นักชิมคือใคร
เมื่อถามว่านักชิมคือใคร ก็คงเหมือนนักวิจารณ์ภาพยนตร์ / นักวิจารณ์งานศิลปะ / นักวิเคราะห์การเมือง / นักวิเคราะห์หุ้น ฯลฯ พวกเขาแต่ละคนมีความรู้และความสนใจในเรื่องของสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เป็นอย่างดี นักชิมก็คือผู้ที่ใส่ใจในเรื่องการทานอาหารเป็นชีวิตจิตใจ แสวงหาร้านใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง แต่ละคนก็จะมีความชอบและความสามารถไม่เหมือนกัน คนหนึ่งอาจจะต้องการแค่วัตถุกิบที่อยากทานเพื่อสนองกิเลสรสชาติเป็นอย่างไรไม่สน หรืออีกคนใส่ใจในรสชาติเป็นอย่างดีรู้ถึงรายระเอียดทุกสิ่งที่คุณใส่ลงไปในอาหารและความอุมามิที่เขาได้รับ แต่สิ่งเดียวที่เหมือนกันคือต้องการความคุ้มค่า ในการที่จะเสียเวลาไปทาน ในการรีวิว เพื่อให้คนติดตามเพิ่มขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ นักชิม ก็คือ Blogger อาหาร ที่เห็นกันเกลื่อนกลาด

ความสำคัญของ Blogger อาหาร
Blogger อาหารนั้นมี Page หรือ Channel เป็นของตัวเอง เทคโนโลยีช่วยให้พวกเขาจากแต่ก่อนไปกินอาหารเสร็จก็แค่เขียนเป็น Diary เก็บไว้เป็นบันทึกครั้งหนึ่งในชีวิตและมีคนติดตามเพียงไม่กี่คน แต่ Social Network ที่ทำให้พวกเขาเป็นที่รู้จักได้ง่ายขึ้นและส่งผลให้คนติดตามเพิ่มขึ้นมหาศาล บางเพจหรือนักชิมบางคนมียอดติดตามมากถึงล้านกว่าคน ทำให้คนเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากในการที่จะตัดสินว่าร้านนี้ใช่หรือไม่ใช่สำหรับลูกค้าทั่วไป ด้วยคำวิจารย์หรือรีวิวของพวกเขา จนเกิดเป็นธุรกิจที่แค่คุณจ่ายเงินหรือเลี้ยงข้าวร้านคุณซักมื้อแบบจัดเต็มก็ทำให้พวกเขายอมที่จะรีวิวร้านของคุณในแง่ดีได้ แต่หากคุณไม่มีกำลังทรัพย์ขนาดนั้นแต่ต้องการทำการตลาดกับคนกลุ่มเหล่าก็คงจะต้องเลือกกลุ่มที่เป็นเหล่านักที่ไม่ได้มองการรีวิวเป็นเรื่องธุรกิจ
เมื่อคุณได้เปิดร้านอาหารใหม่ในมุมมองของนักชิมอาจจะรู้สึกตื่นเต้นที่จะลองร้านอาหารใหม่ในพื้นที่ท้องถิ่นของของเขา แต่ถ้าร้านของคุณไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่นักชิมหละ เขาจะไม่เสียเวลาไปร้านอาหารที่มีคุณภาพต่ำ ให้บริการอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีกระจิตกะใจที่จะบริการลูกค้า โดยจริตของนักชิมส่วนใหญ่จะทำการตั้งคำถามก่อนว่าร้านของเขาที่จะไปนั้นเขาคาดหวังอะไรแล้วจะได้รับแบบที่คาดหวังหรือเปล่า ส่วนใหญ่จะทำการ Research อย่างหนักเพื่อทราบถึงรายละเอียดทั้งหมดของร้านนั้นๆ FoodStory ยินดีนำเสนอ 6 ข้อสำคัญที่จะช่วยให้คุณเป็นร้านที่ต้องตาและจับใจสำหรับนักชิมได้อย่างง่ายดาย

5 ข้อสำคัญที่ผลกับนักชิม

1. ร้านคุณมีเว็บไซด์หรือไม่
ถ้าร้านอาหารหรือธุรกิจของคุณไม่มีเว็บไซต์แล้วหละก็นั้นคือปัญหาใหญ่สำหรับร้านคุณแล้วหละ ร้านอาหารไม่มีเว็บไซต์ก็จะไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและบริการเช่นสถานที่ ราคาพิเศษ และเมนูได้ ถ้าพวกคุณกำลังพลาดออกบนเว็บไซต์ แล้วเชื่อว่าการคลุมเครือเกี่ยวกับอาหารหรือร้านของคุณจะช่วยดึงดูดลูกค้า ซึ่งเป็นแผนธุรกิจที่แย่ที่สุดเลยก็ว่าได้ เว็บไซต์ร้านอาหารหรือเว็บเพจคือความโปร่งใส ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านของคุณ พยายามลงข้อมูลให้มากเกี่ยวกับอาหารหรือร้านของคุณของคุณเท่าที่จะเป็นไปได้ พวกเขาต้องการทั้งเสียงตอบรับจากลูกค้าที่เคยไปทาน และรูปภาพของอาหารที่ลูกค้าเหล่านั้นได้ไปทานเพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจของนักชิมที่จะไปหาร้านคุณจากหน้าเว็บไซด์หรือเพจของคุณ

2. การจัดอันดับหรือคะแนนสากล
เว็บไซต์อย่างเช่น Wongnai, OneRice หรือ Google คือระบบที่ช่วยเหลือให้คุณมีหน้าเว็บโดยที่คุณไม่ต้องทำเอง คุณจะได้รับความคิดเห็นเกี่ยวกับร้านของคุณง่ายมาก ลูกค้าของคุณจะโพสต์ภาพของเมนูอาหารและร้านพร้อมกับความคิดเห็นของพวกเขาเพื่อจะแชร์ให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่เขาได้รับจากคุณ ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซด์ Yelp ซึ่งเป็น Platform ของต่างประเทศซึ่งให้คนมารีวิวร้านอาหารโดยผู้คนที่อยู่ในนั้นจะเป็นนักวิจารณ์อาหารมืออาชีพและจะโพสต์ความคิดเห็นส่วนบุคคลมากและลำเอียง ความคิดเห็นที่บางคนได้รับทราบเพื่อโกหกหรือพูดเกินจริงของประสบการณ์ของพวกเขา พวกเขาต้องการความคิดเห็นที่ซื่อสัตย์ ภาพที่ลูกค้าถ่ายจะอธิบายทุกอย่างเอง และนักชิมจะพยายามที่จะประเมินแล้วตัดสินใจว่าคุณเป็นร้านอาหารใหม่มีคุณค่าของการเยี่ยมชมของเขาหรือไม่

3. ประเภทอาหารกับวัฒนธรรม
การเจาะจงขายอาหารเฉพาะกลุ่มหรือเลือกอาหารที่คุณจะขายเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าและนักชิมรู้ว่าเขามาแล้วเขาจะต้องทานอะไรที่จะได้รับความฟินกลับไปนั้น หากร้านคุณมีรายการอาหาร 100 จาน คุณไม่สามารถเสกอาหาร100จานให้อร่อยได้ทั้งหมดตามความชอบของแต่ละคน ดังนั้นควรเลือกอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นตัวชูร้านอาหารของคุณว่าเมื่อมาร้านนี้แล้วจะต้องมากินจานนี้ให้ได้จะทำให้เป็นที่จดจำได้ง่ายกว่า
การขายอาหารตามเชื้อชาติก็เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างมาก เมนูที่ควรจะเป็นอย่างที่ลูกค้าเคยกินก็ควรจะเป็นแบบนั้น ตามความคาดหวังของพวกเขา การปรับแต่งอาหารหรือการฟิวชั่นอาหารก็ควรทำตามความเหมาะสมเพราะมันจะมีผลกับการรีวิวของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่นร้านคุณขายอาหารอินเดีย แต่แกงกะหรี่คุณรสชาติไม่ถึงกลายเป็นแกงกะหรี่ไทยราคาสามสิบบาทก็จะทำให้เกิดความไม่พอใจกับลูกค้าเป็นอย่างมาก และเมื่อนักชิมเข้ามาถึงร้านคุณจะเกิดหายนะอย่างแน่นอน ฉะนั้นระบุให้ชัดเจนว่าร้านอาหารของคุณขายอะไรกันแน่

4. ระดับร้านอาหารของคุณ
นักชิมไม่ใส่ใจหรอกว่า คุณจะมีห้องอาหารส่วนตัวไว้ให้สำหรับบริการหรือไม่ ส่วนใหญ่ต้องการแค่อาหารที่อร่อยพร้อมกับความคุ้มค่าของอาหาร เทคนิคการจัดจาน (อ่านบทความเพิ่มเติม) เป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้อาหารของคุณดูมีคลาสขึ้นมาและดึงดูดพวกนักชิมได้อย่างดี เพราะรูปถ่ายที่ออกมาถือเป็นหัวใจหลักที่พวกเขาต้องการนำไปแชร์

5. บริการที่ยอดเยี่ยม
หากพูดถึงการบริการแล้วคุณเคยเห็นนักวิจารณ์อาหารมืออาชีพแนะนำร้านอาหารที่ Thu-Drive เรือเปล่า? อาจจะไม่ เนื่องจากร้านอาหารเหล่านี้เป็นร้านขายอาหารจานด่วนหรือที่เรียกว่า Fast Food และให้ความสำคัญของความเร็วในการให้บริการลูกค้ามากกว่าคุณภาพของอาหาร ต่างกับร้านอาหารที่ใส่ใจทั้งเรื่องการบริการและคุณภาพอาหารที่ลูกค้าจะได้รับ การดูแลที่ดีกว่าปรกติเพียงเล็กน้อยก็สามารถความประทับใจให้กับลูกค้าและเป็นปากกระบอกเสียงให้กับลูกค้าคนอื่นๆรวมถึงนักชิมได้เป็นอย่างดี

GoodFood GoodStory
เพื่อคู่คิดร้านอาหารที่ดีที่สุด เพราะเราเข้าใจที่สุด
ให้ร้านอาหารของคุณกลายเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดด้วย FoodStory จัดการร้านอาหารได้อย่างมืออาชีพ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ระบบจัดการร้านอาหารอันดับหนึ่งในไทย

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี:https://signup.foodstory.co/ref/blog-restaurantfoodie
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr