คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ธุรกิจร้านอาหารไทย” เป็นหนึ่งธุรกิจที่คนไทยนิยมมาลงทุนกันเป็นอันดับต้นๆ ในอเมริกา
อาหารไทย ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมในอเมริกาทำให้ร้านอาหารไทยหลายต่อหลายแห่งทั่วอเมริกาต่างประสบความสำเร็จ แต่หากว่ามีร้านอาหารไทยในอเมริกาจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลง เพราะหลายๆปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการขาดประสบการณ์ การบริหารและขาดความรู้
วันนี้ FoodStory จึงอยากนำขั้นตอนการเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ มาให้ความรู้แก่ท่าน และเพื่อเป็น Case Study สำหรับคนที่อยากลงทุนธุรกิจอาหารในต่างประเทศด้วย

ภาพรวมในการเริ่มดำเนินธุรกิจครั้งแรกจะคล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ บทความนี้ขอเข้าไปลึกนิดหนึ่งในกรณีที่เราต้องการเป็นเจ้าของกิจการ (ร้านอาหารไทย) โดยเฉพาะนักลงทุนไทยที่ต้องการมาลงทุนในอเมริกาหรือ ใครที่สนใจทั่วไปที่สนใจจะเปิดกิจการเป็นของตัวเอง
การจะเปิดร้านอาหารนั้น ถ้าเคยมีประสบการณ์ในการบริหารร้านอาหาร การที่เคยทำงานในร้านอาหารในประเทศนี้ จะช่วยให้การดำเนินการง่ายขึ้น อย่างน้อยคุณก็ได้สัมผัส ถึงเบื้องหน้าและเบื้องหลังมาก่อน

ถ้าไม่มีประสบการณ์อะไรเลย เคยทำแต่ธุรกิจประเภทอื่นๆ มาแล้วอยากลองมาแนวนี้จะเริ่มอย่างไร?
1.) Choosing States, รัฐไหนที่คุณอยากเปิดร้านอาหาร

ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญ เพราะคุณควรต้องจดทะเบียนบริษัทในรัฐที่คุณจะเปิดร้าน ถ้าเป็นไปได้ให้จดทะเบียนที่ร้านที่คุณจะเปิด แต่ไม่จำเป็นเสมอไปคุณสามารถใช้ที่อยู่ที่ไหนก็ได้ในอเมริกาในการจดทะเบียนบริษัทเพื่อประกอบกิจการ โดยที่คุณสามารถจดทะเบียนต่างรัฐได้แต่ยังไงคุณต้องไปลงทะเบียนเพื่อทำธุรกิจในรัฐที่คุณจะทำการเปิดกิจการอยู่ดี ก็จะยุ่งยากมากกว่านั้นเอง
2.) Type of Business Entity, เลือกรูปแบบของกิจการ

เราขอแนะนำรูปแบบที่นิยมในการจดทะเบียน ซึ่งมีด้วยกันสองรูปแบบ ควรเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจร้านอาหารของคุณ และทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป กรณีคุณเป็นนักลงทุนจากประเทศไทย คุณก็มีสิทธิ์เลือกได้เช่นกันเพราะการจัดตั้งบริษัทแบบนี้ทางรัฐบาลท้องถิ่นจะอนุญาตให้ต่างชาติจดทะเบียนได้
2.1 Limited Liability Company (LLC) — บริษัทจำกัด
เป็นการร่วมลงทุนจากผู้ถือหุ้นหลายราย โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะรับผิดชอบหนี้สินของบริษัทไม่เกินมูลค่าที่ตนถืออยู่ ทั้งนี้บริษัทจำกัดจะต้องทำการจดทะเบียนและมีคำว่า “LLC” ต่อท้ายชื่อบริษัท การคิดภาษีจะเหมือนกันกับรูปแบบการลงทุนแบบบริษัท (Corporations) อย่างไรก็ดีบริษัทจำกัดเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐฯ มากที่สุดในขณะนี้เนื่องจากมีโครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย
ถ้าคุณเป็นซิติเซ่น หรือกรีนการ์ด ไม่มีการร่วมลงทุนกับคนต่างประเทศ เช่นคนไทยที่ถือวีซ่าประเภทอื่นๆ คุณจดทะเบียนแบบนี้จะง่ายมาก แล้วเรียกที่จะเสียภาษีแบบ Small Corporation (S-Corp) ก็จะลดภาระภาษีไปได้ส่วนหนึ่ง
2.2 Corporation (Inc., Corp. Incorporated., etc., ขึ้นอยู่กับ Stage) — องค์กรบริษัท
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนจากประเทศไทย และร่วมลงทุนกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่อเมริกา แนะนำให้จดแบบ Corporation เพราะ ถ้ามีต่างชาติร่วมลงทุน คุณไม่สามารถจะยื่นภาษีแบบ S-Corp ได้ มีผลทำให้ คนที่นี่ต้อง จ่าย Self- Employment at 15% จาก Net Income เจ้าของกิจการร้านอาหารที่นี่บางท่านทราบจุดนี้ดีจากประสบการณ์ แต่ท่านหลายๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย CPA หรือ Lawyer จะจัดการให้หมด
ข้อเสียของการจดแบบ Corporation คือ Double Tax กรณีที่มีการจ่ายปันผล คงนึกถึงบ้านเราที่บริษัทมีหน้าที่จ่ายภาษีจากกำไร พอจ่ายปันผลผู้ถือหุ้นถึงมาเสีย เหมือนกันเลย แต่คุณต้องวางแผนในการจ่ายปันผล ไม่จำเป็นไม่ต้องจ่าย เอาไว้ขยายร้านและลงทุนต่อ ถ้าคุณอยากใช้เงินจากร้าน คุณรับเป็นเงินเดือนไป รับโบนัสไปก็ไม่มีใครว่า และคุณไม่ต้องมากังวลเรื่อง การจ่ายเงินปันผล
3.) Doing Business As (DBA), จดทะเบียนชื่อร้าน

คุณต้องขออนุญาตจากทาง เสตท โดยการจด DBA กรณีที่ชื่อหน้าร้านอาหาร ไม่ตรง กับ ชื่อบริษัทที่จดทะเบียน เช่น ชื่อบริษัท ABC, ร้านชื่อ “อร่อยมาก” ถ้าอยากประหยัดเวลาทำงานขั้นตอนเดียวจบ ให้จดบริษัทตรงกับชื่อร้านจะสะดวกที่สุด
4.) Federal Employer Identification Number (FEIN), ขอเลขประจำตัวนายจ้าง

หลังจากจดทะเบียนเรียบแล้วแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้ขอเลขประจำตัวนายจ้างกับ the IRS(กรมสรรพากรแห่งสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเรียกว่า Federal Employer Identification Number (FEIN) ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณสามารถขอออนไลน์ได้ถ้าหากไม่สะดวกไปเอง หรือไม่ก็ส่งฟอร์มเป็นจดหมายกลับไปที่ the IRS
5.) Business Account & Merchant Account, บัญชีและธุรกรรมสำหรับธุรกิจ

5.1 Open Business Banking — เปิดบัญชีสำหรับธุรกิจ
ควรเปิดบัญชีธนาคารในนามของกิจการ และแนะนำให้เปิดกับธนาคารที่คุณเป็นลูกค้าประจำเพราะจะได้สะดวกรวดเร็ว กรณีที่คุณเป็นนักลงทุนมาจากประเทศไทย ถ้าคุณไปเปิดธนาคารที่ใกล้ร้าน ขอเป็นธนาคารมีชื่อหน่อยจะได้ทำธุรกรรมออนไลน์สะดวกได้ทุกที่ทุกแหล่ง ธนาคารใหญ่ที่สุดในอเมริกาสี่แห่ง คือ Bank of America, J.P. Morgan Chase (รู้จักกันในชื่อ Chase), Citigroup และ Wells Fargo & Company โดยการเปิดบัญชีกับธนาคารใหญ่ๆนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะธนาคารเหล่านี้มักจะมีธนาคารลูกหรือธนาคารในเครืออยู่ในประเทศของคุณด้วย เช่น Bank of America เป็นเครือเดียวกับ Barclays คุณจึงสามารถใช้บัตรของ Barclays ได้กับตู้ ATM ของ Bank of America ทุกตู้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอน, การแลกสกุลเงินหรือค่าธรรมเนียมระหว่างประเทศ เป็นต้น
เอกสารที่ใช้ก็คือทุกอย่างที่เกี่ยวกับกิจการนั้นหละ ที่กล่าวตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 3 จากนั้นคุณก็นำเอกสารทั้งหมดพร้อมกับรอยยิ้มดิ่งไปหานายธนาคารเลย เท่านี้คุณก็มีบัญชีธนาคารของร้านแล้ว ต่อไปจะซื้อจะจ่ายอะไรให้ใช้เงินในบัญชีของร้าน พยายามอย่าใช้จากบัญชีส่วนตัว ให้นำเงินส่วนตัวฝากเข้าบัญชีร้านให้เป็นเงินสำหรับลงทุนก่อน จะได้ไม่สับสนทางด้านบัญชี
5.2 Opening Merchant Account for Credit Cards — เปิดบริการสำหรับรับบัตรเครดิต
ส่วนใหญ่ทุกธนาคารจะมีบริการเรื่องการรับเงินจากลูกค้าด้วยบัตรเครดิตควรจะสอบถามด้วยเพื่อความสะดวกสบายในการรับชำระเงิน ถ้าคุณไม่สนใจใช้บริการของธนาคาร ซึ่งจะมีบริษัทที่เป็นตัวเลือกให้อีกเยอะแยะ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ตราบใดที่คุณไม่เซ็นสัญญาระยะยาวกับที่ใดที่หนึ่ง กว่าร้านจะเปิดบริการให้หาข้อมูลจากหลายๆแหล่งเพื่อจะได้ตัดสินใจไม่พลาด แนะนำให้ใช้บริการของธนาคารที่เรามีบัญชี บริการอาจจะแพงหน่อยแต่สะดวกกว่ามาก กรณีที่คุณไม่มีเวลาหาบริษัทอื่นๆ
6.) Servery Location, มองหาทำเล ที่จะเปิดพร้อมๆกับ (ข้อ 1.) ในรัฐที่คุณจะเปิดร้าน

เลือกทำเลที่มีคนขาวเยอะๆจะดีกว่า (ปล.นี้ไม่ใช้การเหยียดผิว) เพราะว่ากลุ่มนี้กำลังซื้อสูงมาก และร้านจะปลอดภัยมากกว่า ร้านจะอยู่ในทำเลที่ดี ค่าเช่าจะแพง คุณตั้งเมนูราคาแพงได้ (จากประสบการณ์จริงของผู้ที่ทำงบให้ร้านอาหาร) ดูว่ามีที่จอดรถสะดวกหรือเปล่า เป็นย่านธุรกิจมั้ย หรือเป็นย่านที่อยู่อาศัย
*หากอยากรู้ว่า เมืองนี้ รหัสไปรษณีย์นี้ มีประชากรเท่าไร อย่างไร สามารถเช็คได้จากที่ City Data
หลายๆคนอยากมาลงทุนเพราะต้องการให้ลูกๆ ได้เรียนต่อที่นี่ ซึ่งคุณก็ค้นหา โรงเรียนดี ๆ ได้จาก รหัสไปรณษีย์ ตามเว็บไซด์ที่ขายอสังหาต่างๆ อย่างเช่น Zillow, Realtor, Google ฯลฯ ได้ทั้งหมด
6.1 Lease Agreement — สัญญาเช่าร้านอาหาร
พิจารณาค่าเช่าต่อปีและต่อเดือน ต้องทำสัญญากี่ปี เราต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง เช่น ให้ดูอัตรา Property Tax(ภาษีโรงเรือน) ของเมืองที่จะไปเปิดร้านโดยทั่วไป ควรจะศึกษาพวก Double Net/ Triple Net ด้วยว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร คือ แลนด์ลอดบางที่คิดค่าเช่า โดยที่ไม่รวมภาษีอาคาร บางที่รวมอัตราภาษีไปแล้ว ซึ่งก็จะแพงหน่อย ให้เราพิจารณาเป็นจุดๆไป ทุกอย่างต่อรองได้ เช่น ขอฟรีค่าเช่า 3 เดือนเพื่อสร้างร้าน หรือ ขอให้แลนลอร์ด ลดค่าเช่าให้ในปีแรก หรือ จะให้แลนลอร์ดช่วยจ่ายค่าปรับปรุงร้านครึ่งหนึ่ง หรือให้แลนลอร์ดจ่ายให้ทั้งหมดเลยก็ได้ กรณีเจอถ้าคุณเจอคนใจดีซึ่งก็มีอยู่จริงๆ
ข้อควรทราบ คือ ค่าเช่าส่วนใหญ่จะขึ้นทุกปี ไม่เกิน 3% ของอัตราค่าเช่า เหมือนกับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ
6.2 Leasehold Improvements — การปรับปรุงร้าน
ร้านที่เราจะไปลงทุนแบบไหน แบบที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้ว (กรณีไปซื้อร้านอาหารไทยเดิม), ร้านไม่มีอะไรเลย เป็นห้องเปล่าๆ หรือเป็นร้านอาหารประเภทอื่นๆ ที่เราจะมาดัดแปลงเป็นร้านอาหารไทย
ที่กล่าวมาคือ จะโยงกับทุนที่คุณมีเพราะการที่คุณจะทำร้านใหม่ ตกแต่งอุปกรณ์ใหม่ๆ คุณต้องตรวจสอบระเบียบของเมือง กรณีที่คุณต้องทำใหม่หมดเลย เพราะมีแค่ห้องเปล่า ๆ คุณจะใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร ที่สำคัญ ต้องหาผู้รับเหมาหรือสถาปนิกที่ไว้ใจได้ เข้าไปประเมินค่าก่อสร้างต่อเติม และผู้รับเหมา ส่วนใหญ่คุณควรเลือกคนที่มีลายเซ่น ถูกต้องในการก่อสร้าง เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สำคัญเขาต้องมีประกันด้วย เผื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น คุณในฐานะเจ้าของร้านจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบก่อนทำสัญญาคุณสามารถขอเอกสาต่าง ๆ เหล่านี้กับผู้รับเหมาได้ ควรจะมีผู้รับเหมามาประเมิน อย่างน้อยสามราย กรณีที่เราไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว เพราะคุณจะได้ทราบว่า เขาจะทำอะไรให้ได้บ้าง เราทำอะไรเองได้บ้าง การเลือกราคา อย่าเลือกที่ถูกที่สุด เพราะที่อเมริกาไม่มีของฟรีแต่ดีหรอก แต่ไม่ต้องถึงกับเลือกแบบที่แพงที่สุด
การต่อเติมตกแต่ง อาคารนั้น มีกฏหมายด้านการก่อสร้างเข้ามาเกี่ยวกับ ซึ่งขึ้นอยู่กับ City และ หรือ Country ส่วนใหญ่บางที่เขี้ยวลากดิน หรือเข้มงวดมากๆ
ควรจะคุยกับแลนด์ลอดด้วย เพราะ เขาจะมีข้อมูลเบื้องต้นให้เรา ว่าอันไหนเราทำได้ อันไหน เราทำไม่ได้ ให้ระวังงบบานปลายด้วย เพราะถ้าคุณเซ็นสัญญาเช่าแล้ว คุณก้าวออกมาไม่ได้แล้ว มีหลายเรื่องที่คุณควรทราบทั้งระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบไฟฟ้า สารพัด ทั้งทางเข้าออกสำหรับคนพิการ เดี๋ยวเจอคนพิการฟ้องเอาอีก ยุ่งเลย พี่ที่รู้จัก ต้องทำทางเดินให้คนพิการเข้ามาได้
7.) Licenses, ใบอนุญาตต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านอาหาร

7.1 Business License — ใบอุญาตธุรกิจ
- ส่วนใหญ่เอกสารตัวนี้ต้องขอจาก City ที่ร้านเปิดบริการ
7.2 Sales and Use Tax Certificate — ใบอนุญาติการขายและการเก็บภาษี
- เอกสารชุดนี้ขอได้จากรัฐ พร้อมกับ 7.3
7.3 State Unemployment Identification Number — หมายเลขประจำตัวผู้ว่าจ้าง
- ขอได้จากรัฐ พร้อมกับ เอกสารด้านภาษีขาย
7.4 Food Safety Certification — ใบรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร
- เอกสารตัวนี้ผู้จัดการ้านอาหารสามารถขอให้ได้ หรือไม่ก็เจ้าของกิจการขอเอง
7.5 Permit from Health Department — คำอนุญาตจากกรมอนามัย
- เอกสารชุดนี้ขอจาก City หลังจากที่ร้านพร้อมก่อนจะเปิดทำการ (ระบุในข้อ 11 ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ร้านพร้อมจะเปิดบริการ)
7.6 Certificate of Fire Department clearance — ประกาศนียบัตรจากกรมดับเพลิง
- เอกสารชุดนี้ขอจาก Country or City ขึ้นอยู่กับสังกัด ขอพร้อมก่อนเปิดทำการร้าน
7.7 Alcohol Licenses — ใบอนุญาตจำหน่ายแอลกอฮอล์ (กรณีที่ขาย)
- ขอได้จาก City หลังจากที่ได้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากทางรัฐ
ส่วนใหญ่แต่ละรัฐจะมี One-Stop-Services ซึ่งสามารถขอ ‘เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขประจำตัวนายจ้าง’ ได้พร้อมกันเลย เอกสารต่างๆเหล่านี้สามารถทำไปพร้อมๆ กันได้ เพราะเลขประจำตัวทั้งสองต้องใช้ในการโอน License ต่างๆกรณีที่ซื้อร้านต่อจากคนอื่น หรือไม่จะขอใหม่ก็ต้องใช้เอกสารเหล่านี้
ซื้อร้านอาหารไทยต่อจากเจ้าเดิม สามารถโอน License ต่างๆรวมทั้ง Alcohol License การโอน การจดทะเบียน ค่าน้ำ ค่าไฟ โอน โทรศัพท์ พวกนี้ทำได้ทั้งหมด หรือไม่ก็จดทะเบียนใหม่ไปเลยก็ได้ ถ้าเราไม่ได้ซื้อร้านต่อจากใครเราสามารถทำเองได้ โดยไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ แลนลอร์ด ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมากในกรณีแบบนี้
8.) Liability Insurances, ประกันต่าง ๆ ที่ทาง เจ้าของตึก ต้องการ

ก่อนเจ้าของตึกจะให้เราเข้ามาทำธุรกรรมต่างๆ ในตัวอาคาร เช่นการต่อเติม ส่วนใหญ่เขาจะให้เราซื้อประกันต่างๆก่อน และชื่อผู้รับผลประโยชน์ก็จะเป็นเจ้าของอาคาร แต่เราเป็นผู้จ่ายประกัน!!??! บางเมืองถ้ามีพนักงานมากกว่า 3 คน ต้องซื้อ Worker Compensation Insurance ในพนักงานอีกด้วย อันนี้ตัวแทนประกันเขาจะทราบดี ถามเขาได้ก่อน หรือถามแลนลอร์ดก็ได้ เขาจะมีข้อมูลเยอะและแนะนำเราได้ตลอด ดีที่สุดถ้าเราซื้อร้านอาหารต่อจากใครถามเจ้าของร้านเดิมได้เลย
9.) Kitchen Equipment and Furniture and fixtures, อุปกรณ์ภายในครัวและเฟอนิเจอร์ในร้าน

กรณีคนที่มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหาร จะทราบดีกว่าต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ให้ลิสไว้ก่อนให้เลย หรือสามารถดูรายชื่ออุปกรณืในครัวได้ที่ Food Service Resource ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์เลยคุณควรติดต่อกับคนที่มีประสบการณ์มาช่วยดูก็ได้ว่าต้องมีอะไรบ้าง บางเมืองการติดตั้งอุปกรณ์พวก ดูดควัน ดูดท่อน้ำทิ้ง เคร่งครัดมาก ต้องขุดเจาะ นอกร้านระยะห่างประมาณเท่าไร เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองเขา
ข้อแนะนำ คือ ให้ไปซื้ออุปกรณ์ร้านท้องถื่นที่เขาขายให้คุณ หรือร้านเดิมที่เคยเช่าเปิดมาก่อนคุณ และไม่ต้องทำอะไรมากมายพยายามซื้อจากที่เดียวกันหมดถ้าเป้นไปได้ อย่างน้อยร้านท้องถิ่นซึ่งเปิดมาเป็นระยะเวลานานหรือร้านเดิมที่ผู้เช่าเก่าเคยซื้อก็ผ่านการตรวจมาก่อนแล้ว และไม่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่
อุปกรณ์ตกแต่งร้านต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ออกแบบเองเลยว่าชอบแบบไหน ถ้าซื้อต่อจากร้านเดิม อยากใช้ของเดิก็เป็นทางเลือกที่ดีจะได้ประหยัดได้ส่วนหนึ่ง กรณีงบประมาณไม่มากให้ทำไปสักพักร้านมีกำไรค่อยทยอยปรับปรุงดีกว่า
10.) Menus, รายการอาหาร

จำเป็นอย่างยิ่งเตรียมไว้ให้ดีเลย พิมพ์ให้ดูสวยงาม มีโลโก้ร้าน ดูตัวอย่างจากร้านเดิมที่ซื้อมาก็ได้ หรือไม่ก็ทำขึ้นมาใหม่แบบของคุณเอง การดูเมนูร้านเดิมจะทำให้คุณได้ แนวคิดในการตั้งราคา(กรณีร้านเดิมเป็นร้านอาหารไทย)เพราะการจะขึ้นราคาอาหาร จะมีผลต่อยอดขาย
หากต้องการคิดราคาอาหารเพิ่ม ควรคิดเมนูใหม่ๆขึ้นมาที่ลูกค้าไม่รู้จักหรือไม่ชิน เพราะเขาจะได้ไม่รู้สึกว่าเราคิดราคาเพิ่ม ซึ่งจุดนี้ต้องดูเรื่องการตลาดให้ดีไปกินร้านอาหาร ระแวกนั้นหลายๆที่ เพื่อนำมาประกอบกับการตัดสินใจในการตั้งราคา
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็จะลดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่งอย่างเช่น E-Menu แทนเมนูรูปเล่มโดยที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงรายการอาหารหรือรูปภาพได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเงินพิมพ์เมนูเล่มใหม่ ใช้ได้นานและเพิ่มประสบการณืที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย หรือ Mobile Order ที่ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้เองจากสมาร์ทโฟนของลูกค้าเห็นรูปอาหารสวยงามและส่งเข้าครัวได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาพนักงานในการบริการด้านอื่นๆให้กับลูกค้า ก็จะช่วยลดจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ได้อีกด้วย (ค่าจ้างแรงงานแพงมว๊ากกก!!!) ท่านสามารถเลือกใช้ระบบของต่างประเทศ หรือระบบของ FoodStory ที่เป็นระบบร้านที่ทันสมัยที่สุด และของคนไทยแท้ๆได้ตามความชอบและความสะดวก
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FoodStory Website
11.) Health Department, หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

ทำในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ร้านจะเปิดบริการได้ คุณจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ไป โดยเขาจะมีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เขามาตรวจ ที่สำคัญก่อนจะติดต่อกับหน่วยงานนี้ควรจะให้ทำร้านให้เรียบร้อยพร้อมเปิดดำเนินการได้ก่อน เช่น คุณคาดว่าอีก15วัน ร้านน่าจะพร้อมเพื่อเปิดบริการ ให้รีบเริ่มทำเรื่องได้เลยเพราะใช้เวลานานพอสมควรกว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาทำการตรวจสอบ
12.) Accounting for Restaurant Business การทำบัญชีสำหรับร้านอาหาร

การบัญชีเกี่ยวกับร้านอาหาร จะละเอียด มากกว่า กิจการ บริการอื่นๆ เพราะมีรายการทางการค้าทุกวัน รับเงินจากบัตรเครดิต ยอดเล็กๆ ยิบย่อยเยอะมาก การเปิดร้านครั้งแรก ควรวางระบบบัญชีให้เรียบร้อย ถ้าเจ้าของร้านจบบัญชีมา สามารถประยุกต์ความรู้ที่มี เพื่อนำไปใช้กับกิจการได้เลย โปรแกรมที่แนะนำก็จะมีพวก QuickBooks, Peachtree, Quicken พวกนี้ทำบัญชีได้หมด แนะนำให้ใช้ FlowAccount เป็นระบบบัญชีออนไลน์ ซึ่งใช้งานง่าย สะดวกต่อการทำบัญชีทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญเป็นระบบของคนไทย (มีปัญหาการใช้ก็คุยง่าย) และมีอบรมการใช้งานอยู่เรื่อยๆ ไม่แนะนำให้ใช้ Microsoft Excel เพราะรายการเยอะพอสมควร ทั้งรายรับและรายจ่ายแยกย่อยลงไปอีกหลายอย่าง ถึงแม้จะแค่ร้านเล็กๆก็ตาม
การทำบัญชีไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าหากคุณขี้เกียจศึกษาทั้งด้านการลงบัญชีให้ถูกต้องและกฏหมายที่ควรรู้ หรือไม่สามารถทำได้เลยก็จ้างนักบัญชีดีกว่าจะได้ไม่พลาด ใครก็ได้ ที่ช่วยแนะนำเราได้ ไม่ใช่แค่เรื่องบัญชีแต่รวมถึงธุรกิจด้วย นักบัญชีไม่จำเป็นต้องมี License CPA (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ) แต่ให้เขาจบบัญชีอย่างน้อย ปริญญาตรีด้านบัญชี มาจากเมืองไทยก็ได้ใช้ได้หมด ถ้าจะจ้าง Enrolled Agent (EA ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี) ก็ได้แต่คนนั้นควรจะจบบัญชี
แต่ดีที่สุดก็จ้างคนที่มี CPA เพราะกว่าจะสอบผ่าน ไม่ใช่แค่การลงบัญช ต้องรู้หลายๆเรื่อง ทุกๆเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจกฏหมาย ภาษี อีกอย่าง กลุ่มนี้เขาจะต้องรักษามารยาท เช่น ไม่เปิดเผยความลับของลูกค้า แนะนำลูกค้าให้ทำบัญชีให้ถูกต้องได้อย่างดี
การลงบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะทราบถึงกำไรและต้นทุนที่ได้ ในแง่ของบัญชีแล้วรัฐจะตรวจสอบทุกอย่างเพื่อเก็บภาษีกับเราตามจริง ดังนั้นแล้วระบบจัดการร้านก็เป็นตัวช่วยหนึ่งในการบันทึกบัญชีเบื้องต้นในเรื่องของรายรับ และรายจ่ายในเรื่องของวัตถุดิบเพื่อคำนวนออกมาเป็นส่วนต่างต้นทุนและกำไรได้ ระบบที่ใช้ก็ควรได้รับการยอมรับระดับหนึ่ง เพราะคุณจะต้องนำระบบดังกล่าวไปลงทะเบียนกับสรรพกรของรัฐนั้นๆด้วย
FoodStory เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศแล้วซึ่งมีลูกค้าอยู่ในหลายๆประเทศ สามารถศึกษารายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FoodStory Website

*คำแนะนำจากผู้ที่ทำบัญชีให้ร้านอาหาร*
จากประสบการณ์ผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของร้านอาหารเองแต่ทำบัญชีให้ร้านอาหาร ในรัฐใหญ่ของอเมริกา เช่น California, Florida, Massachusetts, Pennsylvania, Colorado, etc., ได้เห็นร้านที่มีกำไร และร้านที่ขาดทุนมาก็เยอะพอสมควร มีปัจจัยหลายๆอย่างไม่ใช่แค่ทำเล ไม่ใช่แค่ราคาอาหาร การดูและพนักงานที่ทำงานในร้านก็มีส่วนสำคัญ ร้านที่ประสบความสำเร็จจริงๆที่ได้เห็น คือ การดูและพนักงานดีมาก พนักงานทำงานให้เต็มที่ ดูแลลูกค้าดี กิจการมีกำไร
หาคนที่มีประสบการณ์มาช่วยจะดีมากสำหรับมือใหม่ เจ้าของร้านอาหารควรจะทำอาหารเป็นด้วย ถ้าคุณประสบความสำเร็จได้เงินคืนภายใน 1 ปีแน่นอน ถ้ากล่าวถึงร้านที่ต้องเลิกส่วนใหญ่ที่เห็น คือ เอาเงินร้านมาใช้ส่วนตัวไม่มีการลงบัญชีที่ถูกต้อง (จริงๆลงบัญชี ไปจ้างเขาทำ แต่ไม่รู้เขาทำอะไรให้บ้าง ไม่รู้ทำถูกหรือเปล่าอีกต่างหาก) ไม่การบันทึกยอดขายลงระบบจับทุจริตพนักงานไม่ได้ แถมเอาเงินในร้านไปใช้ตลอด ไม่มีการจ่ายชำระภาษีให้รัฐหารู้ไม่ว่า เงินที่เก็บจากลูกค้านั้นรวมภาษีขายด้วย และเรามีหน้าที่นำส่ง พอเขาตรวจสอบไม่มีหลักฐานหรือระบบยืนยัน ก็จะมีการสืบขึ้นมาว่าเรากระทำผิด จ่ายภาษียอดหลังบานแน่นอน
เรียบเรียงโดย FoodStory
CR: แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์

GoodFood GoodStory
เพื่อนคู่คิดร้านอาหารที่ดีที่สุด เพราะเราเข้าใจที่สุด
ให้ร้านอาหารของคุณกลายเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดด้วย FoodStory จัดการร้านอาหารได้อย่างมืออาชีพ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ระบบจัดการร้านอาหารอันดับหนึ่งในไทย
#FoodStory #RestaurantManagement
FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/blog-restaurantUS
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr