ที่อาจอยู่ระหว่าง 30-35% ต่อออเดอร์
- เพิ่มต้นทุนให้ร้านอาหารเอง โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องจัดโปรโมชัน
5.ใช้หลัก Social Proof
หลักจิตวิทยา Social Proof เป็นหลักที่นักการตลาดมักนิยมใช้กันคือ การพิสูจน์ด้วยสังคม ซึ่งทำได้ทั้งจากคนรู้จัก เพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ สังคมบอกต่อ หรือแม้แต่การรับรอง ก็ทำได้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น การที่คนมุ่งหน้าร้านเยอะ ๆ ก็จะทำให้คนเชื่อว่าร้านนั้นอร่อย หรือถ้าเป็นร้านเดลิเวอรีก็ใช้หลักนี้ได้ด้วยการเป็นที่พูดถึงบนโลกโซเชียลมีเดียนั่นเอง
6.เก็บข้อมูลลูกค้า
การสร้างให้เกิดการซื้อซ้ำ (Retargeting) เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำร้านอาหารที่นับเป็นธุรกิจที่เกิดอัตราการซื้อซ้ำได้บ่อย ดังนั้นเมื่อเปิดร้านบนแอปฯ เดลิเวอรีบางเจ้าจะปกปิดข้อมูลของลูกค้าทำให้เราไม่สามารถสร้างโอกาสการซื้อซ้ำได้ หากมีโอกาสการรวบรวมข้อมูลลูกค้าไว้เอง ย่อมมีประโยชน์แก่ร้านอาหาร และสร้างโอกาสให้ร้านสร้างรายได้ซ้ำอีกครั้งได้
ตัวอย่างเช่น การสร้างระบบสะสมแต้มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า หรือการสร้าง LINE OA เพื่อส่งข่าวสารโปรโมชันให้แก่ลูกค้าได้โดยตรง
FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/Blog-6-checklists-delivery
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr