ปี 2555 เป็นปีแห่งความภูมิใจ ของทงคัตสึไมเซน ในการเริ่มต้นขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ โดยตัดสินใจร่วมมือกับ S&P ในการดําเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์ไมเซนในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรก เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีปรัชญาทางธุรกิจที่สอดคล้องกันใน เรื่อง “ การดูแลลูกค้าเป็นสิ่งสําคัญสูงสุด ” และความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทเป็นสิ่งที่สนับสนุนกันและกัน เพื่อสร้างความสําเร็จทางธุรกิจได้ โดยไมเซนมีความเป็นมืออาชีพในการดําเนินธุรกิจร้านอาหารทงคัตสึ และ S&P มีความเป็นมืออาชีพด้านการ บริหารธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย

ร้านอาหารญี่ปุ่น หนึ่งในความไฝ่ฝันของใครหลายคนที่อยากจะมีธุรกิจส่วนตัว แต่การที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีรายได้แตะหลักล้าน,ร้อยล้าน แบบ ร้าน MAISEN ไมเซน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ซะเลย หากแต่ต้องรู้อะไรบ้างอย่าง ที่เขาไม่ค่อยอยากจะบอกกันเท่าไหร่ ส่วนผู้ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จก็มักจะพูดแต่คำที่สวยหรู “ทำในสิ่งที่ชอบซิ” “ทำให้เต็มทีซิ” ก็ใช่เขาทำได้แล้วนี่น่า… สำหรับบทความนี้จะขอเจาะลึกประเด็นสำคัญๆ ของการทำธุรกิจ ว่าอะไรกันแน่ที่ทำให้ MAISEN ไมเซน ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น ในตอนเริ่มต้นมีเพียงแค่ 4 สาขา ก็สามารถกวาดยอดขายต่อปีไปกว่า 100 ล้านบาท


เส้นทางลัดของ Maisen ไมเซน ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น MAISEN ไมเซน เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นเก่าแก่จากโตเกียว ที่มีประวัติความเป็นยาวนานมากว่า 50 ปี ตั้งแต่สมัย ค.ศ.1965 เป็นร้านที่มีชื่อเสียงมาก ใครต่อใครที่ได้ไปประเทศญี่ปุ่นต้องเคยได้ไปลิ้มชิมรสกันมาแล้ว โดยเฉพาะคนไทยที่ไปเที่ยวโตเกียว ส่วนใหญ่มักไม่พลาดที่จะต้องไปลองกินเมนูเด็ดของร้านไมเซนให้ได้ ทำให้ชื่อเสียงกระจอนกระจายไปทั่ว และไม่พลาดสายตาอันแหลมคมของนักธุรกิจท่านหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “คุณธีรกรณ์ ไรวา” ทายาทจากค่าย S&P แบรนด์ดังในสายธุรกิจอาหารของเมืองไทยนั่นเอง คุณธีรกรณ์มองเห็นโอกาส ว่าถ้าเอาร้าน MAISEN ไมเซน มาเปิดที่เมืองไทยน่าจะขายดี โดยวิธีการขอเป็นผู้แทนจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียหลายประการดังนี้
ข้อดี
1. ลดระยะเวลาในการตั้งต้นเซ็ตร้านไปได้มาก
2. ได้ความอร่อยลงตัวที่พิสูจน์มาแล้วกว่า 50 ปี
3. มีภาพลักษณของแบรนด์ MAISEN ไมเซน มาเป็นการดึงดูดลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะต้องทำให้คนรู้จักกับแบรนด์ใหม่ แต่สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ชอบอาหารญี่ปุ่นจักรู้จักแบรนด์ MAISEN เป็นอย่างดี ใช่มีแต่ข้อดี ในการขอผู้แทนจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทย ก็ข้อเสียเหมือนกัน
ข้อเสีย
1. ใช้เงินลงทุนสูง ทั้งเรื่องลิขสิทธ์, เรื่องการลงทุนต่อสาขา และต้องแผนธุรกิจให้ทางฝ่ายญี่ปุ่นพิาจรณาด้วย
2. การเปลี่ยนแปลงต้องเป็นตามบริษัทแม่
3. เมื่อบริหารไม่ดีทำให้ชื่อเสียงเสื่อมเสีย คุณจะถูกลิดสิทธิ์ผู้แทนโดยทันที
ซึ่งทั้งข้อดีและข้อเสีย เมื่อวัดกันแล้วผลดีดูจะเหนือกว่า การลงทุนที่สูง แต่ถ้าคิดถึงการขยายสาขาในไทยแล้วน่าลงทุนมากกว่า (ซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 10 สาขาแล้ว) การขอเป็นผู้แทนจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทย จึงถือเป็นเส้นลัดทางธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมทำกันในปัจจุบัน

MAISEN ไมเซน เป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น ต้นตำหรับ ทงคัตสึ (Tonkatsu) ชูภาพลักษณ์ที่แสดงออกมา คือ สุดยอดฝีมือในการทำทงคัตสึ ซึ่งไม่มีเจ้าไหนสามารถทำได้
ความโดดเด่นของ ทงคัตสึ (Tonkatsu) หมูชุปเกล็ดขนมปังทอดที่มีกรรมวิธีที่สืบทอดต่อกันมาช้านาน ประกอบไปด้วย
1. เนื้อหมูที่นิ่มมาก ใช้เพียงตะเกียบก็สามารถตัดเนื้อหมูออกมากินได้แล้ว และยังทำจากเนื้อหมูดำที่ถูกเลี้ยงมาตามแบบฉบับของคนญี่ปุ่น
2. เกร็ดขนมที่กรอบ เมื่อนำลงทอดแล้วจะฟูคล้ายดอกซากุระบานสะพร่ำ ตามแบบฉบับของไมเซน
3. ซอสสูตรเฉพาะของไมเซน ที่ต้องนำเข้ามาจากสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น
ทั้งหมดถูกคิดค้นปรับปรุงพัฒนามาตลอดระยะเวลายาวนาน จนทำให้กลายเป็นเมนูเด็ดของร้านหมูทอดสไตล์ญี่ปุ่นร้านนี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยหากใครที่คิดจะทานเมนูทงคัตสึ คงต้องนึกถึงไมเซนก่อนเป็นดับแรก เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการยึดพื้นที่ทางการตลาด ด้วยการวางตำแหน่งสินค้าไว้เป็น “ ร้านทงคัตสึระดับพรีเมี่ยม ” หรืออยู่จุดสูงสุดของตลาด

การวิจัยตลาด คือสิ่งที่ไมเซนทำ หมูทอดเจ้านี้อาจเป็นอาหารที่อร่อยถูกปากก็จริง แต่ใช่สำหรับคนไทยหรือเปล่านั้นใครที่จะตัดสินได้ จะให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนตัดสินนั้นก็คงไม่ได้ สำหรับในปัจจุบันมีเครื่องมือหลากหลายชนิดเป็นตัวช่วยหาคำตอบซึ่งเรียกว่า “การวิจัยตลาด” มีบริษัทหลายบริษัทรับทำโดยมีวิธีแตกต่างกันไป แต่ก็ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ หาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้อย่างชัดเจนด้วย ไม่มั่วข้อมูล ซึ่งคุณธีรกรณ์ได้เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาแบบคร่าวๆ ดังนี้
1.คนไทยชอบกินของที่กรอบนอกนุ่มใน
2.คนไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะทานหมูกันเยอะกว่าเนื้ประเภทอื่น
(ปล.จุดนี้ไม่ค่อยเปิดเผยกันเท่าไหรนะ) จึงได้มาเพียงสองประเด็น แต่คิดว่าน่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้ ที่ทำให้ตัดสินใจเด็ดขาดในการลงทุน “ในเรื่องข้อมูลนี้สำคัญมาก อาจชี้ แพ้-ชนะ กันได้เลยในทางธุรกิจ“

ในปี 2015 รายได้กว่า 100 ล้าน ของ Maisen ไมเซน มาลองคำนวนเล่นๆดูกัน ว่าร้านอาหารญี่ปุ่นไมเซนที่มีแค่ 4 สาขา(ปัจจุบันมี 10 สาขา) กวาดยอดขายกว่าปีละ 100 ล้านบาท ว่าพอเป็นไปได้แค่ไหน…
แบบจำลอง คิดรายได้ 100 ล้านบาท/ปี
– มี 4 สาขา ตกมีรายได้สาขาละ 25 ล้านบาท/ปี
-ใน 1 สาขา มีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ 2 ล้านกว่า/เดือน
-ใน 1 สาขา มีรายได้ต่อวันเท่ากับ 70,000 บาท/วัน
– ยอดทานต่อคน(คิดที่ 400 บาท/หัว) เท่ากับต้องมีลูกค้าต่อวัน 175 คน/วัน
(ซึ่งเมนูเป็นเซ็ตราคาประมาณ 200 – 400 บาท )
– เวลาเปิดประมาณ 10 ชั่งโมง/วัน , เฉลี่ย 17.5 คน/ชั่วโมง
หากลองพิจารณาจากตัวเลขที่คิดแบบเล่นๆ ก็มีความเป็นไปได้สูง ซึ่งถ้าเป็นช่วงพีคของการขาย ในวันศุกร์,เสาร์,อาทิตย์ หักลบกับเวลาที่มีคนน้อยแล้ว น่าจะทำยอดได้มากกว่านี้ ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาจากทำเลที่ตั้งประกอบด้วย
สำหรับ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Maisen ไมเซน นับว่าเป็นหนึ่ง business ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งก็ถือเป็นอีกเส้นทางของการทำธุรกิจที่ประหยัดเวลามาก แต่ก็ต้องเงินทุนในระดับหนึ่งทีเดียว
หากผู้ที่สนใจทำร้านอาหารญี่ปุ่นก็น่าจะนำไปเป็นแนวทางการทำธุรกิจได้ไม่มากก็น้อย ทั้ง เรื่องจุดยืนของสินค้า , การหาความต้องการของลูกค้า , การวางตำแหน่งสินค้าให้ชัดเจน เหล่านี้ เป็นส่วนประสมสำคัญในการทำธุรกิจ การที่จะประสบความสำเร็จก็เป็นเรื่องที่คุณก็ทำได้เช่นกัน…

GoodFood GoodStory
เพื่อคู่คิดร้านอาหารที่ดีที่สุด เพราะเราเข้าใจที่สุด
ให้ร้านอาหารของคุณกลายเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดด้วย FoodStory จัดการร้านอาหารได้อย่างมืออาชีพ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ระบบจัดการร้านอาหารอันดับหนึ่งในไทย
#FoodStory #RestaurantManagement
cr. pantae, ทำเลขายของ, misen thailand
เรียบเรียงโดย FoodStory

FoodStory
ร้านอาหารที่ดี ต้องมีระบบที่ดีไปพร้อมกัน
✅ทดลองใช้ระบบฟรี: https://signup.foodstory.co/ref/maisen-case-study
โทร: 02-821-5665
LINE: https://lin.ee/zAdDsCr