
ปัจจุบันการเปิดร้านอาหารสิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกเหนือจากการขายของให้ได้แล้วนั้น ก็ต้องมีระบบการจัดการที่ดีเข้ามาช่วย เพื่อที่จะให้การจัดการร้านอาหารของเรานั้นง่ายขึ้น พอพูดถึงระบบการจัดการร้านในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นเรื่องของเครื่องบันทึกการขายหรือเรียกง่ายๆแบบที่เรารู้จักคือ pos และคำถามต่อมาคือถ้าเราจะซื้อเครื่องบันทึกการขาย หรือเครื่อง POSมาใช้ จะต้องแจ้งต่อกรมสรรพากรก่อนหรือไม่ แล้วการใช้เครื่องบันทึกการขายจะต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือเปล่า คำถามพวกนี้คงเกิดขึ้นกับตัวคุณอย่างแน่นอน
ก่อนอื่นเรามาทราบก่อนว่าใครบ้างที่จะต้องมีหน้าที่ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการขาย
ให้ดูจากการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat หากคุณไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ได้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก็ไม่ต้องกังวลอะไร เพราะมันไม่มีอะไรต้องเกี่ยวข้องกับกรมสรรพากรเลย
แต่ในทางกลับกันหากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ ทางกฎหมายแล้วผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อ
แล้วใบกำกับภาษีคืออะไร???
ใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่จะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการของเรา โดยที่ใบกำกับภาษีทำหน้าที่แสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งบางครั้ง ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีสามารถอยู่ในใบเดียวกันได้ แต่ต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง ตามที่สรรพากร กำหนด เพราะฉะนั้นถ้าหากร้านค้าของคุณมีลูกค้าเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน การที่จะต้องมานั่งเขียนนั่งพิมพ์เอกสารเพื่อออกใบกำกับภาษีแบบเต็มให้กับลูกค้าคงไม่สะดวก เครื่องบันทึกการขายจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้

ซึ่งการออกใบกำกับภาษีอย่างถูกต้องนั้น ต้องออกโดยผู้มีสิทธิออกเท่านั้น!! ซึ่งตรงนี้ต้องเน้นย้ำก่อนว่า “ธุรกิจที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่านั้น” ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ถ้าหากไม่ใช่ธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วล่ะก็ ห้ามออกใบกำกับภาษีเด็ดขาดเลย เพราะจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายกรณี “ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก” ถ้าหากเราดันไปออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก จะถือว่ามีความผิด ตามมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวนพร้อมเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษี ตามมาตรา 89(6) แห่งประมวลรัษฎากรย้ำ 2 เท่า!!!!!! ของจำนวนภาษี และเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องรับผิดทางอาญาโทษจำคุกสามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันถึงสองแสนบาท ตามมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร
สรุปโทษของการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกง่ายๆ
“คือ จ่ายภาษีสูงสุด 4 เท่า (ภาษี + เบี้ยปรับ 2 เท่า + เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษี) พร้อมโทษอาญา”

และในปัจจุบัน กรมสรรพากรมีแผนเข้าไปแนะนำร้านอาหารให้เชื่อมระบบคิดเงิน pos กับระบบบัญชีอย่างง่ายของกรมสรรพากร เพื่อให้การเสียภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นการช่วยร้านค้าในการลงบัญชีอย่างถูกต้อง รวมถึงไปแนะนำให้ร้านค้าออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องด้วย เป็นการช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารได้อีกแรงหนึ่งเลยทีเดียว
สามารถดาวน์โหลดเอกสารและศึกษาขั้นตอนการยื่นได้ทาง website ด้านล่างนี้

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/blog-notmissrevenue
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr